เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: เด็กติดเกม  (อ่าน 1304 ครั้ง)

ออฟไลน์ Panita singpor

  • Full Member
  • *
  • กระทู้: 68
เด็กติดเกม
« เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2012 เวลา 09:56 น. »
เด็กติดเกม
 
เกมคืออะไร เด็กสมัยนี้เล่นเกมอะไรกันบ้าง ?
                เกม คือเครื่องเล่น ของเล่น หรืออุปกรณ์ การละเล่นต่างๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอด เกมที่เด็กและวัยรุ่นนิยมเล่นกันในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ตู้เกมหยอดเหรียญ วิดีโอเกม เกมคอมพิวเตอร์ทั้งแบบออนไลน์และไม่ออนไลน์ เป็นต้น

การเล่นเกมส่งผลต่อเด็กอย่างไรบ้าง ?
จริงๆแล้วการเล่นเกมอาจส่งผลดีได้หลายอย่าง เช่น ได้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน คลายเครียด ฝึกทักษะ สมาธิ การตัดสินใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ และการประสานกันระหว่างมือกับตา แต่ถ้าหากเด็กหมกมุ่นและใช้เวลาในการเล่นมากจนเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงตามมามากมายได้เช่นกัน แต่มีข้อเสียคือเด็กและวัยรุ่นจำนวนมาก ที่ติดเกมจะหมกมุ่นกับการเล่นเกมอย่างมากจนส่งผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบในการเรียน ผลการเรียนตกลง อดอาหารหรืออดนอนจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เลิกทำกิจกรรมอื่นๆที่เคยชอบ และอาจจะมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆตามมา เช่น ต้องพูดโกหก ขโมยเงิน หนีเรียน หนีออกจากบ้าน และการเล่นจนกลายเป็นพนัน เป็นต้น
เมื่อไรจึงจะถือว่าเด็กติดเกมแล้ว ?
                ปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ จึงยังไม่เกณฑ์วินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน เด็กที่ติดเกมมักมีพฤติกรรมคล้ายกับผู้ป่วยติดสารเสพติด และผู้ป่วยติดการพนัน คือ
?        มีความรู้สึกเพลิดเพลินใจในเวลาที่ได้เล่นเกม
?        มีความพึงพอใจเมื่อได้รับชัยชนะในการเล่นเกม และต้องการชัยชนะเพิ่มขึ้นอีกจึงจะได้ความพอใจเท่าเดิม
?        มักใช้เวลาในการเล่นเกมนานจนเกินกว่าที่ตั้งใจในการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วก็จะมีความต้องการเล่นในระดับที่สูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ จึงมีความต้องการใช้เวลาในการเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ
?        รู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย หรือมีอาการทางกายจากความเครียดเมื่อถูกขัดขวางไม่ให้เล่นเกม
?        มีการดิ้นรนหรือพยายามอย่างมากเพื่อให้ได้เล่นเกม
?        มีความต้องการเล่นเกมมากขึ้นในเวลาที่รู้สึกเครียด และเล่นเกมเพื่อหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากับปัญหา
?        มีความคิดหมกมุ่นกับการเล่นเกมอย่างมาก คือหมกมุ่นคิดเกี่ยวกับเกมที่เล่นผ่านมาและคิดวางแผนเพื่อเอาชนะในการเล่นเกมครั้งต่อไป
?         มีความต้องการเล่นเกมตลอดเวลาจนมีผลกระทบต่อตนเองหลายด้าน เช่น การเรียน สุขภาพ ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และสังคม เป็นต้น
?        หากมีความพยายามที่จะลดหรือเลิกเล่นเกมก็ไม่สามารถควบคุมตนเองให้หยุดเล่นได้ ทั้งๆที่ทราบดีว่ามีผลกระทบต่อตนเองอย่างมาก

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เด็กติดเกมได้บ้าง ?
                ปัจจัยทางชีวภาพ
                น่าจะมีความสัมพันธ์กับวงจรในสมองซึ่งก่อให้เกิดความสุขและเสพติด ( brain reward circuit )คล้ายคลึงกับการติดสารเสพติด
                ปัจจัยทางจิตสังคม
?        เกม  เกมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีเครือข่ายกว้างขวางและเข้าถึงง่ายมากขึ้น ประกอบกับคุณสมบัติในการตอบสนองความต้องการทางจิตใจของเด็ก ได้แก่ ความสนุกสนาน ความรู้สึกประสบความสำเร็จ ความตื่นเต้นเร้าใจ และการระบายความก้าวร้าว เป็นต้น การเล่นเกมมักจะมีความยากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดความท้าทาย โดยผู้เล่นทุกคนมีโอกาสชนะหรือประสบความสำเร็จมากขึ้นจากการเล่นซ้ำๆ และมักจะได้รับรางวัลซึ่งเป็นแรงเสริมด้านบวกทันทีเมื่อได้รับชัยชนะ เด็กจึงเกิดความรู้สึกพึงพอใจที่ตนเองก็สามารถเอาชนะ หรือประสบความสำเร็จได้ เด็กและวัยรุ่นที่มีความนับถือตนเองต่ำจากการที่ไม่ค่อยได้รับความสำเร็จจากกิจกรรมอื่นๆในโลกความเป็นจริง มักจะมีความสนุกสนานและพึงพอใจกับความสำเร็จในเกมจนไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะเด็กที่ขาดการฝึกระเบียบวินัยที่เหมาะสมมาก่อน
                เกมคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันได้แก่เกมออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นการสวมบทบาทสมมติในเกมโดยผู้เล่นหลายๆคนโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนจริงๆของผู้เล่น จึงสามารถตอบสนองความต้องการทางจิตใจและสังคม ซึ่งได้แก่ ความรู้สึกมีกลุ่มเพื่อนและได้รับการยอมรับแก่เด็กได้ เด็กสามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ในเรื่องเกม
?        ครอบครัว ครอบครัวของเด็กติดเกม ผู้ปกครองมักจะไม่ได้มีการฝึกวินัยให้ลูกอย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก โดยอาจเกิดเนื่องจากขาดทักษะในการฝึกวินัย ไม่มีเวลา หรือไม่เห็นความสำคัญเพียงพอ ในบางครอบครัวผู้ปกครองไม่สามารถติดตามพฤติกรรมของลูกได้อย่างเหมาะสม บางครอบครัวพ่อแม่ไม่ค่อยมีความใกล้ชิดและความผูกพันทางอารมณ์กับลูก บางครอบครัวเด็กต้องแบกรับความเครียดจากความคาดหวังของพ่อแม่ มีปัญหาในการสื่อสารกันในครอบครัว หรือมีความขัดแย้งกันเสมอ เด็กจึงหาทางออกด้วยการเล่นเกมคอมพิวเตอร์
?        สังคม  ในปัจจุบันสังคมมีค่านิยมสนับสนุนให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์เพื่อดูเป็นเด็กฉลาด ทันสัมย โดยอาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึงผลดี ผลเสียของเทคโนโลยีมากเพียงพอ และอาจจะยังไม่ได้เตรียมความพร้อมเด็กให้พร้อมสำหรบการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเสียก่อน
มีปัญหาหรือโรคทางจิตเวชใดบ้างที่มักพบร่วมกับการติดเกม ?
                เด็กที่ติดเกมมักจะมีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมอย่างอื่นร่วมด้วย ที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคสมาธิสั้น และปัญหาทางอารมณ์เช่น โรคซึมเศร้า ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาและมีรายงานความสัมพันธ์ระหว่างการติดเกมและโรคทางจิตเวชที่แน่นอนในปัจจุบัน
เราจะป้องกันอย่างไรเพื่อไม่ให้เด็กติดเกม ?
                การป้องกันมิใช้การห้ามไม่ให้เด็กเล่นเกม แต่เป็นการให้เด็กเรียนรู้การเล่นเกมอย่างถูกต้อง มีกติกา มีการตกลงกันก่อน และผู้ปกครองควรจะเอาจริงตามที่ได้มีการตกลงกันไว้ ดังนี้
?        ผู้ปกครองควรมีความรู้เกี่ยวกับเกม แยกแยะประเภทของเกม เลือกเกมที่มีประโยชน์แก่เด็กได้ ควรพูดคุย ให้ความรู้สอดแทรกให้เด็กเข้าใจและยอมรับได้ว่าควรเลือกเกมอะไร เกมใดไม่ส่งเสริมให้เล่น เนื่องจากเหตุผลใด
?        จัดระบบการเล่นเกมตั้งแต่ต้น ให้เด็กเล่นเกมได้ตามเวลาที่ตกลงกันไว้ โดยควรจะกำหนดเวลาให้ชัดเจน เช่น 18.00-19.00 น.
?        การเล่นเกมต้องควบคุมได้ อยู่ในสายตาผู้ใหญ่ เป็นไปในเวลาที่กำหนด และไม่เสียหน้าที่ในด้านอื่นๆ ควรกำหนดให้เล่นเกมหลังจากที่ทำงานในหน้าที่เสร็จแล้ว และมีการปิดกั้นการเข้าถึงเกมที่มีอันตราย
?        ผู้ปกครองจำเป็นต้องกำกับให้เป็นไปตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด
?        เมื่อมีการละเมิด ให้กลับมาทบทวนว่าเกิดอุปสรรคใดที่ทำให้ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ และกำหนดมาตรการควบคุมเพิ่มเติม โดยลดการต่อรอง และไม่สนใจต่อปฏิกิริยาของเด็กที่อาจจะบ่น หรือ โวยวาย
?        ควรมีการฝึกให้เด็กมีการควบคุมตนเองตั้งแต่เล็กๆ ประมาณตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไป เพื่อให้เด็กคุ้นเคย

เมื่อเด็กติดเกมแล้ว เราจะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไรบ้าง ?
                อาจจะอาศัยพื้นฐานจากการปรับพฤติกรรม ประกอบด้วย
?        การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กและครอบครัว อาศัยพื้นฐานจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก มีความเข้าใจพัฒนาการและความต้องการทางจิตใจของเด็กแต่ละวัย รับฟังเรื่องราวโดยหลีกเลี่ยงการตัดสินถูกผิดจากการใช้ประสบการณ์ของตนเอง กระตุ้นให้เด็กแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของเกมต่อตนเอง สนับสนุนให้ผู้ปกครองสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การพูดคุยถึงปัญหาควรอยู่กับปัจจุบัน หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และความรุนแรง ปรับเปลี่ยนการสื่อสารให้เข้าใจง่าย และถูกต้องมากขึ้น
?        การให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจแก่เด็ก
?        การตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครอง
?        การฝึกวินัย ในระยะแรกอาจจะมีปฏิกิริยาที่รุนแรงจากเด็ก เช่น ก้าวร้าว ทำร้ายร่างกายผู้ปกครอง     ผู้ปกครองควรมั่นคงกับสิ่งที่ทำอยู่ ในเด็กบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานควบคุมในช่วงที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ในกรณีที่อนุญาตให้เด็กเล่นเกมแล้วผู้ปกครองไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามข้อตกลงได้ การงดการเล่นเกมไปก่อนในช่วงนั้นก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม การอนุญาตให้เด็กเล่นเกมเฉพาะช่วงวันหยุด ช่วงปิดเทอม หรือให้เป็นรางวัลหลังจากที่เด็กทำงานตามหน้าที่ของตนเองเสร็จสิ้นแล้วโดยสะสมเป็นแต้มมาแลกกับการเล่นเกม ก็เป็นวิธีที่มีการใช้กัน
?        การใช้ยา  อาจจะมีความจำเป็นในการควบคุมพฤติกรรมในเด็กบางราย ที่มีปัญหาอื่นร่วมอยู่ก่อน เช่นสมาธิสั้น จำเป็นต้องพาใช้ในการรักษาโรคทางจิตเวช

 


Powered by EzPortal