เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: Clonazepam ผลข้างเคียง  (อ่าน 86621 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Clonazepam ผลข้างเคียง
« เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 08 มีนาคม 2012 เวลา 22:19 น. »
ข้อความมาตรฐานเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์  Clonazepam

คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา
    เภสัชพลศาสตร์
clonazepam  เป็นยาในกลุ่ม  benzodiazepines ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางโดยเป็น
agonist ที่ benzodiazepine receptor  ซึ่งจับกลุ่มอยู่กับ GABAA receptor และ chloride channel  อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาท ทำให้ GABAA receptor ทำงานได้มากขึ้น ส่งผลให้ chloride channel เปิด ยอมให้ chloride ions เข้าสู่เซลล์มากขึ้น เกิด hyperpolarization  และยับยั้งการทำหน้าที่ของเซลล์ประสาทต่างๆ ทำให้มีผลลดอาการวิตกกังวล ทำให้ง่วงหลับ ต้านอาการชัก คลายกล้ามเนื้อ  และอาจเกิดภาวะสูญเสียความจำข้างหน้า                     
    เภสัชจลนศาสตร์ 
     ยาถูกดูดซึมได้ดีในทางเดินอาหาร ความเข้มข้นของยาในพลาสมาจะสูงสุดหลังจากรับประทานยาประมาณ 1-2 ชั่วโมง  ยาจับกับโปรตีนในพลาสมาประมาณร้อยละ 85 ยาถูกแปลงสภาพที่ตับได้สาร metabolite ที่ไม่มีฤทธิ์และถูกกำจัดออกทางไต ยามีค่า half-life  ประมาณ 18-50 ชั่วโมง
สรรพคุณหรือข้อบ่งใช้
    - กันชัก
    - ลดอาการตื่นตระหนก (Panic)
ขนาดการใช้และวิธีใช้
    กันชัก
     ผู้ใหญ่: ในระยะเริ่มแรก รับประทานครั้งละไม่เกิน 0.5 มก.วันละ 3 ครั้ง หากจำเป็นสามารถเพิ่มขนาดยาได้ครั้งละ 0.5-1 มก. ในทุก 3 วัน จนสามารถควบคุมอาการได้ แต่ต้องไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเพิ่มขึ้น  ขนาดสูงสุดไม่เกินวันละ 20 มก.หรือตามแพทย์สั่ง
ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยหนักด้วยโรคทางกาย ควรลดขนาดของยาลง
   ทารกและเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี หรือ น้ำหนักตัวไม่เกิน 30 กก.:  ในระยะเริ่มแรกรับประทานในขนาด                 0.01- 0.03 มก./น้ำหนักตัว 1 กก/วัน โดยไม่เกิน 0.05 มก./น้ำหนักตัว1กก./วัน แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง         
หากจำเป็นสามารถเพิ่มขนาดยาได้ใน ขนาดครั้งละไม่เกิน 0.25-0.5 มก.ในทุก 3 วันจนสามารถควบคุมอาการได้ แต่ต้องไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเพิ่มขึ้น ขนาดยาสูงสุดต้องไม่เกินวันละ 0.1-0.2 มก./น้ำหนักตัว  1 กก. หรือตามแพทย์สั่ง     
    ลดอาการตื่นตระหนก (Panic)
       ผู้ใหญ่:ในระยะเริ่มแรก รับประทานครั้งละ 0.25 มก. วันละ 2 ครั้ง  หากจำเป็นสามารถเพิ่มขนาดยาได้ 0.125-0.25 มก. วันละ 2 ครั้งในทุก 3 วัน  จนสามารถควบคุมอาการตื่นตระหนกได้ แต่ต้องไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเพิ่มขึ้นขนาดยาสูงสุดไม่เกินวันละ 4  มก. หรือตามแพทย์สั่ง 
    ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยหนักด้วยโรคทางกาย ควรลดขนาดของยาลง
    เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ ลดอาการตื่นตระหนก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลประสิทธิผลและความปลอดภัยเพียงพอ
คำเตือน  อาจเสพติดและให้โทษ  ต้องใช้ตามแพทย์สั่ง
คำเตือนหรือข้อควรระวัง
   (1)   อาจทำให้ง่วงซึม ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหรือในที่สูง
      (2)   ห้ามดื่มสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
      (3)  ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยากลุ่มเบนโซไดอาซีปีน (Benzodiazepines) ผู้ป่วยโรคต้อหินเฉียบพลันชนิดมุมแคบ (Acute narrow angle glaucoma)
      (4)    สตรีมีครรภ์  สตรีระยะให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคต้อหินชนิดมุมเปิด (Open angle glaucoma) โรคไมแอสทีเนีย แกรวีส โรคพอร์ไฟเรีย โรคที่ระบบทางเดินหายใจทำงานบกพร่อง             ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคทางจิตเวช เช่น โรคจิต  โรคอารมณ์ซึมเศร้า เป็นต้น ผู้มีประวัติการติดยา  หรือสารเสพติด ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
(5) อาจเกิดผลตรงข้ามกับฤทธิ์ของยาที่ให้ (paradoxical reactions) ในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยหนักได้
(6)  อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด ตับหรือไตได้
(7) ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากแพทย์สั่ง หากใช้เป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดใช้
(8) อาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น ทำให้ระดับยาเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้มาก หากจะใช้ร่วมกับยาอื่นต้องปรึกษาแพทย์
   (9) หากมีอาการนอนไม่หลับ ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ กล้ามเนื้อเปลี้ย หรือมีไข้ ควรหยุดใช้ทันทีและรีบปรึกษาแพทย์                       
     (10) ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยภาวะเลือดมี albumin ต่ำ        
     (11) ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เนื่องจากมีผลกดการไอ   
     (12)  เมื่อใช้เป็นยากันชัก  การหยุดยาควรลดลงทีละน้อย เพื่อป้องกันการเกิด status epilepticus
        (13)  การใช้ยานี้เป็นเวลานานในเด็ก  อาจมีผลต่อพัฒนาการของเด็กเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปีได้

(14) ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอาการชักหลายชนิดร่วมกัน เพราะอาจทำให้อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (generalized tonic-clonic ) เพิ่มมากขึ้น
ข้อห้ามใช้
        (1)   ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
       (2) ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง รวมทั้งแอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ 
         (3)     ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคต้อหินเฉียบพลันชนิดมุมแคบ
      (4)   ห้ามใช้เพื่อการรักษาโรคจิต (psychoses)
       (5)   ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
      หมายเหตุ : ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
อาการไม่พึงประสงค์
      อาการไม่พึงประสงค์เกิดจากฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง  อาการที่พบส่วนใหญ่ คือ ง่วงซึม กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน กล้ามเนื้อเปลี้ย สับสน มึนงง เวียนศีรษะ ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว   นอกจากนี้ อาจเกิดภาวะเสียความจำข้างหน้า  มีรายงานการเกิดอาการระคายเคืองทางเดินอาหาร และพบปฏิกิริยาทางผิวหนัง                       
ปฏิกิริยาระหว่างยา 
   ระวังการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา หากให้ยานี้ร่วมกับ
      (1) แอลกอฮอล์หรือยากดระบบประสาทส่วนกลาง  เพราะจะทำให้ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจ (apnea)
     (2)   ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์จากตับ เช่น cimetidine, erythromycin, fluoxetine, ketoconazole, indinavir, propanolol, metoprolol และยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน เป็นต้น  จะยับยั้งการเกิด metabolism ที่ตับ ส่งผลให้ค่า half-life ของการกำจัดยา  clonazepam ยาวขึ้น
    (3)  ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์จากตับ  เช่น rifampin จะทำให้ metabolism ที่ตับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าhalf-life ของการกำจัดยา clonazepam  สั้นลง
    (4)  carbamazepine  จะทำให้อัตราการเกิด metabolism ของ clonazepam เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าhalf-lifeของการกำจัดยา clonazepam ลดลง  นอกจากนี้ ยาจะทำให้ความเข้มข้น carbamazepine ในพลาสมาสูงขึ้น จึงควรเฝ้าติดตามดูอาการของผู้ป่วยและปรับขนาดยา carbamazepine ให้เหมาะสม
การได้รับยาเกินขนาด
    อาการแสดง
         ง่วงซึม สับสน  พูดเสียงลาก  สั่น ชัก หัวใจเต้นช้า  เดินโซเซ  อ่อนแรง  reflex ลดลง โคม่า และอาจกดการหายใจ


   
    การรักษา
          ลดการดูดซึมยา  โดยทำให้อาเจียนร่วมกับการให้รับประทาน activated charcoal                 เพื่อลดการดูดซึมยาสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่หมดสติ หรือให้ล้างท้องในกรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ
ให้การรักษาตามอาการร่วมกับให้ specific antidote โดยให้สารละลายทางหลอด
เลือดดำเพื่อเพิ่มการกำจัดยา หากมีภาวะกดการหายใจควรให้ออกซิเจน หากจำเป็นให้พิจารณาช่วยการหายใจ อาจพิจารณาให้ยา flumazenil ซึ่งเป็น specific benzodiazepine receptor antagonist เพื่อลดฤทธิ์การสงบระงับประสาทหรือฤทธิ์กดการหายใจ ทั้งนี้ ต้องเฝ้าระวังติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก flumazenil อาจทำให้เกิดการชัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ใช้ benzodiazepine ต่อเนื่องมานานหรือผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยา tricyclic antidepressant  ไม่ควรใช้ flumazenil ในผู้ป่วยโรคลมชักที่เคยรักษาด้วย benzodiazepine  ควรศึกษาเอกสารกำกับยา flumazenil ก่อนการใช้  หากมีภาวะความดันเลือดต่ำ ถ้าจำเป็นอาจพิจารณาให้ vasopressor เช่น dopamine, norepinephrine หรือ metaraminol ทางหลอดเลือดดำ  ควรเฝ้าระวังการหายใจ ชีพจร และความดันเลือดของผู้ป่วย

ที่มา www.thaifda.com/editor/data/files/narcotic/docs/Clonazepam.doc

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: Clonazepam ผลข้างเคียง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2012 เวลา 17:07 น. »
Rivotril 2 mg
Rivotril? เป็นชื่อการค้าของยา Clonazepam รูปแบบยาเม็ด ซึ่งมีทั้งขนาด 0.5 และ 2 mg มีข้อบ่งใช้สำหรับ status epilepticus ใช้ในการรักษา petit mal variant, akinetic และการชักแบบ myoclonic โดยผู้ใหญ่เริ่มในขนาด 1-1.5 mg วันละครั้ง และค่อยๆ เพิ่มขนาดเป็น 3-6 mg/day ส่วนในเด็กอายุ 10-16 ปี เริ่มให้ในขนาด 1-1.5 mg วันละ 2-3 ครั้ง และค่อยๆ เพิ่มขนาดเป็น 3-6 mg/day ส่วนในทารกและเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปีหรือน้ำหนักน้อยกว่า 30 kg เริ่มให้ในขนาด 0.01-0.03 mg/kg และค่อยๆ เพิ่มขนาดเป็น 0.05-0.1 mg/kg/day นอกจากนี้มีข้อบ่งใช้สำหรับ panic disorder โดยเริ่มให้ในขนาด 0.25 mg วันละ 2 ครั้ง แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดครั้งละ 0.125-0.25 mg วันละ 2 ครั้ง ทุกๆ วัน จนถึงขนาดที่ต้องการคือ 1 g/day

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ในผู้ป่วยบางราย โดยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย มีดังนี้คือ
ระบบทางเดินอาหาร: น้ำลายไหลออกมามากเกินไป
ระบบประสาทส่วนกลาง: เดินโซเซ มึนงง รับรู้เปลี่ยนแปลงไป ชัก ง่วงนอน
จิตใจ: ซึมเศร้า พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
ระบบทางเดินหายใจ: กดทางเดินหายใจ

อ้างอิงจาก
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=9491&gid=7
สู้สู้

 


Powered by EzPortal