เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ  (อ่าน 15983 ครั้ง)

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« เมื่อ: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 15:26 น. »
ใครมี ช่วยถ่ายรูปให้ดูหน่อยได้ไหมครับ
จะได้ไปหาซื้อมา ถ้ารู้ร้านที่ขายด้วยจะยิ่งดีครับ
ขอบคุณครับ  ;D
สู้สู้

ออฟไลน์ ann

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 236
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 19:22 น. »
คุณป็อปคะแอนจะบอกว่าวิธีเล่นกับลูกโดยไม่ต้องลงทุนมากไปซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านค่ะมีวิธีเล่นที่พัฒนาสมองได้ดีมากมากค่ะใช้ของในบ้านที่อยู่รอบตัวเราเลยค่ะ

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 19:30 น. »
พรุ่งนี้มีงาน Thailand  baby best buy ครั้งที่ 11 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ใครลองแวะไปดูน๊ะครับ ผมว่าจะไปหาหนังสือเล่มที่พี่แอนแนะนำครับ  ;D
ขอบคุณสำหรับหนังสือแนะนำครับพี่แอน

http://www.thailandbabybestbuy.com/index.php
สู้สู้

ออฟไลน์ KATE

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 101
  • google ลูกรักของแม่เกด
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 23:16 น. »
ตอนนี้ส่วนนึงที่เกดมีการกระตุ้นกูเกิ้ล คือ เรื่องการมอง และการใช้มือสัมผัสสิ่งของ
1. การมอง --> หมอบอกว่าเกิ้ลมองของไม่ดีนัก มองได้ไม่นาน เมื่อเคลื่อนไหวของช้าๆมองตามได้ดี แต่ถ้าเร็วมาก จะมองไม่ทัน(สมองอาจสั่งการช้า) จึงต้องฝึกการมองด้วยบอลแม่สีต่างๆ โดนเคลื่อนไหวไปมาก ลองทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ตอนนี้ฝึกมาให้ระยะนึง เป็นความภาคภูมิใจมากๆ การมองเห็นดีขึ้นมากเลยทีเดียว
2. การสัมผัส --> ปกติเด็กวัย 4-5 เดือน จาเริ่มจับของเข้าปากได้ แต่เกิ้ล 9 เดือน ไม่ยอมจับอาไรเลย เกดเคยคิดเล่นๆว่า อาจมาจากว่า สมองยังทำงานประสานกันกับตาไม่ได้ คือ (ตามองเห็นของแล้วมือก็ไปสัมผัส) ซึ่งเกิ้ลไม่สามารถทำได้ ไม่ค่อยยอมให้จับมือ แรกๆจับแล้วร้องไห้ แต่ตอนนี้ฝึกให้จับบอลและของเล่นที่มีผืนพื้นแปลกๆ ก็เริ่มชิน ยอมจับบ้างแล้ว แล้วครูก็มีท่าฝึกการใช้มืออื่นๆ(ไว้มา review วันหลัง)

ใครมีปัญหาเหมือนน้องเกิ้ล ลองไปฝึกดูนะคะ สู้ๆคะ

ส่วนบอล เกดซื้อมาจากหลายที่เลย
- บิ๊กซี --> ลูกบอลหนามสั้น 3 สี (1 แพ็ค มี 3 ลูก)
- ทอยส์ อาร์ อัส เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 6 --> ลูกใหญ่สีเขียว ขนยืดยาว นิ่มมาก
- เวปกีฬาไทยพาณิชย์ -->http://www.keelathaipanich.com/product_358756_th
- เซ็นทรัล --> หนอนสีๆ แต่ละข้อมีพื้นผิวหลากหลาย
"ความแข็งแกร่งของแม่..ยิ่งใหญ่เหนือกฎของธรรมชาติ"

โรงพยาบาล  --> รามาธิบดี (อ.ชัยยศ)
รักษาด้วยยา  --> Keppra+Phenobarb+depakine
ฝึกพัฒนาการ --> ร.พ.จุฬาฯ / ครูมาฝึกที่บ้าน

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 23:34 น. »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับคุณเกด น้อง google หวงมือไหมครับ
น้องวินหวงมือมากๆเลย ไปจับมือเขานี่จะไม่ค่อยชอบ จะเอาออก
สู้สู้

ออฟไลน์ KATE

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 101
  • google ลูกรักของแม่เกด
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 23:41 น. »
เกิ้ล หวงมือมากๆคะ เค้าจาเอามือจับกันไว้ พอไปจับออกก็ร้อง เค้าไม่ชอบมากเลย
น้องวินเป็นเหรอคะ เพราะอาไรคะคุณป๊อป แล้วตอนนี้น้องวินดีขึ้นยังคะ
"ความแข็งแกร่งของแม่..ยิ่งใหญ่เหนือกฎของธรรมชาติ"

โรงพยาบาล  --> รามาธิบดี (อ.ชัยยศ)
รักษาด้วยยา  --> Keppra+Phenobarb+depakine
ฝึกพัฒนาการ --> ร.พ.จุฬาฯ / ครูมาฝึกที่บ้าน

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 08 กันยายน 2011 เวลา 00:33 น. »



   KATE [07|ก.ย. 11:36 PM]:   คุณป๊อปคะ
   KATE [07|ก.ย. 11:37 PM]:   เกิ้ล หวงมือมากๆคะ เค้าจาเอามือจับกันไว้ พอไปจับออกก็ร้อง เค้าไม่ชอบมาก
   popja [07|ก.ย. 11:47 PM]:   น้องวินไม่ชอบให้ไปแตะเลยครับ
   popja [07|ก.ย. 11:47 PM]:   คุณเกดเคยบอกว่า น้อง google ชอบใช้เท้ามากกว่ามือใช่ไหมครับ
   KATE [07|ก.ย. 11:47 PM]:   จนถึงปัจจุบันเหรอคะ
   KATE [07|ก.ย. 11:47 PM]:   ใช่เลยคะ
   popja [07|ก.ย. 11:48 PM]:   ครับ ตอนนี้ก็ไม่ชอบให้เอามือไปยุ่ง
   KATE [07|ก.ย. 11:48 PM]:   แล้วทำไงอะคะ
   KATE [07|ก.ย. 11:50 PM]:   น้องวิน มือไม่มีแรง หรือว่าเจ็บคะ   popja [07|ก.ย. 11:50 PM]:   ไม่มีแรงครับ
   popja [07|ก.ย. 11:51 PM]:   พอมือไม่มีแรง เขาเลยชอบใช้เท้าแทนมือ
   popja [07|ก.ย. 11:51 PM]:   จะเขี่ยอะไร เท้าจะมาก่อน
   popja [07|ก.ย. 11:51 PM]:   เวลาเปิดหน้านิทาน ก็จะใช้เท้า
   KATE [07|ก.ย. 11:51 PM]:   นั้นละคะ ใช่เลย ไม่อยากกินข้าวก็เขี่ย ทีบแม่
   popja [07|ก.ย. 11:52 PM]:   หลังๆ พอมือเริ่มมี แรงเขาจะใช้มือมากขึ้นครับ
   popja [07|ก.ย. 11:52 PM]:   ตอนนี้ก็ใช้มือมากกว่าเท้าแล้วครับ
   KATE [07|ก.ย. 11:52 PM]:   ต้องกระตุ้นใช่ไหมคะ ถึงจามีแรงขึ้นมา
   KATE [07|ก.ย. 11:53 PM]:   แล้วตอนใช้เท้านี่ ถึงกีเดือนคะ แล้วมาใช้มือตอนกี่ขวบคะ
   popja [07|ก.ย. 11:53 PM]:   ผมเองมองตัวเองว่า ไม่ค่อยได้กระตุ้นมากซักเท่าไหร่ครับ
   popja [07|ก.ย. 11:54 PM]:   แต่ก็แย่งของ เหมือนชักคเย่อหนะครับ   popja [07|ก.ย. 11:54 PM]:   ให้เขาออกแรง
   popja [07|ก.ย. 11:54 PM]:   เอ แล้วตอนนี้น้อง google จับขวดนมหรือยังครับ
   KATE [07|ก.ย. 11:55 PM]:   ไม่จับคะ จับทุกอย่างได้แป๊ป ต้องเอาไปใส่มือให้ถึงจับ
   KATE [07|ก.ย. 11:55 PM]:   อีกอย่าง คือไม่กินนมจากขวดนมด้วย
   popja [07|ก.ย. 11:57 PM]:   น้องวินก็ยังไม่จับครับ
   popja [07|ก.ย. 11:58 PM]:   พัฒนาการยังไม่ถึง คือเริ่มจับของชิ้นใหญ่ ชิ้นเล็ก จับของมือเดียว จับของ 2 มือ
   popja [07|ก.ย. 11:58 PM]:   ตอนนี้ได้แต่จับของช้ินใหญ่ ยังใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งจับของชิ้นเล็กไม่เป็น จับทีทั้งฝ่ามือเลย
   popja [07|ก.ย. 11:58 PM]:   แล้วก็ยังไม่จับของ 2 มือพร้อมๆกัน
   popja [07|ก.ย. 11:59 PM]:   แล้วน้อง google สลับของในมือได้หรือยังครับ
   KATE [08|ก.ย. 12:00 AM]:   อยู่ที่จับของชิ้นใหญ่เหมือนกันคะ
   KATE [08|ก.ย. 12:01 AM]:   จับได้แป๊ปๆด้วย ใช้อุ้งมือยืดไว้ แป๊ปๆ
   KATE [08|ก.ย. 12:02 AM]:   แต่ตอนนี้เกดไปเน้นท่า นั่งเท้ามือ และท่าตั้งคลาน ให้ทิ้งน้ำหนักไปที่มือมากกว่า
   KATE [08|ก.ย. 12:02 AM]:   หวังว่าถ้าท่านี้เก่งเมื่อไร การจับคงตามมา
   popja [08|ก.ย. 12:05 AM]:   เวลาน้องจับของ ให้เอานิ้วโป้งกางออกข้างนอกน๊ะครับ
   popja [08|ก.ย. 12:05 AM]:   อย่าให้ 4 นิ้วกำนิ้วโป้งอยู่
   popja [08|ก.ย. 12:06 AM]:   คุณเกด
   KATE [08|ก.ย. 12:06 AM]:   คะ
   popja [08|ก.ย. 12:07 AM]:   ลองหาแบบประเมินดู เวลาเขาประเมิน เขาจะดูด้านต่างๆครับ รู้สึกจะมีประมาร 4-5 ด้านครับ
   popja [08|ก.ย. 12:08 AM]:   จะมีข้อเรียงไปเรื่อยๆ ถ้าหากทักษะไหนทำไม่ได้ติดต่อกัน 3 ทักษะในด้านนั้นๆ เขาจะหยุดประเมิน แล้วให้ทำการกระตุ้นจนกว่าจะผ่านทักษะแบบนั้นครับ
   popja [08|ก.ย. 12:09 AM]:   เพราะทักษะข้อถัดๆมา จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่ผ่านทักษะที่ยังติดอยู่หนะครับ
   popja [08|ก.ย. 12:09 AM]:   เราจะได้รู้ว่า ลูกเราต้องกระตุ้นอย่างไหน
   popja [08|ก.ย. 12:09 AM]:   เดี๋ยวผมลองหาแบบประเมินในนี้ดูน๊ะครับว่ามีไหม
   popja [08|ก.ย. 12:10 AM]:   ถ้าหาได้แล้วจะนำมาลงน๊ะครับ จะได้เน้นตรงๆจุดครับ
   KATE [08|ก.ย. 12:11 AM]:   ดีมากเลยคะ ขอบคุณมากคุณป๊อป อย่างได้ๆ
   KATE [08|ก.ย. 12:11 AM]:   ไปนอนก่อนนะคะ ขอบคุณมากคะคุณป๊อป
   popja [08|ก.ย. 12:13 AM]:   ครับ สวัสดีครับ
สู้สู้

ออฟไลน์ ann

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 236
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 09 กันยายน 2011 เวลา 08:07 น. »
ดีจังค่ะคุณป็อปเอาแบบประเมินมาลงไว้จะได้ดูว่าลูกเราขาดตรงไหนและจะได้นำมาทำกับลูกเราได้แอนเองส่งลูกไปฝึกก็สัปดาห์ละ3ครั้ง3ที่แต่ก็ไม่เห็นจะประเมินก็ฝึกกันไปน้องหลิงเองถือของได้แล้วแต่ต้องน้ำหนักไม่เยอะอย่างของเล่นไม้หรือพลาสติกที่มีด้ามถือก็ถือได้เปลี่ยนมือพอได้แต่ไม่ดี และไม่ยอมถือขวกนมเลยถ้าจับมือมาฤือจะขืนอย่างมากไม่ยอมทำ ทั้งที่แต่ก่อน6เดือนก่อนเป็นลมชักถือขวดแล้ว และหวงมือมาก ตอนแรกแอนคิดว่าเพราะฝึกลงน้ำหนักที่มือเขาเยอะเขาเลยกลัวหวง แต่ดูแล้ว ลูกเราคงพัฒนาการไกล้เคียงกันค่ะ น้องวินคงมากกว่าน้องกูเกิ้ลกะน้องหลิงสักหน่อยลองลงวิธีฝึกแลกเปลี่ยนกันดูนะคะ เสียดายแอนลงวีดีโอใส่ยูทูปไม่เป็นไม่งั้นจะเอามาลงให้เวลาไปฝึกค่ะ

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 09 กันยายน 2011 เวลา 08:29 น. »
เสียดายแอนลงวีดีโอใส่ยูทูปไม่เป็นไม่งั้นจะเอามาลงให้เวลาไปฝึกค่ะ

ต้องโทษคุณหมู สิแบบนี้ :P

ออฟไลน์ ann

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 236
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 09 กันยายน 2011 เวลา 09:09 น. »
  แหม พี่น้องนิ ต้องโทษว่าแอน...ถึงจะถูกใช่มะ ที่พี่น้องคิด อ้อ คุณป็อปคะ จะบอกว่าเรื่องผิวสัมผัสการเรียนรู้ของเด้กให้จับมือลูกมาลูป ผม ผิว เสื้อผ้า และบอกลูกว่าคืออะไรก้ทำได้นะคะ และผ้าที่มีผิวสัมผัสต่างกันเอามาให้ลูกลูปเยอะเยอะได้ค่ะ ของแข็ง ของเหลว นิ่ม บอกลุกไปเรื่อยเรื่อยค่ะเขาจะเรียนรู้เองนะคะ บอกด้วยว่าเป้นอะไร และสังเกตุว่าลูกชอบจับแบบไหน เป็นพิเศษค่ะ ส่วนใหญ่สิ่งที่ ขยำกระดาษ เสียงจากะรรมชาติต่างต่างพวกนี้บอกลุกได้หมด และมีบอกในหนังสือ brain gamesด้วยค่ะ อ้อและยังมีรูปของเล่นพัฒนาการในนี้เยอะด้วยนะคะ

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2011 เวลา 22:52 น. »
ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย
http://www.pantip.com/cafe/family/topic/N9409156/N9409156.html (mme_nong 27 มิ.ย. 53 11:30:35)

อายุ 10 เดือน ?1 ปี
การเล่นและของเล่น

1. ชอบเล่นตบแผละ และเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เล่นซนมาก ชอบรื้อของ
ประโยชน์ของเล่นเด็ก: ฝึกการ ใช้มือและแขน การสังเกตและส่งเสริมการเรียนรู้

อายุ 1-1.5 ปี
การเล่นและ ของเล่น

1. เด็กจะสนุกกับสิ่งใหม่ ๆ ที่พบเห็น ชอบปีนป่ายขั้นบันได มุดใต้โต๊ะ เข้าไปใต้ตู้
ประโยชน์ของเล่นเด็ก: เรียน รู้สิ่งต่างๆ ฝึกการเคลื่อนไหวให้ คล่องแคล่ว

2. ชอบขว้าง ปา ตอก ถอดให้หลุด ของเล่นควรเป็นพวกกล่อง กระป๋อง ภาชนะต่างๆ ที่ไม่แตก ซึ่งมีรูปร่างต่างๆ หีบไม้ใหญ่มีล้อเลื่อนให้เด็กผลักเล่น ปีนขึ้นไปนั่ง หรือขว้างของลงไปในหีบและกระดานฆ้อนตอก
ประโยชน์ของเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกตด้วยการ สัมผัส ลูบคลำ เรียนรู้รูปทรง และฝึกกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ แขน ขา ให้แข็งแรง ฝึกการกะระยะ และการใช้ตาและมือให้ทำงานประสานกัน

3. เมื่อเด็กชอบเดิน ของเล่นควรเป็นประเภทที่ลากไปมาได้ เช่น ขบวนรถไฟที่ทำด้วยไม้แล้วโยกเป็นคันๆ ได้
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก การทรงตัวได้อย่างดีเมื่อเด็กหันมาดู บ่อยๆ ว่ารถที่ลากเล่นตามปกติหรือไม่ และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จเมื่อนำรถแต่ละคันมาต่อกันและ ลากไปมาได้

4. ชอบเล่นน้ำอย่างมาก มักเอามือตีน้ำ เทน้ำเล่น อาจนำขาดพลาสติกที่ตัด และเจาะรู้ให้น้ำไหลได้มาให้เด็กเล่น นอกจากนี้เด็กชอบทดลองทิ้งของต่างๆ ลงไปในน้ำเพื่อดูว่าอะไรบ้างลอยน้ำหรือจมน้ำ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนา ความรู้สึกในการสัมผัส และทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าสิ่งของใดบ้างที่ลอยน้ำ หรือจมน้ำ

5. ชอบเคลื่อนไหว มีความพยายามทำสิ่งยากๆ
ประโยชน์เครื่องเล่นสนาม: เป็นการควบคุมและฝึกกล้ามเนื้อและทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเอง

อายุ 1.5-2 ปี
การเล่นและของเล่น

1. กระดานฆ้อนตอก
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก ทักษะการเคลื่อนไหว ช้า-เร็ว

2. ของเล่นที่ลากจูงและผลักไปมาได้
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:์ ฝึกตาและมือให้ทำงานประสานกันและฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือ ข้อมือ

3. ไม้บล็อกขนาดรูปร่าง ต่างๆ กันประมาณ 5-6 ชิ้น
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกสังเกตเรียนรู้ การวางซ้อน

4. หีบหรือกล่องซ้อนเป็นเถาหรือเป็นชุดอาจทำด้วยไม้ พลาสติกหรือกระดาษแข็ง ให้เด็กจับเรียงขนาดหรือซ้อนกัน เช่น ถ้วยพลาสติก หม้อเล็ก ๆ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: วางเรียง และฝึกความคิดเปรียบเทียบขนาดรูปร่าง

5. กล่องมีรู เป็นรูปต่างๆ ให้เด็กเลือกหยิบบล๊อกรูปทรงหย่อนลงรูตามรูปได้
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกตรูป ทรง ฝึกการใช้สายตา และมือให้สัมพันธ์กัน

6. ของเล่นที่เป็นภาพฉลุอยู่ในกรอบเป็นชุด ๆ เรียงลำดับตามขนาดใหญ่ไปเล็กหรือสั้นไปยาวและถอดออกเรียงใหม่ได้
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกตขนาด ความยาว และฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ

7. ภาพตัดต่อ ประมาณ 3-6 ชิ้น เป็นรูปต่างๆ เช่น บ้าน สัตว์ อาจทำด้วยพลาสติก กระดาษแข็ง ให้เด็กนำมาเรียงกันโดยวิธีลองผิดลองถูก
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก การสังเกต เปรียบเทียบ ฝึกการคิด การจำ โดยต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์

8. ลูกปัดขนาดใหญ่สีต่างๆ มีเชือกเหนียว ๆ สำหรับร้อยลูกปัด
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกต ขนาด สี และฝึกการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน

9. สัตว์ หรือตุ๊กตาหรือลูกบอลที่ทำด้วยวัสดุนุ่ม ๆ เช่น ผ้า ยาง ให้เด็กจับ ขยำเล่น หรือโยนเล่นแบบลูกช่วง
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนา ความรู้สึกและการเรียนรู้ในการสัมผัส ฝึกการใช้สายตาประสานกับกล้ามเนื้อนิ้วมือ แขน ให้คล่องแคล่ว

10. ตุ๊กตาว่ายน้ำได้เวลาไขลาน หรือบีบถุงลมแล้วกระโดดได้
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: เด็กสนุกต่อการ สัมผัส การบีบพัฒนากล้ามเนื้อมือ ถ้าไขลานแล้วตุ๊กตาว่ายน้ำ ขยับแขนไปมาได้ หรือบีบในน้ำก็พุ่งกระโดดได้เด็กยิ่งสนใจ

11. ของเล่นที่บีบจับแล้วมีเสียง หรือทำให้เกิดเสียง
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: เด็ก สนุกเมื่อบีบรัดแล้วเกิดเสียง ฝึกทั้งฟังเสียงและพัฒนากล้ามเนื้อมือ

12. ขั้นบันไดอาจทำด้วยพลาสติกหรือไม้หรือเป็นหีบแข็งใบใหญ่ๆ ให้เด็กวางซ้อนเรียงเป็นบันไดหรือใช้เก้าอี้เตี้ยๆให้เด็กก้าวเล่น กระโดดขั้น ?ลง
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการใช้ทักษะการ ทรงตัว พัฒนากล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว

13. ของเล่นที่ใช้ตักตวงทรายเล่นในบ่อทราย เช่น พลั่ว ช้อน ถัง ทำด้วยพลาสติก
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการใช้กล้าม เนื้อนิ้วมือ มือ แขน

14. หนังสือรูปภาพ มีภาพชัดเจน เหมือนของจริง
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกต รู้จักซื่อสัตว์ สิ่งของ ผัก ผลไม้ และฝึกพูดจากภาพ

อายุ 2-3 ปี
การเล่นและของเล่น

1. เด็กเดินได้ตรงและยืนขาชิดกันได้ มากขึ้น ควรให้เล่นเกี่ยวกับการทรงตัว และให้วิ่ง ปีนป่าย กระโดด เขย่งควบม้า
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก การเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น

2. ชอบเล่นของเล่นที่ออกแรงมาก ๆ เช่น ของเล่น ที่ดึงออกและใส่ใหม่ได้ ลูกบอลลูกโตๆ
แต่เบา ๆ สำหรับเล่นเตะและขว้าง เล่นกระดานฆ้อนตอก ขี่รถจักรยาน 3 ล้อ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนา กล้ามเนื้อใหญ่ คือ แขน ขา ฝึกการกะระยะ และฝึกการใช้สายตา มือ และเท้าให้ทำงานประสานกัน

3. อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ควรให้เล่นของเล่นที่ใช้ประสาทสัมผัส เช่น ภาพตัดต่อย่างง่ายๆ ประมาณ 3-6 ชิ้น ภาพต่อปลาย (โดมิโน) กล่องหยอดบล๊อกรูปทรงต่างๆ และให้เล่นสร้างสิ่งต่างๆด้วยไม้บล๊อก
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก การสังเกตและการเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ฝึกการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กันและฝึกความคิดสร้างสรรค์

4. ชอบเล่นเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เช่นการแต่งตัว การทำงาน ควรหาของเล่นเป็นพวกตุ๊กตา มีเสื้อผ้าสวม-ถอดได้ ของใช้ในบ้านจำลอง เช่น หม้อข้าว หม้อแกง เตา กระทะ เตารีด ที่รองรีด โต๊ะเก้าอี้ เตียงนอนเล็ก ๆ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวเด็กกับบุคคลรอบ ๆ ตัวเด็ก และฝึกการเล่นเลียนแบบ

5. ชอบเล่นคนเดียว และเริ่มเล่นกับเด็กอื่น แต่จะมีเรื่องทะเลาะกัน เช่น แย่งของเล่น ควรเริ่มสอน ระเบียบ วินัย จัดกิจกรรม ร้องเพลง และเล่านิทาน สอนเด็ก
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก การเล่นเป็นกลุ่ม การควบคุมอารมณ์และระเบียบวินัย

6. ชอบเล่นของเล่นอื่น ๆ เช่นเดียวกับเด็กวัย 1-2 ปี

อายุ 3-4 ปี
การเล่นและของเล่น

1. เด็กวัยนี้กล้ามเนื้อใหญ่ที่แขน ขา แข็งแรงขึ้นควรส่งเสริมให้วิ่ง กระโดด ปีนป่าย
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนา กล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรง เคลื่อนไหวกระฉับกระเฉงขึ้น

2. การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเล็กที่มือดีขึ้น ควรให้เล่นของเล่นที่สวมเข้ากันได้ ดึงออกมาได้ และของเล่นที่หมุนเป็นเกลียว เล่นโยนรับของเบาๆ และควรฝึกให้ผูกเชือกรองเท้าติดกระดุมเสื้อเอง
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้แข็งแรง ทำงานคล่องแคล่วขึ้น

3. การทรงตัวดีขึ้น ควรฝึกเดินบนกระดานแผ่นเดียว เดินบนเส้นตรง ยืนขาเดียว ชอบการเล่นที่เพิ่มความรุนแรง พลิกแพลง และโลดโผน ควรฝึกให้รู้จักม้วนตัว กลิ้งตัว ปีนป่าย และกระโดดจากที่สูง
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการทรงตัวให้ ดีขั้น ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเองความกล้า และการตัดสินใจ

4. ชอบการเล่นอิสระ การเล่นเลียนแบบลักษณะท่าทางของบุคคลและสัตว์ การเล่นสมมติกับตุ๊กตา การเล่นประกอบเรื่องหรือนิทาน การแสดงท่าทางประกอบเพลง หรือกิจกรรมเข้าจังหวะ และเริ่มสนใจการเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ กับเด็กอื่น ๆที่ใช้เวลาสั้น
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนาการด้าน อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

5. ชอบเล่นของเล่นที่ยากมากขึ้น และของเล่นที่ทำให้ออกกำลังกายมากก ๆ เช่น เล่นเครื่องเล่น สนาม ได้แก่ ชิงช้า บันได ไต่ ไม้ลื่น บ่อทราย เล่นก่อสร้างสิ่งต่างๆ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกความเชื่อ มั่นในตัวเอง และพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ที่แขน ขา ให้แข็งแรง

อายุ 4-6 ปี
การเล่นและของเล่น

1. การเจริญเติบโตของลำตัวท่อนบนช้า แขนและขายาว มือสั้น เท้าเจริญช้า ควรส่งเสริมให้ กระโดด กระโดดเชือก เขย่ง ปีนป่าย ฝึกให้เล่น ผาดโผน เล่นเกมที่เน้นการควบคุมความเร็วของร่างกาย เช่น เกมที่เล่นเป็นวงกลม เช่น การฟักไข่ บอลม้า เกมที่เกี่ยวกับการหนี เช่น ไล่จับ ไล่แตะ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ และฝึกทักษะการทำงานของร่างกาย และกล้ามเนื้อ

2. สายตาสามารถมองเห็นไกล ๆ สายตาและมือทำงานประสานกันได้รวดเร็วและดีขึ้น ควรให้เล่นกับลูกบอลใหญ่ ๆที่เบา ๆ ให้โยน เหวี่ยงวิ่งรับ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก ให้สายตา มือ เท้า แขน ขา ลำตัวทำงานประสานกันได้ดีขึ้น

3. ชอบเล่นการรุนแรง ผาดโผน ใช้ความเร็วและออกแรงมาก ควรให้เล่นเครื่องเล่นสนาม เช่น โหนชิงช้า โหนราวไต่เหวี่ยงตัว และฝึกให้เล่นยินนาสติก ว่ายน้ำ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก ความกล้า และการตัดสินใจ พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่

4. มีจินตนาการ ชอบสมมติเป็นเรื่องราวแสดงท่าทางประกอบเรื่อง หรือเล่นบทบาทสมมติ เช่น เล่นเกี่ยวกับบ้าน พ่อแม่ลูก เกี่ยวกับร้านขายของ ชอบเล่นเลียนแบบ และการเล่นสร้างสรรค์ ชอบท่าทางประกอบเพลงหรือกิจกรรมเข้าจังหวะ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนาการ ด้านอารมณ์สังคมและสติปัญญา

5. สามารถเล่นและทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ควรให้เล่นเกมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เช่น มอญซ่อนผ้าทำตามผู้นำ และให้เล่นเกมแข่งขัน เช่น วิ่งเปี้ยว

6. ของเล่นที่ควรจัดหาให้เด็กวัย 3-6 ปี ได้แก่
6.1เครื่องเล่นสนาม เช่น ชิงช้า ราวไต่แบบโค้ง บันไดหรือราวโหน ไม้ลื่น ไม่กระดก ไม้กระดานยาว ฝึกทรงตัว อุโมงค์ บ่อทราย
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก ทักษะการเคลื่อนไหวให้คล่องแคล่ว ฝึกการทรงตัวให้มั่นคง พัฒนากล้ามเนื้อ
6.2 เครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้ เช่น รถจักรยาน 3 ล้อ
6.3 ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น
- โดมิโน (ภาพต่อปลาย) เป็นภาพสัตว์ สิ่งของ ผัก ผลไม้ ตัวพยัญชนะ และคำ
- หนังสือภาพ หนังสือนิทาน เทปเล่านิทาน เพลง เทปเพลง
- ภาพชุดเหตุการณ์ ชุดละ 4-5 ภาพ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก การสังเกต เปรียบเทียบ รู้จักชื่อเรียกสิ่งต่างๆ รู้จักพยัญชนะ รู้จักคำ ฝึกการฟัง พูด และการเรียงลำดับเรื่องราว
6.4 ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น
- โดมิโน จุด / ตัวเลข
- กระดานจำแนกจำนวน
- กระดานตัดต่อภาพสัตว์ ผลไม้ สิ่งของเรียงขนาด
- กระดานตัดต่อรูปทรง
- กล่องหยอดบล็อกรูปทรง
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดลำดับ และเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน ขนาด รูปทรงเรขาคณิต
6.5 ของเล่นให้รู้ตักสิ่งต่างๆ และฝึกการสังเกตเปรียบเทียบเช่น
- กระดานเปรียบเทียบสี กล่อง หยอดสี
- กระดานเปรียบเทียบความเหมือนความต่างและหาความ สัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
- ภาพตัดต่อ (6-20 ชิ้น)
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก การจำ และเรียกชื่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง รู้จักสีรูปร่างลักษณะ
6.6 ของเล่นฝึกการใช้ประสาทสัมพันธ์ ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็กจะได้ตอก ต่อ หยอด กด ร้อย ปักเย็บ ผูก เกี่ยว รูด เช่น
- กระดานซ้อนตอก
- กระดานปักหมุด
- ลูกปัดเม็ดโต ๆ ใช้เชือกและเข็มไม้ร้อยได้
- กรอบผ้าฝึกติดกระดุม รูดซิบ ผูกโบว์ ผูกเชือก
- ขวดและอ่างใส่น้ำไว้กรอกไส่ขวด
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก ทักษะการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน
6.7 ของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อเล็กใหญ่ ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็ก กำ บีบ เขย่า เคาะ ตี เตะ ดึง ลาก จูง ไถ โยน ผลัก เลื่อน เช่น
- ของเล่นที่ใช้ตี เช่น กลองแบบต่างๆ
- เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะ/เขย่า
- ลูกบอลขนาดใหญ่แต่เบา และขนาดกลาง
- ถุงถั่ว ถุงทราย
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนา กล้ามเนื้อ นิ้ว มือ แขน ขา ลำตัวให้แข็งแรง หยิบจับสิ่งต่างๆ ได้มั่นคง และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ฝึกการฟังเสียง และการเคลื่อนไหวตามจังหวะ
6.8 ของเล่นที่ให้เล่นเลียนแบบและสมมติตามจินตนาการเช่น
- ของเล่นจำลอง เช่น เมือง ฟาร์ม หมู่บ้าน บ้าน ทหาร สวนสัตว์ เครื่องเรือน เครื่องครัว และของใช้ต่างๆ
- ชุดเสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้ เช่น เครื่องแบบ ทหาร ตำรวจ หมอ นางพยาบาล ลูกเสือ กระเป๋า รองเท้า เครื่องแต่หน้าที่ใช้ หมดแล้ว
- ตุ๊กตาและหุ่น
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนาการ รับรู้ ความคิดฝันและเลียนแบบจากของจริง ทำให้เด็กรู้จักปรับสิ่งใหม่ให้เข้ากับสิ่งที่คุ้นเคย หรือรู้จักแล้ว คิดและเข้าใจตามที่เป็นจริง
6.9 ของเล่นที่ให้เล่นสร้างและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เช่น
- พลาสติกสร้างสรรค์/กล่องไหวพริบ
- ไม้บล๊อกขนาดและรูปทรงต่างๆ
- กล่องกระดาษขนาดต่างๆ
- วัสดุที่ใช้ในการวาดภาพ ระบายสี เช่น กระดาษ ดินสอสี สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ พู่กัน
- วัสดุที่ใช้ในการปั้น เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน
- วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ เช่น กรรไกร แป้งเปียก กระดาษ ใบไม้ เศษผ้า ถุงกระดาษมีก้นกว้างๆ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก การสร้างตามโครงร่างที่กำหนดให้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่เด็กสนใจทำ ให้เด็กได้
ทดลองด้วยตนเองแบบลองผิดลองถูก เข้าใจ ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ คิดอย่างมีเหตุผล และรู้จักกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ
โดยไม่มีใครสอนรวมทั้งถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ใน ความคิดออกมาเป็นรูปที่มองเห็น ได้
6.10 ของเล่นที่ส่งเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับโครงสร้างกลไกของเล่น เช่น
- ของเล่นที่เคลื่อนที่ได้ด้วยแรงลมไขลาน ใช้แบตตารี่ และมีเครื่องบังคับต่างๆ อาจมีไฟและเสียงด้วย
- ของเล่นลอยน้ำแบบต่างๆ ทำด้วยยาง
- ลูกโป่ง
- เครื่องชั่งน้ำหนักแบบง่ายๆ
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ส่ง เสริมความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กอยากรู้ อยากเห็นและสนใจสร้างสิ่งใหม่ ๆ รู้จักโครงสร้างและการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ
6.11 ของเล่นที่ฝึกการแก้ปัญหาและกล้าแสดงออก ซึ่งเป็นของเล่นในการเล่นเกมต่างๆ เช่น
- เสือตกถัง
- หมากฮอส
- หมากเก็บ
- อีตัก
ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึก ความกล้าเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่ รู้จักสำรวจและทดลอง เข้าใจปัญหาได้รวดเร็ว รู้จักคิดตัดสินใจ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และฝึกการใช้ ประสาทด้านต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
5 Tricks for learning time
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2011 เวลา 22:53 น. »
5 Tricks for learning time
http://www.cheesytoy.com/store/article/view/5_Tricks_for_learning_time-73903-th.html


หนูน้อยเรียนรู้เรื่องเวลาผ่านกิจวัตรประจำวันที่เป็นเวลา เรียนรู้เวลาผ่านกิจวัตร=ทำกิจวัตรให้เป็นเวลา

 
คุณแม่สามารถสอนลูกให้เรียนรู้เรื่องเวลาได้ง่ายๆ โดยการใช้กิจวัตรประจำวันของลูก อาทิ เข้านอน ตื่นนอน รับประทานอาหาร ฯลฯ ตั้งแต่เช้า สาย บ่าย เย็น มาปรับสอนให้ลูกเข้าใจความสำคัญของการทำอะไรให้เป็นเวลา ถ้าทำเป็นประจำทุกวันลูกจะค่อยๆ เข้าใจ โดยไม่ต้องพร่ำสอน เมื่อลองทำตามสมการข้างต้นแล้วล่ะก็ เราอาจได้เด็กที่มีระเบียบวินัยแถมมาอีกคนเลยด้วย

ความแตกต่างของเวลา 
คุณแม่อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืน โดยใช้ตัวอย่างง่ายๆ จากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก เช่น "ตอนกลางวันสว่างและร้อนกว่าตอนกลางคืน" "พระอาทิตย์จะขึ้นตอนกลางวัน ส่วนพระจันทร์ขึ้นตอนกลางคืน" "ตอนเช้าพ่อต้องไปทำงาน ถ้าเย็นแล้วพ่อก็จะกลับบ้าน" เป็นต้น ซึ่งเมื่อเด็กสามารถแยกแยะความต่างของกลางวันกับกลางคืนได้ ก็จะช่วยให้เด็กเข้าใจเรื่องเวลาและเชื่อมโยงกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
 
สอนเรื่องเข็มนาฬิกา
นาฬิกาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นตัวช่วยให้ลูกเข้าใจเรื่องเวลาง่ายขึ้น เช่น "ลูกเข้านอนตอนเข็มสั้นชี้ตรงที่เลข 8 นะ" "ลูกอาบน้ำตอนนาฬิกาชี้ที่เลข 7 นะคะ จะได้ไปโรงเรียนทัน" "เข็มสั้นกับเข็มยาวชี้ไปที่เลข 12 แล้วได้เวลากินข้าวกลางวันแล้วล่ะ" นอกจากนี้ทุกครั้งที่จะเรียกหรือชวนให้ลูกทำอะไร คุณแม่ยังควรระบุเวลาพร้อมกับชี้ไปที่นาฬิกาทุกครั้ง เพื่อให้ลูกเคยชินกับการดูนาฬิกาค่ะ

รู้ลำดับก่อนหลัง 
คุณแม่ยังสามารถเชื่อมโยงลำดับเวลาของวันได้เพื่อให้ลูกเรียนรู้การลำดับกิจกรรมที่ตัวเองทำก่อนหลัง เช่น "ลูกอาบน้ำแล้วแต่งตัว กินข้าว แล้วถึงได้ไปเล่นกับเพื่อนนะ" ที่สำคัญคือคุณแม่ต้องทำกิจวัตรให้เป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อที่ลูกจะได้จดจำภารกิจและเวลาของตัวเองได้ 

ข้อดี-เสีย ของเวลา 
ชี้ให้ลูกเห็นถึงความสำคัญของการตรงเวลา และย้ำถึงข้อดีการตื่นเช้าว่าจะทำให้มีเวลาทำสิ่งต่างๆ ได้มากมายในแต่ละวัน และไม่พลาดนัดสำคัญต่างๆ ด้วย "เจ้าสัตว์ตัวน้อยใหญ่ของป่าสายรุ้งตื่นแต่เช้าไปเก็บผลไม้ จึงได้ผลไม้ไว้เก็บกินกันมากมายตลอดทั้งวัน แต่เจ้ากระต่ายน้อยน่ะสิ ตื่นสายและชักช้าโอ้เอ้อยู่ กว่าจะไปเก็บผลไม้ก็ใกล้เที่ยงแล้ว เมื่อไปเก็บผลไม้ก็พบว่าผลไม้หมดแล้ว เจ้ากระต่ายจึงไม่มีอาหารกินในวันนั้น" แล้วบอกเด็กๆ ด้วยนะคะว่า นี่คือผลของการตื่นสาย และไม่รักษาเวลา ส่งผลให้เจ้ากระต่ายน้อยต้องทนหิวไม่มีอาหารกินเพราะตัวเองขี้เกียจนอนตื่นสายนั่นเอง

กำหนดเวลาให้แน่นอน 
เราควรกำหนดเวลาในกิจกรรมต่างๆ ให้แน่นอนด้วยค่ะ เช่น "เวลาเล่นของลูกคือ 2 ชั่วโมงก่อนกินข้าว เข็มยาวจะชี้จากเลข 7 ถึงเลข 9 นะคะ" บอกลูกให้ดูที่เข็มนาฬิกาตอนเริ่มเล่น พอถึงเวลาจริง คุณแม่ก็ควรเก็บของเล่นทันที ลูกจะได้เรียนรู้เรื่องเวลาไปพร้อมๆ กับรู้ว่าเวลาเล่นคือกี่โมง และเลิกเล่นกี่โมง เล่นเสร็จแล้วต้องไปทำอะไรต่อ เป็นการสร้างกติการ่วมกันในครอบครัวอีกด้วย
 


เวลา > นาฬิกาบอกเวลา


หากคุณพ่อคุณแม่ละเลยหรือตามใจยอมให้เจ้าหนูตื่น กินข้าวหรือนอนไม่เป็นเวลา เป็นการบ่มเพาะนิสัยเรื่อยเปื่อย ไม่รักษาเวลา ทำตามใจตัวเอง ฝึกลูกทำกิจวัตรประจำวันของตัวเองให้เป็นเวลาจนเคยชิน จะทำให้ลูกรู้โดยอัตโนมัติว่า เวลานี้ควรทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นช่วงเปิดเทอม ปิดเทอม หรือวันหยุด ถือเป็นการปูพื้นฐานการสร้างวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองด้วยค่ะ


เรื่องเวลา ชวนสนุก
Let's play
มาประดิษฐ์นาฬิกาของเล่นกันเถอะ โดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่หาง่ายในบ้าน เช่นจานกระดาษ ตัดตัวเลขจากปฏิทินมาทำเป็นตัวเลข ให้คล้ายกับนาฬิกาที่แขวนอยู่บนฝาบ้าน ลูกๆ จะได้ลองหมุนเข็มนาฬิกาเล่นได้ แต่ถ้าทำไม่ไหว นาฬิกาที่เป็นของเล่นก็ยังพอมีวางขายอยู่นะคะ
 
Let's reading
นิทานช่วยให้ลูกเข้าใจเรื่องเวลามากขึ้นค่ะ ลองเลือกนิทานที่ใช้สอนเรื่องของเวลามาเล่าให้ลูกฟังบ้าง ระหว่างเล่าคุณแม่ยังสามารถหมุนเข็มนาฬิกาให้ลูกเข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้แล้วคุณแม่ยังสามารถแต่งนิทานขึ้นมาเองก็ได้ เจ้าหนูจะได้เรียนรู้เรื่องเวลาแล้วยังสนุกสนานกับกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน
 
Let's sing a song
ปัจจุบันยังมีเพลงสำหรับเด็ก ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเพราะๆ มากมายมาเปิดให้ลูกฟังก็ได้ เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้ไปด้วยจากการฟัง หรือจะช่วยกันแต่งเพลงร้องกันเองภายในครอบครัวก็ได้ค่ะ

นอกจากความรู้และความสนุกสนานที่เด็กๆ จะได้จาก "เวลา" แล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามก็คือการเป็นตัวอย่างของการเห็น "ค่า" ของเวลาและความ "ตรงต่อเวลา" ที่เด็กจะซึมซับรับจากคุณไปอยู่ตลอดด้วยค่ะ
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
มาเล่นกับลูกน้อยกันเถอะ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2011 เวลา 22:54 น. »
มาเล่นกับลูกน้อยกันเถอะ

        การเล่นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยอย่างมากถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของลูกน้อยในอนาคต   

        ถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูได้เข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกน้อยจะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถนำประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ   

        การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกน้อยเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดจนทำให้ลูกน้อยได้เรียนรู้ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทอีกด้วย 

ทำไมพ่อแม่จึงควรเล่นกับลูก

   1.   เสริมสร้างความสนใจและคงสมาธิ 
   2.   เสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ที่บกพร่อง
   3.   เสริมสร้างปฏิกิริยาการรับรู้และการตอบสนอง
   4.   ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
   5.   ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
   6.   ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์
   7.   ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
   8.   ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน การผลัดเปลี่ยน การช่วยเหลือ การอดทนต่อการรอคอย ความยืดหยุ่น
   9.   ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ
   10.   ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี
   11.   ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศและบทบาทสมมติ

        การเลือกของเล่นให้เหมาะกับความสามารถของเด็กในแต่ละวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กเป็นอย่างมาก พ่อแม่หรือผู้ดูแลจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกสรรของเล่นและจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อเด็กให้เกิดศักยภาพในการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ความเหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก ความสนใจของเด็ก ความสะอาด ความเหมาะสมของราคา และวิธีการเล่น 

อุปกรณ์ของเล่นและเกมต่างๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัย 0-1 ปี
      วัสดุอุปกรณ์/เกมประโยชน์

   1.   วงแหวนที่มีลักษณะพื้นผิวแตกต่างกันอาจเป็นพลาสติกแข็ง ยางนิ่ม หรือผ้า (อายุ 3-8 เดือน)
   2.   โมบายพวงวัสดุที่เป็นรูปสัตว์หรือดอกไม้ที่มีสีสันสดใส    แขวนไว้ที่หัวเตียงหรือเปลซึ่งอาจมีเสียงดนตรีประกอบ (อายุ 3-5 เดือน)
   3.   ตุ๊กตายางผิวหยาบหรือนิ่มอาจทำจากผ้าหรือพลาสติกยางซึ่งอาจบีบมีเสียงหรือไม่มี (อายุ 4-12 เดือน)
   4.   เครื่องเขย่าให้เกิดเสียงได้แก่ กรุ๋งกริ๋ง กระดิ่ง ซึ่งอาจมีขนาดและน้ำหนักที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน (อายุ 3-12 เดือน)
   5.   กระจกเงา (อายุ 4-12 เดือน)
   6.   ของเล่นไขลาน เช่น ลูกเป็ด ลูกไก่ และอื่นๆ ซึ่งอาจมีเสียงดนตรีประกอบขณะที่ของเล่นไขลานเคลื่อนไหว
   7.   วัสดุรูปทรงเรขาคณิต อาจเป็นผ้า กล่องสีต่างๆ ก้อนไม้ หรือก้อนพลาสติกที่มีขนาดต่างกัน
   8.   หมุดหรือไม้สี ซึ่งมีขนาดใหญ่ อาจทำด้วยไม้หรือพลาสติกพร้อมกระดานมีรู 
   9.   เกมจ๊ะเอ๋ (อายุ 7 เดือน - 1 ปี)
   10.   เกมปูไต่
   11.   เกมจับปูดำ (อายุ 9-12 เดือน)
   12.   เกมตบมือเปาะแปะ (อายุ 9-12 เดือน)
   13.   เกมค้นหาของเล่น
   14.   กระบะทราย/ข้าวสารย้อมสีหรือเม็ดถั่วต่างๆ

        เด็กวัยนี้มักนำของเล่นเข้าปาก ใช้ปากในการดูด อม เลีย ใช้เหงือกย้ำ กัดเล่น เพื่อฝึกความแข็งแรงของเหงือก และยังอาจสามารถลดอาการเจ็บขณะที่ฟันของเด็กวัยนี้กำลังขึ้นได้ โดยนำวงแหวนพลาสติกยางไปแช่ตู้เย็น ความเย็นจากยางจะลดอาการเจ็บได้ขณะที่เด็กกัดเล่นเพื่อฝึกการใช้สายตาในการมองวัตถุขณะเคลื่อนไหว ขณะที่เด็กนอนเล่นอยู่บนเตียง แขวนโมบายอยู่เหนือศีรษะเด็ก เพื่อให้เด็กได้ใช้สายตามองดูขณะของเล่นแกว่งไปมา เด็กจะสนใจมองดูการเคลื่อนไหวของวัตถุ และยังสามารถฝึกการฟังเสียงดนตรีของเครื่องเล่นอีกด้วยเพื่อฝึกคว้าจับและสัมผัส โดยใช้ของเล่นที่มีพื้นผิวสัมผัสที่ต่างกัน เด็กวัยนี้ชอบจับสัมผัส ลูบ คลำ บีบเล่น โยนเล่น กลิ้งเล่น และฝึกการฟังเสียงต่างๆ กันของของเล่นขณะบีบ เขย่า เคาะ ตลอดทั้งฝึกจับของเล่นเปลี่ยนมือได้อีกด้วย เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือในการจับและคว้าของเล่น ฝึกการฟังเสียงของของเล่นที่มีความแตกต่างกัน เด็กวัยนี้ชอบคว้า จับ เขย่า เคาะของเล่นเพื่อให้เกิดเสียงต่างๆ รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้เด็กได้สนใจมอง ขณะที่เด็กมีกิจกรรมในการจับเขย่าและเคาะเล่นอีกด้วยเพื่อฝึกการมองและการสังเกต การเคลื่อนไหวของหน้าตา และท่าทางขณะมองเล่นเด็กวัยนี้มักชอบมองเงาตัวเองและสิ่งอื่นๆ ในกระจกเด็กสนใจและมองตามการเคลื่อนไหวของของเล่นเหล่านั้น ตลอดทั้งกระตุ้นให้เด็กเกิดการเคลื่อนไหวตัวเองอีกด้วย เช่น เด็กอาจจะคืบ คลาน เกาะเดิน เหนี่ยวตัวลุกยืน เกาะยืน เพื่อให้ได้ของเล่นเหล่านั้นเพื่อฝึกการสังเกตรูปร่าง รูปทรง และจับกำ ซึ่งภายในกล่องสีต่างๆ อาจใส่เม็ดถั่วเม็ดพลาสติกไว้ข้างในได้ เมื่อเด็กเขย่าเคาะแล้วเกิดเสียงเพื่อกระตุ้นการฟัง และความสนใจของเด็กในขณะเล่นของเล่นมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างเสริมสร้างการใช้ปลายนิ้ว ในการหยิบ หรือยัดนิ้วใส่ลงในรู หรือในช่องที่เจาะไว้บนกล่อง เด็กวัยนี้เริ่มใช้ปลายนิ้วหยิบ หรือใช้นิ้วยัดใส่รูหรือช่องที่เจาะไว้ เกมนี้เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการค้นหาวัตถุที่หายไป ตลอดทั้งฝึกความสนใจ สมาธิในการฟังจังหวะของเสียง และยังเป็นการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ด้วย โดยผู้ใหญ่อาจใช้มือ ผ้า หรือกระดาษปิดหน้าตัวเอง หรือปิดหน้าเด็ก และเมื่อเปิดมือ ผ้า หรือกระดาษออก พร้อมกับพูดคำว่า ?จ๊ะเอ๋? ซึ่งน้ำเสียงที่ใช้ควรจะเร้าอารมณ์เด็กให้เกิดความสนุกสนานด้วย ซึ่งเด็กจะมองหาหน้าผู้ใหญ่ที่หายไปในขณะเล่นเกมนี้เพื่อฝึกให้เด็กได้รับการฟังเสียง ฝึกความสนใจ มีการจับจ้องมองหน้าแม่ ตลอดทั้งได้รับรู้ถึงการสัมผัสจากวัตถุที่มีความแตกต่างกันของพื้นผิว สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก รวมถึงพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีของเด็กด้วย โดยผู้ใหญ่ใช้ปลายนิ้วหรือของเล่นหรือวัสดุที่มีพื้นผิวต่างๆ กัน เช่น ผ้า ฟองน้ำ ตุ๊กตายางไล้ไปบนผิวเด็กในทุกจุดของร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ขณะเล่นเกมผู้ใหญ่ควรพูดคุย หัวเราะ และยิ้ม สร้างบรรยากาศให้เด็กสนุกสนานไปด้วย ตลอดทั้งจุดต่างๆ ที่ลูบไล้หรือสัมผัสไปบนผิวเด็กควรบอกให้เด็กได้รับรู้ด้วย เช่น ?แม่กำลังลูบไล้มือของลูกนะ? อาจร้องเพลงขณะเล่นปูไต่ด้วยก็ได้เกมนี้เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือในการเปิด-ปิดมือหรือกำ-แบมือ ตลอดทั้งเด็กเริ่มสามารถเลียนแบบท่าทางกำมือ-แบมือจากพ่อแม่ในขณะเล่นเกมนี้ โดยขณะเล่นผู้ใหญ่ควรร้องเพลง ?จับปูดำ ขยำปูนา จับปูม้า คว้าปูทะเล? ร่วมด้วย เด็กจะเกิดความสนุกสนานและสร้างเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกด้วย รวมทั้งเป็นการฝึกการฟัง ความสนใจ และสมาธิให้กับเด็กอีกด้วยเกมนี้เพื่อฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อมือทั้งสองข้าง และเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในขณะเล่นด้วย ตลอดทั้งให้เด็กฝึกฟังจังหวะในขณะตบมือและเพิ่มความสนุกสนานให้กับเด็กอีกด้วย โดยผู้ใหญ่จับมือเด็กมาตบมือกันหรือเด็กตบมือเอง เมื่อผู้ใหญ่กระตุ้นให้เด็กทำตาม อาจใช้คำกลอน หรือเพลงที่เกี่ยวข้องกับการตบมือมาประกอบด้วยก็ได้ เช่น คำกลอน ?ตบมือเปาะแปะ เรียกแพะมากินนม นมไม่หวานเอาน้ำตาลมาใส่? หรือเพลงตบมือ ?เรามาตบมือกันดีกว่า (3 ครั้ง) แล้วเราชวนกันร้องเพลง?

        เกมนี้เพื่อฝึกให้เด็กได้รู้จักใช้ความคิดในการแก้ปัญหาอย่างง่าย ในการค้นหาของเล่น ซึ่งผู้ใหญ่อาจช่วยชี้แนะได้บ้าง เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกถึงความสำเร็จในการทำงาน ตลอดทั้งเด็กได้รับการฝึกประสบการณ์เรื่องการคงอยู่ของวัตถุ โดยผู้ใหญ่ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดของเล่นในขณะที่เด็กเล่นอยู่ อาจจะปิดบางส่วนหรือปิดทั้งหมดของของเล่นก็ได้ ซึ่งเด็กจะพยายามค้นหาของเล่นโดยการดึงผ้าหรือกระดาษออกเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทางการจับ หยิบ ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กโดยการใช้ปลายนิ้วหยิบจับวัตถุที่มีขนาดต่างๆ กัน ตลอดทั้งเพิ่มพูนทักษะการประสานงานระหว่างมือและตารวมทั้งฝึกทักษะทางสังคม รู้จักมีการให้และรับ สร้างลักษณะนิสัยที่ดีและเหมาะสม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานทางอารมณ์ที่ดีอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถฝึกได้ตั้งแต่ยังเด็ก โดยการนำทรายหรือข้าวสารย้อมสีหรือเม็ดถั่วต่างๆ ใส่กระบะ และใช้อุปกรณ์การเล่นทราย หรืออาจประยุกต์ใช้อุปกรณ์ในครัวเรือน เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ มาร่วมในเกมนี้อุปกรณ์ของเล่นและเกมส์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัย 1-3 ปี   

      วัสดุอุปกรณ์/เกม   ประโยชน์ 
   1.   บล็อกขนาดต่างๆ ประมาณ  5-6 ชิ้น อาจทำด้วยไม้    พลาสติก หรือกระดาษแข็ง หรือเครื่องเล่น เลโก้ หรือ   อาจใช้กล่องสบู่ กล่องนม   แทน ซึ่งสามารถวางต่อกัน หรือวางซ้อนกัน
   2.   กระดาน ค้อนตอก อาจทำด้วยไม้หรือพลาสติก
   3.   ของเล่นเป็นชิ้นที่มีขนาดต่างๆ กัน ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ยาวบ้าง สั้นบ้าง อาจทำด้วยไม้หรือพลาสติก
   4.   ของเล่นที่ทำให้เกิดเสียง เช่น กล่องดนตรี ของเล่นที่จับเขย่า เคาะมีเสียง หรือเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด
   5.   บอลผ้า ลูกบอลพลาสติกยาง หรือแป้นหลักใส่ห่วง
   6.   ของลากจูง เช่น สัตว์ต่างๆ รถ เรือ รถไฟ มีเชือกร้อยให้เด็กลากจูง
   7.   อุปกรณ์เล่นทราย เช่น พลั่ว ช้อน ถังพลาสติก ใช้เล่นกับทราย ข้าวสารย้อมสี หรือเม็ดถั่วต่างๆ
   8.   หนังสือรูปภาพ อาจทำด้วยกระดาษแข็งอย่างดี ผ้า หรือพลาสติกรวมทั้ง โปสเตอร์ภาพสัตว์ต่างๆ และอื่นๆ
   9.   ภาพตัดต่อ (จิ๊กซอว์) ควรมีจำนวน 3-6 ชิ้น อาจทำด้วยพลาสติก ไม้ กระดาษแข็งอย่างดี
   10.    สีเทียน สีเมจิกแท่งใหญ่ ขีดเขียนบนกระดานหรือกระดาษ
   11.    ของเล่นที่เมื่อกดแล้วจะขึ้นมาเป็นรูปสัตว์หรือรูปต่างๆ  และอาจมีเสียงประกอบด้วยก็ได้
   12.    เกมวาดรูปจากนิ้วมืออาจใช้สีน้ำ สีโปสเตอร์ หรือกาวน้ำ/แป้งเปียกผสมสี
   13.    เกมจำจี้มะเขือเปราะ

        เพื่อฝึกทักษะการจับวาง การวางซ้อน การวางเรียง ฝึกทักษะการใช้มือและตาประสานกัน ฝึกการกะระยะ ฝึกการสังเกต ฝึกความคิดเปรียบเทียบขนาดต่างๆ ของวัตถุเพื่อฝึกทักษะการใช้มือ ข้อมือ และท่อนแขน ตลอดทั้งการทำงานประสานงานกันระหว่างมือกับตา ฝึกการกะระยะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ถึงการใช้อุปกรณ์ของเล่นในการตอก

        เพื่อฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อ มือ สังเกตรูปร่างและขนาด และรู้จักการเรียงขนาดเป็นระบบ เช่น เรียงตามลำดับจากเล็กไปใหญ่  หรือจากสั้นไปยาว  โดยเด็กสามารถเรียนรู้การ จัดวางรูป ขนาดเป็นชั้นต่างๆ อย่างเหมาะสม

        เพื่อฝึกความสนใจฟังเสียงต่างๆ จากเครื่องดนตรีและสนุกสนาน ฝึกสมาธิและความสนใจ ตลอดทั้งฝึกการใช้มือ นิ้วมือ ในการกด เคาะ หรือตี

        เพื่อฝึกการกะระยะใช้สายตาประสานกับ มือ-แขน  ในการโยน กลิ้งปา ลงเป้าหมาย (อาจเป็นบุคคลหรือตะกร้าหรือลัง) ได้คล่องแคล่ว แม่นยำ

        เพื่อฝึกความคล่องแคล่วของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเดินหรือวิ่งลากจูงของเล่นไปมา  อาจจะเคลื่อนไหวช้าหรือเร็ว แล้วแต่ความสามารถและความสนใจของเด็กแต่ละคนเพื่อฝึกการใช้มือ นิ้วมือ แขน และการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา ตลอดทั้งทักษะ ทางสังคมในการแบ่งปัน การให้-รับระหว่างบุคคลอื่น อาจดัดแปลงใช้กับอุปกรณ์ในครัวเรือนได้ เช่น ช้อน จาน ถ้วยเพื่อฝึกการใช้มือ นิ้วมือ ข้อมือ ในการพลิกหน้าหนังสือและใช้นิ้วชี้รูปภาพต่างๆ ตลอดทั้งทักษะด้านความเข้าใจภาษาและการพูด

        เพื่อฝึกให้เด็กสังเกต เปรียบเทียบ ฝึกการคิดแบบบูรณาการ (ภาพรวม) ฝึกการจำ โดยการนำชิ้นส่วนของภาพมาต่อเรียงกัน เพื่อเกิดภาพได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ เสริมสร้างความรู้สึกทีดีต่อตัวเอง

        เพื่อใช้ขีดเขียนในลักษณะที่ไม่เป็นรูปร่างใดๆ ทั้งสิ้นเด็กจะขีดเขียนเองและสร้างสรรค์จินตนาการของตัวเอง โดยเด็กเริ่มจับดินสอในลักษณะของมือกำ ต่อมาจึงจับในลักษณะ ของการใช้นิ้วมือได้ในที่สุด และเริ่มเขียนแบบมีรูปร่างทางเรขาคณิตมากขึ้นคือ ขีดเส้นตรง และวงกลม เพื่อฝึกทักษะการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อนิ้วมือ ข้อมือ และท่อนแขน ตลอดทั้งฝึกการคิดจินตนาการต่างๆเพื่อฝึกการทำงานของนิ้วมือ มือ ในการกด หมุน บิด ดึง ตลอดทั้งสร้างเสริมทักษะของพัฒนาการทางภาษาในด้านความเข้าใจและการพูด รวมทั้งสร้างความสนใจและสร้างสมาธิ เกมนี้เพื่อกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้แก่ นิ้วมือ มือ ตลอดจนการประสานงานของตาและมือ สามารถกระตุ้นความสนใจ สร้างสมาธิในขณะทำกิจกรรมและฝึกงานด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยให้เด็กใช้นิ้วหรือมือในการละเลงสีน้ำ สีโปสเตอร์ สีแป้งเปียก ลงบนกระดาษหรือกระดาน

        เพื่อฝึกการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ โดยผู้ใหญ่หรือเด็กจะเป็นผู้นำเกม ใช้นิ้วจิ้มลงบนนิ้วมือของผู้เล่นทีละนิ้ว พร้อมกับร้องเพลง ?จ้ำจี้มะเขือเปราะ? เป็นการฝึกการฟัง สร้างความสนใจ และการมีสมาธิในการเล่นกิจกรรม ตลอดทั้งได้รับการเสริมทักษะพัฒนาการด้านภาษาและรู้จักกติกาอย่างง่ายในการเล่น
   
        การเล่นของเด็กควรอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ตลอดเวลา แต่เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองทำและเรียนรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ฝึกความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้ชี้แนะหรือให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความรู้สึกของเด็กให้ดี รู้ว่าตนเองมีคุณค่า ซึ่งจะสามารถพัฒนาให้เกิดความมั่นใจ และมีบุคลิกภาพที่ดีต่อไปในอนาคต นอกจากนี้เด็กยังมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบลองผิดลองถูก และต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่แปลกใหม่ด้วยตัวเอง ตลอดทั้งยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ชอบให้ใครมาสั่งหรือบังคับ จึงอาจแสดงออกโดยการต่อต้าน เช่น ขัดใจลงไปนอนดิ้น ร้องกวนอาละวาด หากพ่อแม่หรือผู้ดูแลรู้จักหลอกล่อหรือเบี่ยงเบนความสนใจก็จะลดพฤติกรรมเหล่านั้นได้ 

อ้างอิงจาก
http://www.chulakid.com/forum/index.php?topic=142.0
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
มาทำแป้งโดว์เล่นกันเถอะ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2011 เวลา 23:02 น. »
สู้สู้

ออฟไลน์ แกมแม่เนย

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 371
Re: มาแนะนำของเล่นกระตุ้นพัฒนการเด็กกันครับ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2011 เวลา 20:35 น. »
การพัฒนากล้ามเนื้อมือของน้องเนย .. แกมใช้วิธีปลูกผักค่ะ

ทำแปลงผักอะไรก็ได้ แกมเลือกผักบุ้ง ปลูกง่าย ขึ้นเร็วดี ให้เค้ามีส่วนร่วมในการปลูก ช่วยจิ้มเมล็ดลงดินก็ยังดี แล้วให้เค้ามีหน้าที่รดน้ำทุกวัน โดยหาขวดน้ำเปล่าที่นิ่มหน่อย เอาแบบบีบได้ง่าย เอาเข็มมาเจาะฝาให้เป็นรูเล็กๆ แค่นี้เองค่า

ให้เค้ารดน้ำผักทุกวันเช้า-เย็น ให้กรอกน้ำใส่ขวดแล้วก็บีบขวดน้ำลงแปลง ... ประหยัดมากๆ  ;D ;D ;D
<ปัจจุบันรักษาโดยการผ่าตัด ทุเลาแต่ยังไม่หายขาด>

โอม ศรี คเณศายะ นะมะ ฮา
ขอบารมีองค์พ่อพิฆเนศ โปรดคุ้มครองเด็กๆ ทุกคนในเว็บลมชักคลับ ให้มีอาการดีขึ้นตามลำดับด้วยเถิด

 


Powered by EzPortal