เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: ข่าว : ตรวจสารพันธุกรรมป้องกันการแพ้ยากันชัก  (อ่าน 2738 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
ข่าว : ตรวจสารพันธุกรรมป้องกันการแพ้ยากันชัก
« เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 07 มิถุนายน 2012 เวลา 17:38 น. »
กรมวิทย์พัฒนาเทคนิตตรวจสารพันธุกรรมป้องกันการแพ้ยา
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2555 เวลา 16:03 น.
กรมวิทย์พัฒนาเทคนิคตรวจสารพันธุกรรมป้องกันการแพ้ยากันชัก ยาลดกรดยูริก และยาต้านไวรัส

วันนี้ (7 มิ.ย.)ที่โรงแรมริชมอนด์  นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข เป็นประธานแถลงข่าว ?การตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง? ว่า การแพ้ยาถือเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย แต่ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการรักษาของแพทย์ จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยแพ้ยารุนแรง ผิวหนังหลุดลอก พุพองทั่วร่างกาย 2,000-3,000 ราย ในจำนวนนี้บางรายถึงขั้นตาบอดและเกือบเสียชีวิต แม้ในรายที่อาการแพ้ไม่รุนแรง แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานมาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรม เพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง หรือที่เรียกว่า เภสัชพันธุศาสตร์ ที่เป็นการใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วยในการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน โดยได้เริ่มศึกษาการตรวจวิเคราะห์แพ้ยา 3 ชนิด ได้แก่ ยาคาร์บามาซีปีน ซึ่งเป็นยากันชัก ยาอัลโลพูรินอลซึ่งเป็นยาลดกรดยูริกในเลือด และยาอะบาคาเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสเอดส์ ที่มีผู้ใช้มากและมีอัตราการแพ้ยาสูง
 

นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า จากการวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาในชาวเอเชียและชาวไทย พบว่าพันธุกรรมเอชแอลเอบี 1502 อัลลีล เป็นปัจจัยเสี่ยงแพ้ยากันชัก พันธุกรรมเอชแอลเอบี 5801 อัลลีล เป็นปัจจัยเสี่ยงแพ้ยาลดกรดยูริกในเลือด และพันธุกรรมเอชแอลเอบี 5701 อัลลีล เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยในคนเอเชีย ดังนั้นการตรวจพันธุกรรมเหล่านี้จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการแพ้ยา เป็นการป้องกัน และสร้างความมั่นใจในการสั่งจ่ายยาให้กับแพทย์ ทำให้แพทย์สามารถเลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นแทนได้ ซึ่งขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 8 แห่งได้เปิดให้บริการตรวจเลือดหาพันธุกรรมดังกล่าวแล้ว
 

นพ.บุญชัย สมบูรณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า วิธีการตรวจสารพันธุกรรมจะใช้ตัวอย่างเลือดอย่างน้อย 1 มิลลิลิตร หรือใช้วิธีเก็บเซลล์จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม ใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ประมาณ 5 วันก็ทราบผล ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์เพียง 1,000 บาทต่อราย ถูกว่าการตรวจด้วยเทคนิคการตรวจที่นำเข้าจากต่างประเทศจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ 2-5 เท่า นอกจากนี้จะมีการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหายีนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาแก้วปวดประจำเดือน ยารักษาวัณโรค ยาปฏิชีวนะ ยารักษาเชื้อแบคทีเรีย ต่อไป
 

ด้าน นพ.สมชาย โตวณะบุตร นายกสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาการแพ้ยาโรคลมชัก พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้ต่ำ เมื่อเกิดการแพ้ยาป้องกันโรคลมชักแล้วจะไม่สามารถออกจากบ้านไปทำงานได้ส่งผลต่อการสูญเสียรายได้ ที่สำคัญคือหากไม่เสียชีวิตก็จะต้องพิการ ดังนั้นจึงถือเป็นโชคดีของคนไทยที่จะได้รับการตรวจหาสารพันธุกรรมก่อนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดจากการใช้ยาดังกล่าว ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ถึงปีละ 15 คน จากเดิมที่มีคนเสียชีวิตจากการแพ้ยาประมาณ 150 คนต่อปี.

ที่มา  : www.dailynews.co.th/society/118540

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Re: ข่าว : ตรวจสารพันธุกรรมป้องกันการแพ้ยากันชัก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 08 มิถุนายน 2012 เวลา 11:31 น. »
สธ.พัฒนาเทคนิคตรวจพันธุกรรมป้องกันการแพ้ยาลมชักสำเร็จ
วันพฤหัสบดี ที่ 07 มิ.ย. 2555


สธ.7 มิ.ย.-สธ.เปิดตัวการแพทย์แนวใหม่ พัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงจากยา 3 ชนิด คือ ยาลมชัก ยาลดกรดยูริก และยาต้านไวรัส ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างปลอดภัย ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดความเข้าใจผิดระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ พร้อมเปิดให้บริการตรวจแก่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ

นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานแถลงข่าว ?การตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง? ว่า จากการศึกษาหาลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาบางชนิดในชาวเอเชียและชาวไทย พบว่าพันธุกรรม HLA-B*1502 อัลลีล เป็นปัจจัยเสี่ยงในการแพ้ยากันชัก Carbamazepine และพันธุกรรม HLA-B*5801 อัลลีล เป็นปัจจัยเสี่ยงในการแพ้ยา Allopurinol ซึ่งเป็นยาลดกรดยูริกในเลือด และพันธุกรรม HLA-B*5701 อัลลีล เกี่ยวข้องกับการแพ้ยา Abacavir ที่เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าลักษณะทางพันธุกรรม HLA-B*1052 พบได้บ่อยในคนเอเชีย รวมทั้งคนไทยและคนจีน ในคนไทยสามารถพบลักษณะทางพันธุกรรมชนิด HLA-B*1502 อัลลีล ร้อยละ 15 และ HLA-B*5801 อัลลีล ร้อยละ 15 ส่วน HLA-B*5701 พบได้น้อยประมาณร้อยละ 1 ข้อมูลจากการสำรวจร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ยารุนแรงจากยาลมชัก 6,000-7,500 คน ทั้งนี้ แนวโน้มการใช้ยาดังกล่าวและยาลดกรดยูริกมีมากขึ้น ส่งผลให้คนไทยมีโอกาสแพ้ยารุนแรงเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

สำหรับอาการของผื่นแพ้ยาเป็นกลุ่มอาการที่รวมถึงภาวการณ์มีไข้และออกผื่น ซึ่งเกิดผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายในด้วย โดยทั่วไปจะเกิดหลังจากได้รับยามาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ส่วนอาการผื่นแพ้ยาแบบรุนแรง หรือ Severe Cutaneous Adverse Reaction นั้นจะรวมถึงกลุ่มอาการ Steven-Johnson Syndrome หรือ SJS และ Toxic Epidermal Necrolysis หรือ TENS ที่ผิวหนังมีอาการอักเสบรุนแรง เป็นแผลพุพองเหมือนโดนไฟไหม้ มีการหลุดลอกของผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ ทั้งเยื่อบุในช่องปาก ริมฝีปาก เยื่อบุทางเดินอาหารและเยื่อบุตา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสพิการและเสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 30

ดังนั้น เทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมที่กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้พัฒนาขึ้น เป็นวิธีการตรวจที่ผ่านการตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน มีความถูกต้อง แม่นยำ สูง ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้เปิดให้บริการตรวจแก่โรงพยาบาลแล้ว การตรวจสารพันธุกรรมให้ผู้ป่วยก่อนที่จะใช้ยาทั้งสามชนิด จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยประกอบให้แพทย์พิจารณาก่อนการสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงต่อผื่นแพ้ยาดังกล่าวให้แก่ผู้ป่วย หากผลตรวจบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นแทน เป็นการบริหารยารูปแบบใหม่ให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างปลอดภัย ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แพทย์และเภสัชกรในการรักษาผู้ป่วย

นพ.บุญชัย สมบูรณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า โครงการวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง เป็นวิธีการตรวจสารพันธุกรรมที่พัฒนาขึ้นบนเทคนิคพีซีอาร์ ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง ใช้ตัวอย่างเลือดที่เก็บในสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA อย่างน้อย 1 มิลลิลิตร หรือใช้วิธีเก็บเซลล์จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม ใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ประมาณ 5 วัน ก็ทราบผลแล้ว ซึ่งผลจากการพัฒนาเทคนิคการตรวจใหม่นี้ สามารถช่วยลดงบประมาณในการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงจำนวนมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์เพียง 1,000 บาท/ราย ซึ่งถูกว่าการตรวจด้วยเทคนิคการตรวจที่นำเข้าจากต่างประเทศจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ 2-5 เท่า.-สำนักข่าวไทย


ที่มา : www.mcot.net/cfcustom/cache_page/373969.html

 


Powered by EzPortal