เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: พัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อเล็กก่อนที่จะเขียนหนังสือ  (อ่าน 2376 ครั้ง)

ออฟไลน์ Panita singpor

  • Full Member
  • *
  • กระทู้: 68
พัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อเล็กก่อนที่จะเขียนหนังสือ
« เมื่อ: วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2012 เวลา 19:18 น. »
ส่งเสริมพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อเล็กก่อนที่จะเขียนหนังสือ
      ผู้ใหญ่มักใจร้อนต้องการให้ลูกหลานของเราพอโตขึ้นหน่อยก็จะให้เขียนหนังสือแล้ว  การเขียนที่ว่าคือการเขียนอย่างเป็นทางการ  เป็นตัวพยัญชนะ  ตัวสระ ในภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ที่เราๆ
ต่างคาดหวังให้เด็กเขียนได้   ขณะเดียวกันเราลืมว่าเด็กมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง  ความสามารถด้าน
ร่างกายของเขาเป็นอย่างไร     ความต้องการและความเป็นจริงนั้นแตกต่างกันมาก   จะทำอย่างไร
ให้คนส่วนใหญ่ได้เข้าใจ  และทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้วเด็กเล็กๆของเราก็จะได้พัฒนาการอย่างเป็นไป
ตามวัยและความต้องการของเขา  อย่างเช่นการเขียนหนังสือถ้าจะทำให้เด็กมีความสุขในการเขียน
และเขียนอย่างถูกต้องเมื่อมีความพร้อมแล้ว   เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เราก็จะมีปัญหาน้อยมากในการ
เขียน    ซึ่งขณะนี้เรามักบ่นว่าการเขียนของเด็กประถมหรือเด็กมัธยมเขียนอะไรก็ไม่รู้  เขียนผิดๆ
ถูกๆ     เขียนไม่เป็นตัวทั้งๆที่เรียนมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล   หรือเรียนมาตั้งแต่อายุยังน้อย  เราเคยมา

ทบทวนปัญหาตรงนี้กันหรือไม่    อย่างเช่น  เขาถูกบังคับให้เขียนในขณะที่เขายังไม่พร้อมหรือเปล่า   ดังนั้นก่อนที่จะให้เด็กเขียนอย่างเป็นทางการ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเขาก่อน     โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้มือทั้ง
สองข้างให้ประสานสัมพันธ์กันก่อน   ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ  เช่น
1. การจัดกิจกรรมให้มือได้เคลื่อนไหว
-หยิบจับสิ่งของ ใส่ภาชนะต่างๆ  หรือกล่อง
-ร้อยลูกปัดเม็ดใหญ่
-เล่นของเล่น
-ถัก  ทอ  เย็บง่ายๆ
        2  การจัดกิจกรรมที่ให้มือได้กำและจับ
              -ตักน้ำจากถ้วยหนึ่งไปอีกถ้วยหนึ่ง
               -ร้อยของเล่นโดยใช้ไม้แทนเข็ม

               -หมุนกล่องของเล่นที่มีตุ๊กตาโผล่ออกมา
               -ถือสิ่งของด้วยมือใดมือหนึ่ง แล้วอีกมือหนึ่งทำกิจกรรมอย่างอื่น
       3  การปรบมือ  เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือและแขนโดยสามารถใช้ประกอบเพลง และการเล่นเกมต่างๆ
       4  การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สัมผัส  โดยจัดหาวัสดุต่างๆ  ให้เด็กได้สัมผ้ส    อาจเป็นวัสดุที่มีผิว
สัมผัสที่แตกต่างกัน
       5 กิจกรรมศิลปะต่างๆ
               -การวาดรูประบายสี
                -การประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ
              -การระบายสีด้วยนิ้วมือ
              -การปั้น
                   ฯลฯ
        6 การให้เล่นเครื่องดนตรี
                -การตีกลอง
                 -การเป่า
                  -การดีด
              ฯลฯ
        7 การให้เล่นเกมและการละเล่น
                  -เกมต่างๆ  เช่น  อีตัก  หมากรุก
                  -การขีดเขียนบนดิน
        ดังนั้นการจัดกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือให้กับเด็กได้มีความแข็งแรง
ก่อนที่เด็กจะได้เขียนอย่างเป็นทางการ   พ่อแม่  หรือผู้ใหญ่อย่าใจร้อน  ให้เด็กเขาได้เล่นซึ่งถือว่า

เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ  เลิกความคิดที่ว่าเล่นแล้วเสียเวลา   ถ้าเด็กได้เล่นอย่างเต็มที่แล้วเขาจะมี
ความพร้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านกล้ามเนื้อมือก่อนที่เขาจะเขียนได้อย่างมีคุณภาพเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
คำสำคัญ (keywords): การพัฒนากล้ามเนื้อมือในเด็กปฐมวัย การเขียน

 


Powered by EzPortal