เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: febrile seizure กับความเสี่ยงโรคลมชัก  (อ่าน 3055 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
febrile seizure กับความเสี่ยงโรคลมชัก
« เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2012 เวลา 10:28 น. »
มีข้อถกเถียงกันมานานแล้วว่าอาการชักเวลามีไข้ (febrile seizure) ทำให้เกิดโรคลมชักใน้เวลาต่อมาหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากส่วนหนึ่งมีความเกี่ยวข้องระหว่างแผลเป็นในสมองด้านข้าง (hippocampal sclerosis) กับการมีประวัติอาการชักเวลามีไข้นาน Neligan และคณะได้ทำการศึกษาในระยะยาวโดยติดตามเป็นระยะเวลาเฉลี่ยถึง 21 ปี

ใน National Collaborative Perinatal Project (NCPP) ในการศึกษาไปข้างหน้าของเด็กทารก 54,000 คนระหว่างปี 1959-1966 พบว่า 1% ของเด็กที่มี febrile seizure  เกิดโรคลมชักเมื่ออายุ 7 ปี    ในการศึกษาของ US Oakland study เด็ก 18,500 ที่เกิดในช่วงปี 1960  พบว่าเด็ก 3% จาก 254 คนที่มี febrile seizure ต่อมาเกิดโรคลมชักโดยไม่มีไข้, ใน UK National Cohort study พบว่าเด็ก 9 (2%) คน จาก 382 คนที่มีไข้แล้วชักเกิดโรคลมชัก

ในการทบทวนการศึกษา febrile seizures 16 การศึกษาความเสี่ยงที่จะเกิดอาการชักโดยไม่มีไข้อยู่ระหว่าง 0.25-33%  โดยเด็ก 4,160 คนที่มีไข้แล้วชักในการศึกษานี้ 241 คนหรือความชุก 5.8% มีอาการชักโดยไม่มีไข้  ในการศึกษาโดยใช้ฐานประชากรพบว่าความเสี่ยงในการเกิดโรคลมชักในระยะหลังอยู่ระหว่าง 2-7%

ใน National General Practice Study of Epilepsy (NGPSE) โดยศึกษาไปข้างหน้า สัดส่วนเด็กที่มีชักจากไข้แล้วต่อมาเกิดโรคลมชักมี 6% หลังจากติดตามไป 12 ปี ซึ่งทำให้การศึกษานี้ตั้งสมมติฐานว่าความเสี่ยงของการเกิดโรคลมชักลดลงเมื่อเวลานานขึ้น

ในการศึกษานี้ family physician 275 คนในสหราชอาณาจักรจะรายงานผู้ป่วยที่สงสัยเกิดอาการชักใหม่ขึ้นนอกจากอาการชักในระยะหลังคลอด (neonatal seizure) ระหว่างเดือนมิถุนายน 1984- ตุลาคม 1987 มี ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ว่ามีอาการชัก 1,195 ราย ไม่จำเป็นต้องเป็นการชักครั้งแรก และแพทย์แต่ละคนจะรายงานข้อมูลในการตอบแบบสอบถามเมื่อติดตามผล

มีเด็กทั้งหมด 220 รายที่มี febrile seizure เด็กทั้งหมดในระยะแรกจะได้รับการติดตาม 2 ปี และต่อมาติดตามจนถึง 1997-1998  และปัจจุบันติดตามถึง 2009-2010

ผลการศึกษาพบว่ามีเด็ก 219 คนที่มีชีวิตจนถึง ตุลาคม 2009 โดยหนึ่งรายที่มีเพียงชักจากไข้ ได้ฆ่าตัวตายเมื่อเป็นผู้ใหญ่  มีข้อมูลในการติดตาม 181 (83%) โดยค่าเฉลี่ยในการติดตาม 21.6 ปี (มัฐยฐาน 24 ปี; 0.6-25.9)  index febrile seizure เป็นการชักครั้งแรกในเด็ก 189 คน (86% ของ 220) , ในขณะที่ 26 คน (12%) มีอาการชักจากไข้หนึ่งครั้งมาก่อน, และ 5 (2%) 2 ครั้งมาก่อน

มากกว่า 2/3 (149 [68%]) ไม่มีอาการชักอีกต่อไปหลัง index febrile seizure ขณะที่ 56 (25%) มีอาการชักอีก มี 4 รายที่ชักอีก 6-10 ครั้ง  และ 1 รายที่ชักอีก 11-15 ครั้ง และ 10 (5%) มีชักมากกว่า 20 ครั้ง  มีหนึ่งรายที่มี single complex febrile seizure ต่อมาเกิดชักกลางคืน (nocturnal convulsive seizures 16 ปีต่อมา

หลังจาก 10 ปีมีการติดตามผล 211 (96%) ราย  ซึ่งพบว่า 201 (95%) ไม่มีอาการชักใน 5 ปีที่ผ่านมา  ขณะที่ 4 รายมีอาการชัก 1-5 ครั้ง   และ 6 รายมีอาการชักมากกว่า 20 ครั้ง

ในผู้ป่วย 181 รายที่มีการติดตามมากกว่า 20 ปี 175 ราย (94%) ไม่มีอาการชักใน 5 ปีก่อนหน้านี้ ขณะที่ 171 ราย (94%) ไม่มีอาการชักและไม่กินยากันชัก   ในรายที่มีอาการชักกลับซ้ำ ระยะเวลาระหว่างการกลับซ้ำกับ index seizure 1.1 ปี

ในเด็กที่ index febrile seizure ไม่ใช่ febrile seizure ครั้งแรก ความเสี่ยงในการเกิดชักซ้ำมากกว่าเล็กน้อย (HR 1.76)

โดยรวมมี 17 ราย (7.7%) มี ชักแบบไม่มีไข้ (afebrile seizure) 14 รายมี afebrile seizure มากกว่า 2 (เป็นโรคลมชัก) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิด afebrile seizure ครั้งที่สอง 5.7 ปี ในการคำนวณสถิติแบบ actuarial analysis ประมาณว่าเมื่อระยะเวลา 20 ปีหลังจากมี index febrile seizure 6.7% จะเกิดโรคลมชัก

เมื่อใช้อุบัติการณ์ตามอายุมาเทียบในสหราชอาณาจักร (SIR) ประมาณว่าความเสี่ยงในการเกิดโรคลมชักเมื่อติดตามประมาณ 10 เท่าของประชากรทั่วไป SIR ในอายุ 0-4 ปีเท่ากับ 14.2 SIR อายุ 5-9 ปีเท่ากับ 16.3  SIR ในอายุ 10-14 เท่ากับ 7.2    และไม่มีความสำคัญเมื่ออายุ 15-19 ปี

โดยสรุปการศึกษานี้พบว่าเด็กที่มีไข้แล้วชัก จะมีอาการชักซ้ำหลายชนิดแตกต่างกันไปได้ 32% คล้ายกับในรายงานอื่น เด็กที่มีไข้แล้วชักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมชัก ที่เวลา 20 ปีหลัง index febrile seizure เด็กมีโอกาสเกิดโรคลมชักประมาณ 6.7% ความเสี่ยงในการเกิดโรคลมชักลดลงตามเวลาหลังการเกิดชักจากไข้ ผู้ศีกษาเชื่อว่าการชักจากไข้ไม่ใช่อาการแรกของโรคลมชัก แต่ผู้ป่วยที่มีอาการชักเมื่อมีไข้อาจมีความไวต่อการชัก หรืออาการชักจากไข้ที่นานอาจอันตรายต่อสมองที่กำลังเจริญเติบโต ควรจะมีการศึกษาตามเชื้อชาติและพื้นที่ด้วย

อ้างอิง: Neligan A, Bell GS, Givavasi C, Johnson AI, Goodridge DM, Shorvon SD, Sander JW. Long-term risk of developing epilepsy after febrile seizures: a prospective cohort study. Neurology 2012; 78:1166-1170.

ที่มา : www.thaiepilepsy.com/index.php?option=com_content&view=article&id=197:febrile-seizure-and-epilepsy&catid=34:epilepsy&Itemid=57

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Re: febrile seizure กับความเสี่ยงโรคลมชัก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 04 พฤษภาคม 2012 เวลา 13:15 น. »

 


Powered by EzPortal