เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: การผ่าตัดโรคลมชักปลอดภัยแค่ไหน  (อ่าน 9886 ครั้ง)

ออฟไลน์ nongi

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 5
การผ่าตัดโรคลมชักปลอดภัยแค่ไหน
« เมื่อ: วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2010 เวลา 16:04 น. »
การผ่าตัดโรคลมชักปลอดภัยแค่ไหน เนื่องจากการผ่าตัดโรคลมชักต่างจากการผ่าตัดทางศัลยกรรมประสาทอื่นๆ เพราะว่าเป็นการผ่าตัดสมองหรือตัดกระแสไฟฟ้าในสมองที่ปกติซึ่งอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านพฤติกรรม ความคิด ดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องการการวินิจฉัยเพื่อหาข้างและตำแหน่งของสมองที่จะผ่าตัด ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นผู้ป่วยและญาติควรได้รับข้อมูลจากศัลยแพทย์ ในวารสาร Journal of neurosurgery เดือนมิถุนายน 2009ได้รายงานภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดโรคลมชักนี้
ในรายงานนี้เป็นการรวบรวมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดที่ Montreal Neurological Institute, Canada โดยเป็นการรวบรวมการผ่าตัดรักษาโรคลมชักโดยประสาทศัลยแพทย์ท่านเดียว (Andre Olivier) ตั้งแต่ค.ศ.1976-2006 โดยได้ทำการผ่าตัดผู้ป่วยทั้งหมด 491 รายที่ได้รับการใส่ขั้วไฟฟ้าในสมอง (invasive montiroing) โดยวิธี stereoEEG ทั้งสิ้น 6415 อิเลคโตรด และทำการผ่าตัดลมชัก 1905 รายรวม 2449 การผ่าตัด
ผลการศึกษาที่รวบรวมไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตเลย ในการใส่ขั้วไฟฟ้าในสมองมีการติดเชื้อ 1.8%, เลือดออกในสมอง 0.8% ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดมีความสัมพันธ์กับจำนวนอิเลคโตรดที่ใส่และจำนวนกลีบสมองที่ใส่ครอบคลุม โดยสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ความเสี่ยงมากที่สุดในการเกิดเลือดออก
ในการผ่าตัดลมชัก ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงเกิดขึ้น ส่วนมากเป็นภาวะแทรกซ้อนไม่รุนแรง โดยพบการติดเชื้อ 1%, เลือดออกในสมอง 0.7% ความเสี่ยงเกิดในรายที่ต้องทำการผ่าตัดโรคลมชักซ้ำ ผู้ป่วยอายุมาก อื่นๆที่พบได้แก่ มีไข้ เส้นเลือดดำที่ขาอุดตัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่มีเชื้อ
ส่วนภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทพบได้ 3.3% ที่พบบ่อยคือแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก (1.5%) โดยในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทและหายภายใน 1 ปีมี 2.7% ส่วนที่เป็นถาวรมี 0.5% พบมากเมื่อทำการตัดสมองหลายกลีบ (multilobar resections)> corpus callosotomy> extratemporal resections> temporal resections
ในรายงานนี้เป็นรายงานที่มาจากประสบการณ์ของศัลยแพทย์เพียง 1 ท่านทำให้รายผลการผ่าตัดไม่มีปัจจัยที่แตกต่างกันในด้านสถาบัน, ประสบการณ์ศัลยแพทย์มาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้เทคนิคการใส่ขั้วไฟฟ้าในสถาบันนี้นิยมการทำ stereoEEG ซึ่งต่างจากบางแห่งที่มักใส่แบบ subdural strip หรือ grid electrode แต่ก็มีภาวะเลือดออกน้อย แต่ในรายงานนี้ผู้ป่วยส่วนมากน่าจะเป็นผู้ใหญ่ และไม่มีการผ่าตัด hemispherectomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่น่าจะมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าการผ่าตัดโรคลมชักมีความเสี่ยงที่ต่ำโดยเฉพาะในมือศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์
ในประสบการณ์ผู้เขียนเว็บ จากการผ่าตัดโรคลมชักเกือบ 400 รายพบว่าไม่มีอัตราตายเช่นกัน ส่วนภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดและทางระบบประสาทก็พบว่ามีต่ำเช่นกัน การผ่าตัดโรคลมชักจึงมีประโยชน์และคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการรับประทานยากันชักเมื่อมีอาการดื้อยากันชัก
บทความนี้คัดลอกจากwww.thaiepilepsy.com/index.php?option=com_content&view=article&id=131:complications&catid=37:surgery&Itemid=55

ออฟไลน์ แกมแม่เนย

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 371
Re: การผ่าตัดโรคลมชักปลอดภัยแค่ไหน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 01 สิงหาคม 2010 เวลา 23:23 น. »
ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ ได้อ่านแล้วรู้สึกมีกำลังใจ และกังวลใจเกี่ยวกับการผ่าตัดน้อยลงค่ะ  ;)
<ปัจจุบันรักษาโดยการผ่าตัด ทุเลาแต่ยังไม่หายขาด>

โอม ศรี คเณศายะ นะมะ ฮา
ขอบารมีองค์พ่อพิฆเนศ โปรดคุ้มครองเด็กๆ ทุกคนในเว็บลมชักคลับ ให้มีอาการดีขึ้นตามลำดับด้วยเถิด

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
Re: การผ่าตัดโรคลมชักปลอดภัยแค่ไหน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2010 เวลา 11:51 น. »
ส่วนตัวเอง ไม่ได้ผ่าตัดค่ะ เพราะหาสาเหตุไม่เจอค่ะ

แต่เท่าที่คุยกับคนไข้ด้วยกันมา

ผ่าตัด ดีกว่าไม่ผ่าตัดค่ะ  น้อยมาก ที่จะเกิดปัญหา  เพราะแพทย์ต้องวินิจฉัยว่า สามารถผ่าได้มั้ย
หากผ่าแล้ว จุดที่มีปัญหา ใกล้กับเส้นประสาทมาก หมอไม่ผ่าค่ะ  เพราะผลเสียอาจจะตามมา

แต่หากคนไข้มีความเสี่ยง กับ อาการของโรคมากกว่า เช่น อาการมากๆ  อันตรายถึงชีวิต  หมอก็อาจจะผ่า (หรือแซงคิว ก็ยังได้ หากแพทย์วินิจฉัยแล้ว อาการของโรคมาก
เสี่ยงชีวิตมาก)

เป็นตามเคสค่ะ  ต้อง ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจค่ะ

เคยเจอะ คนนึง ผ่าแล้ว ปากเบี้ยว  ชา ถึงปลายนิ้วก้อย  แต่อาการดีขึ้น  หมอให้ทำกายภาพบำบัดแทน+ ยา
แต่หายชัก

แต่ถามว่าน่ากลัวไม่ ไม่ค่ะ  เพราะผ่าเป็นลักษณะ แผลเล็ก  ผู้ชาย อาจจะโกนหัว แต่ผู้หญิง ไม่ต้องโกนเลย
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

 


Powered by EzPortal