เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: อย่าปล่อยให้หนูมีปัญหาการพูด (รักลูก)  (อ่าน 1404 ครั้ง)

ออฟไลน์ Panita singpor

  • Full Member
  • *
  • กระทู้: 68
อย่าปล่อยให้หนูมีปัญหาการพูด (รักลูก)
« เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2012 เวลา 09:54 น. »
 :Dอย่าปล่อยให้หนูมีปัญหาการพูด (รักลูก)

          ตอนเล็ก ๆ ก็ว่าอ้อแอ้ ๆ น่ารัก แต่ทำไมเมื่อเจ้าตัวเล็กถึงวัยที่จะต้องพูดแล้ว กลับกลายเป็นว่าไม่ยอมพูดเสียที หรือบางทีก็พูดไม่ชัด มาหาเหตุและวิธีแก้ไขกันค่ะ

ปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับการพูด

        ก่อนจะทราบถึงสาเหตุ เรามาทำความรู้จักปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับพัฒนาการทางการพูดของลูกกันก่อนค่ะ โดยเฉพาะ 3 ปัญหาสำคัญ ดังนี้

         1.พูดช้า โดยทั่วไปแล้วเด็กหนึ่งขวบ ควรพูดคำเดี่ยว ๆ ที่มีความหมายได้ อย่างน้อย 1 คำ เช่น แม่ หม่ำ แมว นก เด็กวัยขวบครึ่ง จะพูดคำเดี่ยว ๆ อย่างน้อย 5-6 คำ เด็กสองขวบ จะพูดคำเดี่ยว ๆ ได้ 40-50 คำ และเริ่มรวมสองพยางค์ได้ เช่น "แม่อุ้ม" "เปิดดู" ส่วนเด็กวัยสามขวบขึ้นไปสามารถพูดเป็นประโยคได้แล้วค่ะ แต่หากลูกพูดไม่ได้นั่นแสดงว่าเริ่มมีปัญหาด้านพัฒนาการทางการพูดแล้ว ต้องรีบพาไปหาหมอทันที

         2.พูดไม่ชัด เป็นเรื่องปกติของเด็กวัย 2-3 ขวบ ถือเป็นพัฒนาการตามวัย แต่จะปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้ ต้องแก้ไข และคอยหมั่นฝึกลูกอยู่เสมอ

         3.ติดอ่าง ส่วนใหญ่ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะมักเป็นพัฒนาการติดตามวัย ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ไปทักลูก ฟังลูกพูดอย่างสบาย ๆ ไม่ทำให้ลูกกังวล อาการติดอ่างก็จะหายไปเองค่ะ






ทำไมลูกถึงพูดไม่ได้สักที

        สาเหตุที่เจ้าจอมซนไม่ยอมพูดสักทีนั้น มีดังต่อไปนี้

          พ่อแม่ขัดพัฒนาการลูก เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่บางคนไม่เข้าใจพัฒนาการของลูก ปล่อยให้อยู่คนเดียว ให้ดูโทรทัศน์ หรือให้เล่นเกมคนเดียว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญเลยค่ะ เพราะสิ่งเหล่านี้แทบจะไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูดของเขาเลย จนเกิดปัญหาพัฒนาการทางภาษาที่ช้าในที่สุด

          สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะเมื่อลูกต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคนพูดไม่ชัด หรืออยู่กับพี่เลี้ยงที่ออกเสียงไม่ชัด เช่น ร กับ ล หรือ ช ซ หรือพี่เลี้ยงพูดเหน่อ พูดเพี้ยน พูดไม่มีตัวสะกด ก็มีส่วนทำให้ลูกพูดไม่ชัดได้เช่นกัน หรือลูกไม่มองหน้ามองปากจึงออกเสียงตามได้ไม่ถูกต้อง

        สาเหตุจากสุขภาพ เป็นปัญหาของลูกโดยตรง คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกต เพื่อจะแก้ไขได้ถูกต้อง ดังนี้

          สุขภาพเป็นอุปสรรค เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวลูกโดยตรง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของลูก โดยปัญหาสุขภาพที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพูดของลูกมีดังนี้

           1.ออทิสติก โดยทั่วไปเด็กที่ป่วยเป็นออทิสติกมักไม่ค่อยตอบสนองต่อคนรอบข้างเท่าไหร่ หากเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่เรียกแล้วลูกไม่หัน ไม่มอง ไม่สบตา พูดภาษาที่ฟังไม่รู้เรื่อง มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ เช่นหมุนมือ สะบัดมือ เอาของมาเรียงซ้ำ ๆ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่าลูกอาจจะป่วยเป็นออทิสติก

           2.ปัญหาการได้ยิน เพราะเด็กบางคนหูตึง หูหนวกจึงไม่ได้ยิน บางคนหูตึงที่บางระดับความถี่ของเสียง แต่ไม่ได้หูหนวก เพราะฉะนั้นลูกอาจไม่ได้ยินเสียงบางพยัญชนะ จึงอาจจะพูดไม่ชัด เมื่อใดก็ตามที่เรียกแล้วลูกไม่ตอบสนอง ไม่หันมอง ไม่สะดุ้ง ผวาเมื่อมีเสียงดัง คุณพ่อคุณแม่สามารถตั้งข้อสังเกตได้ค่ะว่า ลูกอาจจะมีปัญหาทางด้านการได้ยิน ต้องรีบพาไปรักษา

           3.พังผืดใต้ลิ้นหนา ส่งผลให้การกระดกลิ้นทำได้ไม่ดี ซึ่งลูกก็จะมีปัญหาในการออกเสียงตัว น ด ต ร ล ซึ่งต้องแก้ปัญหาด้วยการฝึกแลบลิ้นบ่อย ๆ หรือตัดพังผืดออกค่ะ

          4.สติปัญญาต่ำกว่าปกติ จึงเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ช้า รวมถึงพูดช้าด้วย     

พูดมีปัญหา พัฒนาการเลยมีปัญหา

          เมื่อลูกมีปัญหาทางการพูด แน่นอนว่าจะต้องกระทบกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเขาด้วย เพราะลูกไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้ คนรอบข้างจึงต้องอาศัยการเดา หากการคาดเดาผิดพลาด ตอบสนองไม่ถูกต้อง ลูกก็จะแสดงพฤติกรรมด้านอารมณ์ออกมาให้เห็น เช่น หงุดหงิด อาละวาด ทำลายข้าวของ หรือแม้กระทั่งการทำร้ายตัวเอง

          นอกจากนั้น ก็จะทำให้เกิดปัญหาพัฒนาการด้านสังคมและการเรียนรู้ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยที่จะต้องเข้าสังคมหรือเข้าเตรียมอนุบาล เพราะเมื่อลูกมีปัญหาด้านการพูด ก็เท่ากับว่าการเรียนรู้ของลูกก็จะมีปัญหาด้วย เพราะลูกจะไม่สามารถโต้ตอบคุณครูและเพื่อน ๆ ได้อย่างเท่าทันกัน

ส่งเสริมอย่างไรให้เหมาะสม

          ใช้ภาษาท่าทางช่วย เพราะว่าเด็กเล็ก ๆ ยังจำคำศัพท์ไม่ได้ จึงไม่สามารถพูดคำบางคำได้ ซึ่งการแสดงออกด้วยท่าทาง สีหน้า ก็เป็นการสื่อสารอีกอย่างหนึ่งของเขา เพื่อให้เขาเกิดการเรียนรู้ เช่น คุณแม่หน้าบึ้งหรือคุณแม่เสียงดังแสดงว่าคุณแม่โกรธ คุณแม่ทำเสียงและท่าจุ๊ปาก แสดงว่าคุณแม่ห้าม เป็นต้น

          จัดสภาพแวดล้อมให้พร้อม เด็กเล็กจะพูดได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง เช่น ตาต้องมองเห็น หูต้องได้ยิน และก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เมื่อลูกมองดูอะไรบางอย่างอยู่ คุณแม่ควรพูดถึงสิ่งที่ลูกมอง เช่น ลูกมองดูหมา คุณแม่ควรพูดว่า "หมา หมาเดิน หมาวิ่ง" พยายามให้ลูกมองปาก กระตุ้นให้พูดตามคำว่า "หมา" หรือเมื่อไรก็ตามที่ลูกเล่นเสียง คุณพ่อคุณแม่ หรือพี่เลี้ยงก็ต้องเข้าไปเล่นเสียงกับลูก ให้ลูกได้สบตา มองหน้ามองปาก ล้อเสียง เพื่อให้ลูกมีปฏิสัมพันธ์ และได้เรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ค่ะ

          สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ลูกมีพัฒนาการทางการพูดที่ดี ก็คือการสนับสนุนส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่โดยการพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เน้นการสบตามองหน้า มองปาก และการมีปฏิสัมพันธ์กัน เมื่อไรก็ตามที่ลูกพร้อมจะพูด แล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่สนใจ ไม่ได้ตอบ ไม่เล่นด้วย ลูกก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ และเป็นปัญหาในที่สุดค่ะ

 


Powered by EzPortal