เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: ชักจากไข้สูง  (อ่าน 2381 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
ชักจากไข้สูง
« เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2012 เวลา 00:10 น. »

ชักจากไข้สูง

เป็นอาการชักที่พบได้ในเด็กที่กำลังมีไข้อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ พบได้ประมาณร้อยละ 2-5 ในเด็กอายุระหว่าง 5 เดือน ถึง 5 ขวบ โดยเฉพาะเด็กอายุระหว่าง 8-20 เดือน จะพบบ่อยที่สุด สำหรับโรคที่ทำให้เด็กมีไข้สูงจนอาจชักได้ ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ปอดอักเสบ ไข้ออกผื่น และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

เด็กจะเริ่มไม่สบายโดยอาจมีอาการน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายอุจจาระบ่อย ซึมลง มีไข้สูง และชัก ลักษณะที่ชักคือ ตัวจะแข็งเกร็ง มือเท้ากระตุก ตาเหลือกไปข้างใดข้างหนึ่ง กัดฟันแน่น น้ำลายฟูมปาก ไม่รู้สึกตัว อาจมีอาเจียน หรือถ่ายปัสสาวะ อุจจาระขณะที่กำลังชัก อาการชักจะนานไม่เกิน 15 นาที

ในรายที่ชักอยู่นาน ใบหน้า ริมฝีปาก และมือเท้าจะเขียวได้จากการขาดออกซิเจน ถ้ามีอาการเขียวเกิน 10 นาที ส่อเค้าว่า สมองอาจเริ่มมีอันตรายจากการขาดออกซิเจนแล้วควรรีบพาไปพบแพทย์ใกล้บ้านโดยเร็ว

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1.ลดอาการไข้ ทุกครั้งที่เด็กมีไข้ตัวร้อนจากสาเหตุใดก็ตาม จะต้องทำการลดไข้ โดยการพยายามให้ดื่มน้ำมาก ๆ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาจนเกินไป และทำการเช็ดตัวเพื่อช่วยให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง สำหรับวิธีการเช็ดตัว ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมดขณะเช็ดตัว ควรปิดพัดลม หรือปิดเครื่องปรับอากาศ ใช้ผ้าขนหนูขนาดเล็ก หรือฟองน้ำเช็ดตัว ชุบน้ำอุ่นหรือน้ำประปาให้ชุ่มพอควร แล้วเช็ดชโลมให้ทั่วตั้งแต่ใบหน้า ลำคอ ลำตัวทั้งแผ่นหน้าและแผ่นหลัง แขนและขา ทำซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง จนรู้สึกว่าผิวกายของเด็กเย็นลงแล้วจึงซับตัวให้แห้ง และใส่เสื้อผ้าหลวมสบายที่ไม่หนาจนเกินควร ถ้าอุณหภูมิร่างกายยังมากกว่า 3.75 องศาเซลเซียส ควรให้ยาลดไข้ด้วย
 
ยาลดไข้ มีทั้งชนิดรับประทาน และชนิดเหน็บทางทวาร
 
ยาชนิดรับประทานได้แก่ พาราเซตามอน, แอสไพริน เป็นต้น ขนาดของยาจะแตกต่างตามน้ำหนักตัวและอายุของเด็ก และควรให้ซ้ำ ทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้าไข้ยังไม่ลดในกรณีที่สงสัยว่า เด็กอาจเป็นอีสุกอีใสหรือไข้เลือดออก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ ทั้งนี้เนื่องจาก อาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
 
ยาลดไข้ชนิดเหน็บทางทวารมักจะเป็นยาแอสไพริน ซึ่งใช้ได้ผลดีในเด็กที่มีปัญหาในการรับประทานยา หรือเด็กกำลังหลับ หรือไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในเด็กที่มีอุจจาระร่วง เพราะอาจจะยิ่งทำให้เด็กถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นได้

2.การใช้ยากันชัก และการปฐมพยาบาลเด็กที่กำลังชัก เด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน เวลามีไข้สูงควรให้ยากันชักด้วย ซึ่งยากันชักมีทั้งชนิดรับประทาน ชนิดเหน็บทวาร และชนิดฉีด ในกรณีที่เด็กมีอาการชัก บิดามารดา หรือผู้ดูแลเด็ก ไม่ควรจะตกใจจนเกินไป ทั้งนี้เพื่อให้การปฐมพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ถ้ามีอาการอาเจียน ควรล้วงเอาเศษอาหารที่ค้างอยู่ในปากออกให้หมด ขณะเดียวกันก็ควรให้ยาลดไข้ ยากันชัก และทำการเช็ดตัวให้ด้วย โดยปกติเด็กจะชักไม่เกิน 15 นาที ซึ่งในระหว่างนี้ควรรีบนำเด็กไปพบแพทย์ หรือตรวจหาสาเหตุของไข้ และรับการรักษาต่อไป

3.พบแพทย์เพื่อรับการรักษา หลังจากที่ให้กินยาลดไข้มาตลอด 24-48 ชั่วโมงแล้ว อาการไข้ยังไม่ลด แม้ว่าเด็กจะไม่มีอาการชัก ก็ควรพาเด็กไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

เมื่อไรจึงจะพิจารณาให้ยากันชักเป็นประจำในเด็กที่ชักจากไข้สูง
 
เนื่องจากการใช้ยากันชักเป็นประจำในเด็กที่เคยชักจากไข้สูง อาจช่วยลดอุบัติการณ์ของการชักซ้ำได้ แต่จะไม่ป้องกันอาการชักได้แน่นอนตลอดไป นอกจากนี้ยากันชักที่ใช้ยังมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว ไม่มีสมาธิ เรียนหนังสือไม่ได้ และซุกซนจนผิดปกติ เป็นต้น
   
ดังนั้นกุมารแพทย์ที่ดูแลจะเป็นผู้ตัดสินใจในการให้เด็กกินยากันชักเป็นประจำ โดยพิจารณาตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น เด็กเริ่มชักครั้งแรกเมื่ออายุต่ำกว่า 12 เดือน มีประวัติชักในครอบครัว เด็กมีระบบประสาทและพัฒนาการที่ผิดปกติมาก่อน และระยะเวลาในการชักนานกว่า 15 นาที โดยอาจมีการกระตุกของแขนข้างใดข้างหนึ่ง และเมื่อหยุดชักแล้วยังมีอาการทางระบบประสาทผิดปกติอยู่ชั่วคราว เป็นต้น

เมื่อต้องกินยากันชักเป็นประจำก็ควรที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด และทุกครั้งที่เด็กมีอาการไข้ก็จะต้องพยายามลดไข้ตามมาตรการต่าง ๆ ร่วมด้วยเสมอ ยากันชักนี้ต้องกินติดต่อไปจนกว่าเด็กจะไม่ชักอีกเลยเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี หรืออายุเกิน 6 ขวบขึ้นไปสิ่งที่ควรรู้
 
การชักจากไข้สูงในเด็กปกติทั่วไป อาการจะไม่รุนแรง และแทบจะไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสมองหรือเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
 
ประมาณร้อยละ 40 ของเด็กที่เคยชัก อาจจะชักซ้ำได้อีกเมื่อมีอาการไข้ และประมาณครึ่งหนึ่งจะชักซ้ำภายในเวลา 6 เดือน หลังจากการชักครั้งแรก ไข้ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง ก็เป็นปัจจัยเสริมอย่างหนึ่งของการชักซ้ำได้
 
การปฐมพยาบาลที่บ้านจะต้องรวมถึงการลดไข้ การป้องกันการชัก การป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจ และการป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลในขณะที่คนไข้หมดสติ
 
ยากันชักมีทั้งคุณและโทษ ซึ่งอาจจะลดอัตราการเกิดการชักซ้ำได้ แต่ก็มีฤทธิ์ข้างเคียงด้วย
 
ควรพาเด็กไปพบแพทย์ ถ้ามีไข้ติดต่อกันเกิน 36 ชั่วโมง อาเจียนมาก และรุนแรง ปวดศีรษะ คอแข็ง มีผื่นขึ้นตามตัวและชักซ้ำ ๆ ในกรณีที่เด็กกินยากันชักเป็นประจำแล้วมีอาการซึมลงจนผิดปกติ อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวจนควบคุมไม่ได้ และมีผื่นขึ้นตามตัวก็ควรนำเด็กมาพบแพทย์เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากอาจมีอาการแพ้ยากันชักเกิดขึ้นได้

ข้อมูลจาก ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 / http://www.phyathai.com

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

 


Powered by EzPortal