เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra  (อ่าน 47486 ครั้ง)

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2011 เวลา 08:52 น. »
@ คุณต่ายคะ กระดาน 100 ช่อง  เคยเห็นมีขายเป็นของญี่ปุ่นราคาเป็นพันเลย
ที่เห็นในรูป ต่ายทำเองค่ะ

หมดไปราวๆ 700บาทมั้ง ไม่เกิน 800 บาท
ไม่ต้องซื้อ ทำเองได้ (ทำเองจะได้มีตัวสำรองเผื่อหายได้ด้วย) เวลาลูกปาพังจะได้ มีสำรอง  ;D  ;D
เลือกสีได้ด้วย
เลือกขนาดก็ได้


ต่ายลองทำเล่นดู ตอนนั้นว่าง และคิดว่า ถ้าลูกเป็นเด็กพิเศษจริงไม่น่าจะทำได้ ไม่น่าจะบวกเลขได้ (และอาจจะไม่น่าจะสนใจด้วย)

(ตอนนั้น ช่วงเดือน ตุลา ช่วงที่เจอเวปนี้)  

พอลูกทำได้ ต่าย จับย้าย รร. เลย

เพราะคิดว่าเขาน่าจะเรียนรู้เรื่อง (ทำให้ใจนึง คิดว่า เขาไม่น่าจะออทิสติก)

พอไปวรรณสว่างจิตก็เต็มไปแล้ว

(ก่อนเล่นตารางนี้ ขอบอกว่า ลูกต่าย ดูเหมือนไม่รู้เรื่อง บวกกับพัฒนาการช้า)

เหมือนกับว่า พัฒนาการด้านร่างกายเขาช้า แต่สมองเขารับ

เพราะ รร. ที่ไปเข้า เรียนเร็วมากๆ  ตอนนี้ ก่อนที่ปิดเทอมลูกต่ายท่องสูตรคูณแล้ว (แต่ยังท่องมั่ว และต่ายก็ไม่เน้นให้) ไปเน้นทางฝึกพัฒนาการทางร่างกายดีกว่า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2011 เวลา 09:04 น. โดย Thanks-Epi »
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2011 เวลา 09:15 น. »
หงั่งงี้แปลว่า ช่วงเล็กๆยังบอกไม่ค่อยได้หรือคะว่าเค้ามีพัฒนาการเหมือนเด็กปกติหรือเปล่า หมายถึง ที่เราเห็นเค้าจำได้ ท่องได้ แต่พอไปเข้าเรียนกับเพื่อนๆอาจจะพัฒนาการช้ากว่าปกติก็ได้ เป็นกังวลซะแล้วสิคะ


ถ้าหมอพัฒนาการเค้าจะบอกได้ คือกี่ขวบทำอะไร ควรทำอะไรได้แล้วบ้าง (หมายถึงพัฒนาการทางร่างกาย)

หรือการเอาลูกไปเปรียบเทียบกับคนอื่นทั่วไป ก็เครียด (แต่ก็ต้องยอมรับด้วย)  โดยรวมแล้ว ลูกต่ายช้ากว่าไปเป็นปี  :'(

ขออนุญาตว่าให้ความเห็นว่า การศึกษาเมืองไทย เน้นการท่องจำ

อย่าเพิ่งกังวลมากไปค่ะ ถ้าไม่แน่ใจเอาไปตรวจพัฒนาการก็ได้นะค่ะ น่าจะสบายใจค่ะ

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2011 เวลา 09:32 น. โดย Thanks-Epi »
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

ออฟไลน์ nongtt

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 99
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2011 เวลา 23:25 น. »
Update อาการไตตั้น หลังจากปรับลด dpk และเพิ่ม Keppra มาได้เกือบ 3 สัปดาห์ (อีก 2 วันก็ครบ 3 สัปดาห์พอดี)
ตอนนี้ทาน dpk 1.5 ml เช้า เย็น (ลดจากเดิม 2.5) และ keppra 1.5 ml เช้า เย็น

อากการเรื่องขาอ่อนแรง เริ่มดีขึ้น ไม่ค่อยหกล้มเท่าไรแล้ว คงเป็นเพราะพ้นช่วงหลังขักมาได้สักระยะ (ครั้งล่าสุดที่ชัก 4/3/54)
วันนี้ให้โยงเส้น ระบายสี ก็สามารถทำได้ดี

แต่ที่ดูแย่คือเรื่องอารมณ์ จากที่คุณหมอบอกไว้แต่แรกว่า ทาน keppra แล้วอาจมี side effect เรื่องอารมณ์ จะทำให้อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียวง่าย
ก็ลองสังเกตมาเรื่อยๆ แรกๆก็ไม่ค่อยแน่ใจ เนื่องจากเดิมทีที่ทาน dpk อยู่ ไตตั้นก็ค่อนข้างอารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย มีกรี๊ดๆบ้างเมื่อไม่ได้ดั่งใจ แต่หากพูดด้วยดีๆ ใช้ไม้อ่อน เค้าก็ค่อนข้างรับฟัง (แต่ถ้าไม้แข็งนี่ ไม่ได้เลย เหตุการณ์จะไปกันใหญ่ แล้วก็จะต่อต้านมากขึ้นๆ)

แต่หลายวันมานี่ รู้สึกว่าจะอารมณ์ร้ายมากขึ้น ถึงขั้นตีและถึบพ่อ มีอะไรขัดใจนิดเดียวก็จะปรี๊ดขึ้น มีอาการลงไปดิ้นและกรี๊ดๆมากขึ้น ส่วนตัวคิดและแน่ใจว่ายาน่าจะมีส่วน เพราะไม่เคยมีอาการมากขนาดนี้ แต่เมื่อเค้าสงบ ก็กลับมาร่าเริง คุยเล่นได้ ก็ค่อยๆอธิบายให้ฟังว่าทำแบบนั้นไม่ดีนะครับ ให้ไปขอโทษคุณพ่อ ก็ยอมรับฟังและทำตามโดยดี ตอนที่ออกฤทธิ์ลักษณะเหมือนควบคุมอารมณ์โกรธ  ฉุนเฉียว ไม่ได้ อารมณ์ขึ้น ลง เร็ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ช่วงนี้เป็นทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น โดยเฉพาะช่วงค่ำๆ ก่อนอาบน้ำ (จะอาบน้ำก็ต้องรบกัน กว่าจะยอมอาบได้) ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับระดับยาหรือเปล่า เพราะหลังจากทานยาซักประมาณ  2ทุ่ม พอช่วง 3 ทุ่มก็มีเรื่องให้ต้องลงไปกรี๊ดๆ หลายวันแล้ว

และหากเป็นที่ side effect ของยา อยากทราบว่าอารมณ์เค้าจะเป็นแบบนี้ไปตลอดหรือเปล่า หรือจะค่อยๆดีขึ้น เมื่อปรับยาได้ ควรต้องพาไปปรึกษาจิตแพทย์เด็กด้วยหรือเปล่าคะ เพราะไม่แน่ใจว่าควรรับมือกับอารมณ์ของลูกยังไงดี ทุกวันนี้ก็คือใช้วิธีใจเย็น เพิกเฉย ไม่สนใจ เมื่อเค้าอาละวาด และเมื่อสงบก็พยายาม พูด อธิบายด้วยเหตุผล ไม้นวมสุดฤทธิ์
แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเค้าจะยิ่งได้ใจ คล้ายๆเห็นว่ามีคนเอาใจ หรือเปล่า




ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2011 เวลา 07:46 น. »
ถ้าต่ายมีการเพิ่มยา ต่ายจะง่วงมาขึ้นมากกว่า  แต่อารมณ์ฉุนเฉียว ของต่ายเกิดจากสิ่งรอบข้างมากกว่า

แต่สำหรับเด็กๆ ต่ายไม่ทราบนะค่ะ  น่าจะ สังเกตุว่า เขากรี๊ดเวลาเดียวกันหรือเปล่า (แต่ต้องกินยาตรงเวลา)


ลูกต่ายเอง  ไม่ได้กินยา ยังอารมณ์เอาแต่ใจเลย เพราะเป็นลูกคนเดียว หลานคนแรก

 ;D  เห็นม้าาาาาาาาาาา   ขาแข็งแรงขึ้นแล้ว  เย้ๆๆๆๆๆ ดีใจด้วยค่ะ ;D
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

ออฟไลน์ nongtt

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 99
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 08 เมษายน 2011 เวลา 22:48 น. »
เสาร์ที่ผ่านมา พาไตตั้นไปพบคุณหมอตามนัด หลังจากปรับลด dpk จาก 2 ml เช้า +2.5 ml เย็น ตอนนี้เหลือ 1 ml เช้า เย็น และ keppra 1.5 ml.
ก็ update เรื่องอาการทั่วไปให้คุณหมอทราบ คือ รู้สึกว่าเค้าดูกระฉับกระเฉงขึ้น และขาก็ดูแข็งแรงขึ้นกว่าช่วงเดือนที่แล้ว ไม่ค่อยหกล้มแล้ว และเรื่องอารมณ์ที่ดูฉุนเฉียวขึ้น (ช่วงนี้ก็ยังกรี๊ดๆอยู่ เวลาไม่ได้ดั่งใจ) ซึ่งน่าจะเป็น Side effect ของ keppra คุณหมอฟังแล้วเห็นว่าอาการยังพอรับได้ จึงให้ทานต่อไป ถามว่าถ้ามีอาการชักเกิดขึ้นอีก ทำอย่างไร คุณหมอก็ plan ให้เพิ่มปริมาณยา keppra โดยเพิ่มเป็น step 0.5 ml ทีละมื้อ (เริ่มจากมื้อเย็น)

เช่น ตอนนี้ ทาน 1.5 ml  เช้า 1.5 ml เย็น
ก็เพิ่มเป็น  1.5 ml เช้า 2 ml เย็น
หากชักอีก ก็เป็น 2 ml เช้า 2 ml เย็น
เต็มที่ ที่ 2.5 ml เช้า 2.5 ml. เย็น หรือหากพฤติกรรมเปลี่ยนในระดับที่รับไม่ได้ เช่น ก้าวร้าว ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
(ตอนนี้ไตตั้นหนัก 14.7 kg)

ซึ่งหากถึงขั้นนั้นก็คงพิจารณาเปลี่ยนยา หรือให้กลับมากิน dpk ควบคู่อีกครั้ง

ฟังๆดูก็ต้อง Trial กันต่อไปจนกว่าจะเจอสูตรที่เหมาะสม (เฮ้อ!)

สำหรับเรื่อง side effect ปริมาณยาที่เพิ่มขึ้นจะไม่ relate กับ side effect ค่ะ (หมายถึงอาจจะก้าวร้าวมากขึ้น หรือไม่ก็ได้)

ได้ถามถึงเรื่องกล้ามเนื้อขาที่ก่อนหน้านี้ลูกดูเหมือนขาไม่มีแรง ว่าเกิดจากที่เค้าชักหรือเปล่า คุณหมอตอบว่าไม่เกี่ยว ถ้าอ่อนแรงเนื่องจากชักจะเป็นภายใน 24 ชม.หลังจากชัก
ส่วนคุณพ่อเค้าก็ตั้งข้อสังเกตว่า ตั้งแต่ลดยา dpk เค้าก็ดูกระฉับกระเฉงขึ้น ขาก็ดูแข็งแรงขึ้น หกล้มน้อยลง จึงได้ถามคุณหมอไปว่าหรือจะเป็นเพราะลดยาลง คุณหมอก็ว่าอาจเป็นไปได้ คือฟังดูแล้วก็ไม่ได้ฟันธงชัดเจนว่าเป็นเพราะอะไรแน่ แต่ไม่ได้เกิดจากการชักแน่นอน (อันนี้ความเห็นหมอนะคะ) แต่เนื่องจากมันมีหลายปัจจัยเกิดขึ้นพร้อมๆกัน คือ ก่อนหน้านี้ทั้งไม่สบาย เป็นหวัด เป็นไข้แล้วชัก พอชักก็เพิ่มยาด้วย ช่วงนั้นก็เลยเห็นชัดเลยว่าเดินล้มบ่อย มีบางครั้งตาปรือๆด้วย ถ้าเทียบกับตอนนี้นะคะเค้าแข็งแรงขึ้นเยอะเลย หายป่วยสนิทแล้วด้วย ก็เลยยังไม่แน่ใจนักว่าสาเหตุเกิดจากอะไร

ส่วนเรื่องพัฒนาการ ก็ได้ตั้งคำถามกับหมอว่าพอเค้าชัก จะทำให้พัฒนาการถดถอยหรือไม่ คุณหมอก็ว่าอาจจะหยุดแต่ไม่ถอย อะไรที่ทำได้แล้วก็ยังคงทำได้ต่อไป ชักแล้วพัฒนาการถดถอยจะเป็นการชักอีกกลุ่มนึงค่ะ

เรื่องที่ลืมถามมาก็คือ keppra ทานก่อนหรือหลังอาหาร หรือใกล้มื้ออาหาร มื้อนมได้มั๊ย ใครทราบช่วยตอบหน่อยค่ะ





ออฟไลน์ nongtt

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 99
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2011 เวลา 15:21 น. »
เมื่อวานได้พาลูกไปพบคุณหมอที่ รพ.กรุงเทพมาค่ะ นำผล EEG และประวัติไปด้วย ตอนแรกคุณหมอซักประวัติคร่าวๆแล้ว เห็นว่าเคยทาน dpk แล้วเพิ่ม dose จนเปลี่ยนมาเป็น keppra คุณหมอบอกว่าอนาคตน้องมีแนวโน้มจะดื้อยา ส่วนตอนนี้กำลังลด dpk (จนเหลือ 0) แล้วทาน keppra นั้นก็แล้วแต่ความเห็นของหมอแต่ละคน คือบางคนอาจให้กินควบคู่กันไปก่อน 2 ตัวก่อนที่จะตัดออกก็ได้ แต่พอคุยไปคุยมา จากประวัติการชักของไตตั้นตลอด 2 ปี ดังนี้

เริ่มชักตอน 1.2 ขวบ เป็นการชักแบบไม่มีไข้ กระตุกข้างซ้ายข้างเดียวนานประมาณ 15 นาที
ครั้งที่ 2-3 ชักเพราะมีไข้ (38.2 c) กระตุกทั้งตัว
ครั้งที่ 4-6 ชักขณะวิ่งเล่น เหนื่อย ไม่มีไข้
ครั้งที่ 7-10 (ตั้งแต่ พค.ปีที่แล้ว - ปัจจุบัน ช่วงเวลาประมาณ 1 ปี) ชักจากไข้ มีทั้งแบบ กระตุกข้างซ้ายข้างเดียว เกร็งอย่างเดียว(ไม่กระตุก) และครั้งล่าสุด กระตุกข้างขวาข้างเดียว ค่อนข้างแรง

คุณหมอดูภาพรวมแล้ว สรุปให้ว่าน้องน่าจะเป็นโรคลมชัก และอาจเป็น Febrile Convalsion ในบางช่วง
สำหรับผล EEG ที่เคยทำ เอาไปให้คุณหมอดู เห็นหมอว่าปกติ คลื่นที่อ่านมาว่าเป็นคลื่นชัก น่าจะเป็นคลื่นขณะหลับ (อ่านไม่เหมือนกันซะแล้ว)


อันนี้มาหาจาก Net ภายหลังนะคะ
ภาวะชักจากไข้สูงหรือ febrile seizure, febrile convulsion นั้นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก อุบัติการพบประมาณ 2-5 % ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี แต่ในบางกลุ่มของประชากรมีรายงานสูงถึง 15 %

ข้อบ่งบอกในการวินิจฉัย มีดังนี้ :
1.โดยส่วนใหญ่จะเกิดร่วมกับภาวะไข้ที่มักสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
2. อายุมักน้อยกว่า 6 ปี(จากรายงานอ้างอิงพบอยู่ในช่วง ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 6 ปี
หรือแตกต่างกันไปเล็กน้อยแล้วแต่แหล่งที่มา)
3.การชักส่วนใหญ่เป็นแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว เท่า ๆ กันทั้งซ้ายขวา(generalized tonic clonic)
4.ไม่มีโรคติดเชื้อของระบบประสาทหรือสมองส่วนกลางร่วม
5.ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผันผวนของเกลือแร่และสารนำในร่างกาย
6.ไม่เคยมีประวัติในอดีต ว่าเด็กเคยมีภาวะชักโดยไม่มีไข้มาก่อน

การแบ่งกลุ่ม :

ในปัจจุบันเพื่อง่ายต่อความเข้าใจเราแบ่งภาวะชักจากไข้สูงออกเป็นสองสาเหตุหลักคือ
การชักจากไข้สูงที่ไม่ได้มีอันตราย(simple febrile seizure) ซึ่งจะชักตามหลังจากไข้สูง ชักไม่นานกว่า 15 นาที ไม่มีการชักแบบเฉพาะที่(focal seizure) เช่น ขาหรือแขนกระตุกข้างใดข้างหนึ่ง และเด็กมักหลับหรืออ่อนเพลียหลังจากมีอาการชัก(post ictal phase)โดยถ้ามีการชักซ้ำก็ไม่ควรติดต่อกันนานกว่า 30 นาที หรือไม่รู้สติเลยในระหว่างการชักซ้ำ ๆ นั้น
อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มชักจากไข้สูงที่มีอันตราย(complex febrile seizure)ในกลุ่มนี้มักชักนานกว่า 15 นาทีม อาจชักกระตุกเฉพาะที่ เช่น แขน ขาข้างใดข้างหนึ่ง มีแขนขาอ่อนแรงหลังจากชัก(post ictal paralysis) และถ้าชักซ้ำ ๆ อาจติดต่อกันนานกว่า 30 นาที ในกลุ่มนี้อาจเป็นโรคลมชัก๖หรือ เราชอบเรียกกันว่าลมบ้าหมู)ที่ซ้อนเร้นและถูกกระตุ้นจากภาวะไข้ โดยบางครั้งในกลุ่มนี้การชักมักไม่ค่อยสัมพันธ์กับความรุนแรงหรือสูงของไข้

สาเหตุการเกิดและพยาธิสภาพของการเกิด :
มักพบอยู่ในช่วง ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 6 ปี และเกิดบ่อยในช่วงอายุ 12-18 เดือน มักเกิดขณะที่ไข้ขึ้นสูงโดยที่สาเหตุของอาการไข้ที่เป็นสาเหตุ อาจมีสาเหตุมาจาก
1.การติดเชื้อทั่วไป เช่น การเป็นหวัดเจ็บคอ คอหรือหลอดลมอักเสบ ซึ่งสาเหตุเกิดได้ทั้งไวรัส(พบมากกว่า)และแบคทีเรีย โดยสาเหตุที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่เป็นไวรัสไข้หวัด(influenza) หรือ parainfluenza (พบราว 16-20 %) , ไวรัส RSV(พบราว 4-5 %) โดยที่ไม่มีนัยสำคัญว่าไวรัสตัวไหนมีสัมพันธ์หรือเป็นสาเหตุกับภาวะชักจากไข้สูงชัดเจน แต่ก็มีรายงานว่าเกิดจากเชื้อตระกูลเริม(human herpes virus type 6) ได้สูงในกลุ่มที่เป็นชักแบบอันตรายและในกลุ่มที่ชักซ้ำ (complex and recurrence febrile seizure)
2.การฉีดวัคซีน มีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับการให้วัคซีนป้องกัน คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก ชนิด whole cell(DTP) และ วัคซีนป้องกัน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม(MMR) มากกว่าชนิดอื่น มีการวิจัยศึกษาว่าโอกาสเกิดไข้สูงและชักจากไข้สูงสำหรับวัคซีนป้องกัน คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก ชนิด whole cell(DTP) ส่วนใหญ่มักเกิดในวันแรกที่ได้รับวัคซีน สำหรับ วัคซีนป้องกัน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม(MMR) มักเกิดในช่วง 1-2 อาทิตย์หลังได้รับวัคซีน โดย มี relative risk เท่ากับ 5.7 และ 2.8 ตามลำดับ (5) แต่ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก ชนิดที่เป็น acelular (DTPa) ทำให้มีไข้น้อยลงหลังจากรับวัคซีนและโอกาสเกิดชักจากไข้สูงก็มีอุบัติการลดลงไปด้วยเมื่อใช้วัคซีนชนิดนี้



อาการและอาการแสดง :

อย่างแรกเราจะรู้ได้อย่างไรว่าชัก ?
เป็นคำถามที่แพทย์มักถาม สิ่งสังเกตุคือ เด็กมีอาการเกร็ง กระตุก ทั้งตัวหรือบางส่วน ตาลอย เหลือกหรือกระตุกตามไปกับอาการชัก น้ำลายฟูมปาก(บางราย) ริมฝีปาก-ปลายมือปลายเท้าเขียว เรียกไม่รู้สึกตัว ปัสสาวะอุจจาระราด ชักราวกี่นาที ผู้ปกครองควรตั้งสติให้ดีและสังเกตุอาการเหล่านี้ไปพร้อมกับการช่วยเหลือเบื้องต้น บ่อยครั้งหากเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกผู้ปกครองมักตื่นเต้นทำอะไรไม่ถูก จำอะไรไม่ได้ แต่เมื่อเกดซำจะใจเย็นมีสติและให้การรักษาได้ดีกว่าหนแรกเสมอ ดังนั้นถ้ามีอาการชักควรนำเด็กมาตรวจที่ รพ. เสมอ เพราะบางครั้งการดูอาการอาจทำให้การชักแบบไม่มีอันตราย(simple febrile seizure) กลายเป็นชนิดที่ชักแบบมีอันตราย(complex febrile seizure) หรือชักรุนแรงแบบชักไม่หยุดซึ่งนานกว่า 30 นาทีหรือไม่รู้สติเลยในระหว่างการชักซ้ำ ๆ นั้น(status epilepticus) โดยส่วนใหญ่มักจะชักในวันแรกที่มีไข้ และไข้มักจะสูงอยู่ประมาณ 38?C หรือ 39?C สำหรับการชักรอบแรก ส่วนการชักซ้ำนั้นไข้ไม่จำเป็นที่จะต้องสูงมากนัก
การวินิจฉัยแยกโรค : ได้แก่
1. อาการหนาวจากไข้ (Shaking chills )ซึ่งไม่ใช่ภาวะชักจริง โดยจะไม่มีอาการดังต่อไปนี้ เช่น เด็กมีอาการเกร็ง กระตุก ทั้งตัวหรือบางส่วน ตาลอย เหลือกหรือกระตุกตามไปกับอาการชัก น้ำลายฟูมปาก(บางราย) เรียกไม่รู้สึกตัว ปัสสาวะอุจจาระราด สาเหตุของอาการหนาวจากไข้ (Shaking chills )เกิดจากภาวะที่อุณหภูมิกายสูงแล้วลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นจากากรเช็ดตัว หรือจากยาลดไข้ จับแล้วมักจะหยุดและเด็กจะรู้ตัวดี
2. การไม่สมดุลของเกลือแร่และสารน้ำในร่างกายโดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยพบความผิดปกติของสารน้ำและอิเล็กโตรไลต์ในผู้ป่วยไข้สูงแล้วชัก แต่ควรต้องนึกถึงในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการอาเจียน ท้องเสียและมีอาการขาดน้ำ กินอาหารไม่ได้ ก็อาจพบความผิดปกติของสารน้ำและอิเล็กโตรไลต์ได้ โดยพาะอย่างยิ่งภาวะเกลือแร่ชนิดโซเดียมต่ำหรือสูงก็ทำให้เกิดอาการชักได้เช่นกัน
3.ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองอักเสบ มักนึกถึงในเด็กที่มีอาการไข้ร่วมกับอาการชัก พบว่า 40 % ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอาการนำด้วยอาการชักโดยเฉพาะในเด็กเล็ก โดยที่ตรวจไม่พบอาการระคายเคืองของเยื้อหุ้มประสาท คอเกร็งแข็งเวลาตรวจ(meningeal irritation sign) จึงเป็นเหตุผลที่แพทย์มักแนะนำให้เจาะตรวจน้ำไขสันหลังในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ? ปี ที่มาด้วยอาการไข้สูงและมีอาการชัก และมีข้อสังเกตว่าการไข้ร่วมกับชักซ้ำบ่อย ๆในครั้งเดียวหรือการเกิดภาวะไข้และอาการชักไม่หยุด(status epilepticus)มักเกิดจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่


อ้างอิงจาก 
http://ramathibodi.blogspot.com/2009/04/3-2-febrile-seizure-febrile-convulsion.html\


คุณหมอสรุปมาแบบนี้ แต่ไม่ได้ฟันธง 100% นะคะ คือเนื่องจากประวัติเคยมีทั้งชักแบบไม่มีไข้ด้วย ประมาณว่า ชักครั้งแรกๆก็น่าจะเป็นโรคลมชัก แต่ปีหลังนี่ อาจจะเป็น Febrile Convalsion ไม่ใช่ลมชัก (ไม่ใช่ epilepsy แต่ทำให้เกิดอาการชัก) และถ้าเป็นอย่างที่ว่าจริงก็ถือว่าไม่ค่อย serious มากเพราะจะหายได้เมื่ออายุ  6ขวบ

ถามถึงแนวทางการรักษา ก็คือรักษาโดยทานยาที่ทานอยู่นี่ไปก่อน แต่อาจจะไม่ต้องปรับยาบ่อยนัก คือไม่ใช่ว่าทุกครั้งที่ชักจะต้องปรับยา เพราะถ้าเป็น Febrile convalsion ปรับยาก็ไม่ได้ช่วย (อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า ค่อนข้างสับสนหน่อยๆค่ะ แต่ที่ผ่านมารักษากับคุณหมอท่านเดิม ก็ให้ปรับ dose ยาขึ้นทุกครั้ง) หากครั้งต่อไปมีไข้ ก็ให้ทาน dizepam 2 mg ทุก 6 ชม.(วันละ 4 หน) ถ้าง่วงมากก็ให้หยุดมื้อต่อไป โดยทานเฉพาะวันที่มีไข้
แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมา เวลาลูกมีไข้ มักจะมาแบบไม่ทันตั้งตัว ตอนกลางคืน แบบรู้ว่ามีไข้ก็ชักไปแล้ว และส่วนใหญ่พอมีไข้ไปแล้ว ก็จะไม่ค่อยมีอีก ก็ได้แจ้งคุณหมอไป หมอเลยบอกไม่มีไข้ก็ให้กินดักไว้ได้

คุณหมอนัดให้ทำ MRI และฉีดสี เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น โดยก่อนฉีดสีต้องเจาะเลือดตรวจค่า ตับหรือไตเนี่ยแหล่ะค่ะ ว่าสามารถฉีดได้มั๊ย ถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องฉีด
ส่วนเรื่อง EEG ยังไม่ต้องทำ ถ้ามีอาการครั้งต่อไปค่อยมาทำ โดยให้มาภายใน 2-3 วัน หรือภายใน 24 ชม.จึงจะดีที่สุด


หลังจากพบคุณหมอแล้ว กลับมาบ้านก็มีปัญหาสงสัยดังนี้ค่ะ
1.ถ้าเป็น Febrile convalsion คือชักจากไข้ ทานยากันชัก ก็ไม่ทำให้คุมชักได้ ใช่หรือไม่ ประมาณว่า เพราะไม่ใช่ชักโรคลมชัก
2.ถ้าเป็นไปตามที่คุณหมอสงสัย คือ ระยะแรกเป็นลมชัก (epilepsy) แต่หลังๆเป็นชักจากไข้ (Fabrile convalsion) แปลว่ายาที่ทานเพื่อคุมโรคลมชัก สามารถคุมได้แล้ว (เพราะหลังๆไม่มีว่าวิ่งเหนื่อยแล้วชัก หรือชักแบบไม่มีไข้ ) แต่ที่มามีอาการชัก เป็นเพราะจาก Febrile Convalsion ?? เพราะถ้าเป็นตามนี้แปลว่า น้องน่าจะมีโอกาสหายขาดได้เมื่ออายุเลย  6ขวบ (หรือเปล่า) แต่ถ้าไม่ใช่ตามสันนิษฐานนี้ คือ ชักจากโรคลมชัก (ซึ่งอาจมีความผิดปกติของสมอง) โตขึ้นอาจไม่หาย หรือต้องทานยาหลายตัวเพื่อคุมชักก็ได้

ยิ่งเขียนก็ยิ่งงงค่ะ


อีกเรื่องก็คือ ทางโรงพยาบาลประเมินค่าใช้จ่ายในการทำ MRI มาให้
ตอนแรกก่อนทราบค่าใช้จ่ายรวม ก็ว่าจะทำที่นี่เลย เพราะทราบมาว่าถ้าที่โรงพยาบาลรัฐต้องรอคิวนาน 4-5 เดือน แล้วค่าใช้จ่าย หมื่นกว่าบาท ไม่ต่างกันมาก
แต่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ รพ.แจ้งมาเมื่อวานนี้  40,000 -45,000 แน่ะค่ะ (ไม่ได้ admit)
แยกเป็น ค่าทำ MRI Brain 16,000 (ช่วงนี้ลด 25% ถึงสิ้นเดือน พ.ค.)
บวกค่าฉีดสี 6,000
เจาะเลือดดูค่าตับ ไต เพื่อพิจารณาว่าฉีดสีได้มั๊ย ประมาณ 4,000
ค่าอุปกรณ์ เครื่องมือ 9,000 บาท
ค่าดมยา 5,000-10,000 บาท
รวมแล้วก็ 40,000-45,000 บาท

ถามคุณเจนดูเห็นว่าทำที่ศิริราช รวมทั้งหมด admit ด้วย ประมาณ 14,000

ไม่ทราบว่ามีใครเคยทำ MRI ที่ไหน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไรบ้างคะ






ออฟไลน์ jelly

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 487
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2011 เวลา 15:43 น. »
ผมทำที่ รพกรุงเทพ mri ถ้าจำไม่ผิด 22000 ครับไม่ได้ฉีดสี ไม่ได้ให้ยานอนหลับ
โรคลมชัก Infantile sapsms
Diagnosed IS 10 June 2009
รักษาด้วย Sabril+Dapakine
Seizure free since 11 June 2009
Meds free since 1 Sept 2011
Dr.มนตรี แสงภัทราชัย
รพ.กรุงเทพ

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2011 เวลา 16:12 น. »
นั่นสิ จำได้ว่า MRI ที่ กรุงเทพ ประมาณ 16,000 - 22,000  ทำไมมีค่าโน่นนี่โผล่มาอีกตั้งแยะนี่

ออฟไลน์ nongtt

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 99
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2011 เวลา 16:43 น. »
นั่นสิพี่น้อง คุณหมู
ตอนแรกก็นึกว่าหมื่นกว่า สองหมื่น ตอนคุยกะหมอก็เลยนัดวันทำไปแล้วด้วย
พอบ่ายพยาบาลโทรมาแจ้ง สี่หมื่นก็เลยมึนเลย สงสัยต้องไปทำที่อื่น

วันนี้ลองโทรไปพญาไท ได้ความมาดังนี้
ค่า MRI Brain ปกติ 10100 ช่วงนี้มีโปรโมชั่น เหลือ 4900 ถึงสิ้นเดือนเมษายน (แต่ต้องให้แพทย์ของพญาไทเป็นผู้สั่ง)
ค่าดมยา + อุปกรณ์ฯ 25,000-30,000 (แพงดีจัง  :o)
ค่าฉีดสี 3,000-6,000
ค่าตรวจเลือด (กรณีฉีดสี) ไม่ได้ถาม

ใช้เครื่อง ความถี่สนามแม่เหล็ก 1.5 (ไม่แน่ใจว่าที่ รพ.กรุงเทพ เครื่องแบบไหน)

รวมๆก็ สี่หมื่นกว่า ห้าหมื่นเหมือนกัน

คุณหมู น้องเยลลี่ไม่ต้องดมยาหรือคะ แล้วน้องนอนหลับนิ่งๆเองได้ด้วยหรือ เก่งจัง

ออฟไลน์ jelly

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 487
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2011 เวลา 13:52 น. »
รอจนหลับครับ แล้วก็เรียกพยาบาลมารับไป ลุ้นมากครับกลัวตื่นกลางทาง เสียงดังมากด้วยในห้องอะ แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดีครับ
โรคลมชัก Infantile sapsms
Diagnosed IS 10 June 2009
รักษาด้วย Sabril+Dapakine
Seizure free since 11 June 2009
Meds free since 1 Sept 2011
Dr.มนตรี แสงภัทราชัย
รพ.กรุงเทพ

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2011 เวลา 12:32 น. »
ไม่ทราบว่ามีใครเคยทำ MRI ที่ไหน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไรบ้างคะ







เห็นราคาแล้วตกใจเลยอะ  :o  :o

เคยทำอยู่ประมาณ 10,000 บาท  แต่เกือบ 20 ปีที่แล้ว

แต่พอมาที่จุฬา  ราวๆ 7-8 ปี ก่อน ก็ยังราคา10,000 บาท   
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

ออฟไลน์ Jen

  • Meeting
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 144
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2011 เวลา 13:44 น. »
ที่ศิริราชที่เพิ่งไปทำมาเมื่อเดือนมกราคม ค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 14,000 กว่าๆ
เป็นค่า MRI สักแปด-เก้าพัน + ค่าวางยานอนหลับ + Admit หนึ่งคืน แต่ว่ารอคิวนานไปหน่อย
แต่ถ้าเป็นเคสด่วน ๆ อันนี้หมอคงประเมินความจำเป็น แล้วลัดคิวให้มั้งครับ

สาเหตุที่ต้องดมยา (จริงๆ ไม่ได้ดมนะ เพราะเห็นเอายามาผสมฉีดเข้าไปในสายน้ำเกลือ) เพราะเด็กเล็กจะไม่ให้ความร่วมมือ ทีนี้
พอต้องดมยาก็เลยต้อง Admit เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย ให้เหมาะสม และแน่ใจว่าปลอดภัย รวมถึงดูอาการหลังจากฟื้นจากยา

อ้างถึง
ใช้เครื่อง ความถี่สนามแม่เหล็ก 1.5 (ไม่แน่ใจว่าที่ รพ.กรุงเทพ เครื่องแบบไหน)

เครื่อง MRI ที่รพ.กรุงเทพ ไม่รู้มีกี่เครื่องนะครับ แต่มีเครื่องที่มีความถี่คลื่นแม่เหล็ก 3 เทสลาอยู่ ซึ่งทันสมัยมากที่สุดตอนนี้

ออฟไลน์ nongtt

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 99
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม 2011 เวลา 22:22 น. »
มา Update เรื่องราวของไตตั้นค่ะ

หลังจากสัปดาห์ก่อน พาไตตั้นไปพบคุณหมอที่พญาไทตามนัด ได้ถามถึงเรื่อง Febrile Convulsion ในความเห็นคุณหมอยืนยันค่อนข้างชัดว่า ไตตั้นเป็นโรคลมชักที่มีไข้เป็นุตัวกระตุ้น ไม่น่าจะใช่ Febrile เพราะจากประวัติเคยชักแบบไม่มีไข้มาก่อน คือถ้ามีประวัติชักโดยไม่มีไข้ แม้สักครั้งเดียวก็ไม่จัดเป็น Febrile คุณหมอว่างั้นค่ะ สำหรับกรณีว่าตอนแรกเป็น epilepsy แต่ในปีหลังเป็น Febrile มาแทรก คุณหมอว่าก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ คือ โอกาสเป็นแบบนั้นน้อย มีแต่ตอนแรกเป็น Febrile แล้วพัฒนาเป็น epilepsy มากกว่า

ถามถึงเรื่องที่เคยทำ EEG แล้วคุณหมอว่าพบคลื่นชัก ว่าเป็นคลื่นชักชัดเจนมั๊ย หรืออาจจะเป็นคลื่นขณะหลับ ซึ่งหน้าตาอาจจะคล้ายกัน คุณหมอก็ยืนยันว่าเป็นคลื่นชักค่อนข้างชัดเจนค่ะ ไม่ใช่คลื่นหลับ

แนวทางการรักษาตอนนี้ ก็ทาน Keppra ไปตัวเดียว แล้วค่อยปรับยาเมื่อมีอาการชักครั้งต่อๆไป จนกว่าปริมาณยาจะสูงสุดหรือเกิด side effect เกินที่จะรับได้ ค่ะ

แล้วก็เลยคุยกับคุณหมอเรื่องทำ MRI เพราะคุณหมอเคยบอกไว้ว่าถ้ามีอาการชักครั้งถัดไป จะพิจารณาให้ทำ MRI หลังจากสอบถามราคามาหลายที่ ก็เลยตัดสินใจว่าจะทำที่ศิริราช คุณหมอก็เลยให้ไปจองคิว ก็ได้คิวมาเดือนสิงหาคม แต่ขอเลื่อนไปเป็นตุลาคม เพราะ Plan ว่าคงจะขึ้นไปกรุงเทพฯช่วงนั้นพอดีค่ะ ประเมินค่าใช้จ่ายมาก็อยู่ที่ 13000 บาท (admit 1 คืน ไม่ต้องฉีดสี)


สำหรับ side effect ด้านอารมณ์ก็ยังเป็นอยู่ แต่มีแนวโน้มดีขึ้น หมายถึงตัวพ่อ แม่เองด้วยที่เริ่มรับมือได้มากขึ้น อาจจะเป็นเพราะปรับตัวได้มากขึ้น เข้าใจเค้ามากขึ้น และพอดีได้อ่านหนังสือเรื่อง "เมื่อลูกท้าทายคุณ" ซึ่งมีเนื่อหาตรงกับพฤติกรรมลูก 80-90% เลยทีเดียว ความจริงมีหนังสืออยู่ที่บ้านนานมากแล้ว ตั้งแต่ก่อนลูกเกิดเสียอีก แถมมีหลายชุดด้วย คือเป็นมรดกตกทอดมาจากพี่สาว แถมยังเคยซื้อมาซ้ำเองด้วย เพราะไม่รู้ว่าที่บ้านมีอยู่แล้ว แต่เพิ่งได้เคยมาเปิดอ่านจริงจัง หนังสือพูดถึง พฤติกรรมเด็กแบบต่างๆ อธิบายเหตุและผลที่ทำให้เค้ามีพฤติกรรมไม่ดีต่างๆ พร้อมยก case ประกอบ มีทั้งหมด 3 เล่ม ใครที่เจอปัญหาลูกเอาแต่ใจ อารมณ์แปรปรวน เคยลงไปดิ้นในห้างฯ แนะนำให้อ่านค่ะ


อ้อ ก่อนหน้านี้ ได้เคยพาไตตั้นไปพบจิตแพทย์เด็ก ก็เล่าอาการให้ฟัง คุณหมอบอกว่ามาจากพฤติกรรมตามวัย บวกกับ side effect จาก Keppra นี้ด้วยค่ะ ส่วนใหญ่เด็กเล็กกินแล้วจะอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย แต่หากเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะง่วงซึม ถามว่าถ้าอนาคตหยุดยาแล้วพฤติกรรมเหล่านี้ยังจะติดตัวไปหรือเปล่า คุณหมอบอกว่าก็มีทั้งเป็นอยู่มากขึ้น  น้อยลง หรืออาจจะหาย ขึ้นอยู่กับวิธีการที่เราปฏิบัติต่อเค้าว่าถูกต้องหรือเปล่า เช่น ถ้าเค้าร้องกรี๊ดๆๆๆ ก็ควรจะเบี่ยงเบนความสนใจถ้าทำได้ หรือเพิกเฉยไปเลย และต้องทำให้เหมือนกันทั้งบ้าน เป็นต้น หากจะพูดคุยหรือสอนก็ต้องใช้น้ำเสียงปกติ ไม่ตามไปกับอารมณ์เค้า คือถ้าเราไปตอบสนองเค้าทั้งทางบวกหรือทางลบ จะยิ่งไปเสริมพฤติกรรมไม่ดีเหล่านั้น เพราะที่เค้ากรี๊ดๆ คือเค้าเรียกร้องความสนใจ หากเราตอบโต้ก็แปลว่าเค้าเรียกร้องได้สำเร็จ ประมาณนี้ค่ะ
และหากอนาคต เป็นมากขึ้น พ่อแม่คิดว่าไม่สามารถรับมือได้ คงต้องให้ทานยาปรับอารมณ์ คือทานแล้วก็จะทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลดพฤติกรรมก้าวร้าวต่างๆลง

ออฟไลน์ nongtt

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 99
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2011 เวลา 16:09 น. »
วันเสาร์ที่ผ่านมา ลูกกลับมาชักอีกแล้วค่ะ ห่างจากครั้งที่แล้วเกือบ 4 เดือน ครั้งนี้กลุ้มใจมาก เพราะคิดว่าไม่มีสิ่งกระตุ้น อย่างเช่นไข้เหมือนครั้งที่ผ่านๆมา

เล่าย้อนไปคือ วันจันทร์ได้ให้ไปโรงเรียน  แต่พอวันพฤหัสเค้าก็เริ่มมีน้ำมูกใสๆ เลยให้ดื่มน้ำมากๆ และล้างจมูกบ่อยๆ ไม่ได้ให้ยาอะไร เพราะเคยเป็นและดูแลแบบนี้ก็หายหวัดเอง อาการก็ดีขึ้นนะคะ เช้าวันเสาร์น้ำมูกแห้ง แต่ยังมีเสียงขึ้นจมูกหน่อยๆ   ประมาณ 10 โมงเช้า กำลังนั่งขีดเขียนเล่นๆ อยู่ดีๆก็ค้าง แล้วก็เกร็ง กระตุกแบบทั้งตัว ประมาณ 3 นาทีได้ค่ะ พอหยุดชัก ลองวัดไข้ดูก็ไม่ถึง 37 แต่จับตัวดูเหมือนมีอาการตัวรุมๆนิดหน่อย ไม่แน่ใจเท่าไร แต่ก็รีบเช็ดตัวให้ แล้วก็ป้อนพาราตามค่ะ ลูกหลับไปได้ 2 ชั่วโมงกว่า พอตื่นมาตอนบ่าย ก็ร่าเริง ดูปกติดี ไม่มีไข้ตลอดทั้งวัน

โทรปรึกษาคุณหมอแล้ว คุณหมอให้เพิ่ม Keppra จาก 1.5 เป็น 2 ml เช้า เย็น และคิดว่าครั้งนี้ไม่มีตัวกระตุ้น ไม่น่าจะเป็นไข้ เพราะดูจากปรอทวัดไข้ และคิดว่าควรจะต้องทำ MRI (ไตตั้นยังไม่เคยทำค่ะ)

ครั้งนี้กลุ้มใจมาก เพราะจากประวัติการชัก ถ้าไม่นับครั้งแรก เค้าจะไม่เคยอยู่ดีๆแล้วชัก ช่วงแรกที่ทาน dpk และระดับยาต่ำก็จะชักจากเหนื่อยและไข้ แต่ปีหลังที่เพิ่ม dose ยาจนระดับยาค่อนข้างสูง ก็จะชักจากไข้ล้วนๆ  และเป็นเรื่องที่เคยกังวลตอนเปลี่ยนยาจาก dpk มาเป็น keppra เพราะดูจากประวัติเค้าแล้วมันเหมือนว่า dpk ช่วง dose ยาสูงๆน่าจะคุมชักได้บางส่วน แต่ยังคุมชักจากไข้ไม่ได้ พอเปลี่ยนยาแล้วหากเหนี่อย หรือไม่มีไข้อะไรก็อาจชักขึ้นมารึเปล่า ตอนนั้นก็ได้ถามคุณหมอไป แต่คุณหมอก็ยังยืนยันว่าควรให้ยาทีละตัว และ keppra ถ้าใช้ได้ผลก็ควรจะคุมชักได้ทั้งหมด  ...........แล้วก็เกิดขึ้นจนได้ค่ะ ครั้งนี้คิดว่าไม่มีอะไรมากระตุ้น เค้าก็ชัก มันทำให้ดูแลยากขึ้นไปอีก ช่วงแรกๆจะวิตกจริตมาก


MRI ที่จองคิวไว้ที่ศิริราชก็ประมาณเดือนตุลาคม ตอนนี้ก็ยังตัดสินใจอยู่ว่าจะรีบพาขึ้นไปทำที่เอกชนก่อนดีหรือไม่ค่ะ

ออฟไลน์ kedy

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 174
Re: กังวลเรื่องลูกเปลี่ยนยาจาก depakine เป็น keppra
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2011 เวลา 09:24 น. »
อ่านแล้วเครียด  เพราะครั้งล่าสุดที่เอิร์นๆชัก ก็ไม่มีไข้ไรเลยค่ะ ไม่เหนื่อย ไม่ไรทั้งนั้น นอนหลับอยู่ ก็เลยต้องเพิ่มยา ตามสูตร

เกดว่าคุณหน่อง พาน้องไตตั้นมาตรวจ mri ที่รพ.เอกชนดีกว่ามั๊ยค่ะ อย่าปล่อยเวลาไปเลย รู้สาเหตุเร็ว จะได้รักษาเร็วนะค่ะ

 


Powered by EzPortal