เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: การตั้งครรภ์กับยากันชัก  (อ่าน 4988 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
การตั้งครรภ์กับยากันชัก
« เมื่อ: วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 23:17 น. »
ในผู้ป่วยโรคลมชักทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีอัตราการมีบุตรต่ำกว่าคนทั่วไป พบว่าในผู้หญิงที่เป็นโรคลมชัก (women with epilepsy; WWE) มีอัตราการคลอดบุตร 16.9-22.5 ต่อ 1000 เมื่อเทียบกับในผู้หญิงที่ไม่เป็นโรคลมชักมีอัตรา 67.6/1000 , ความเสี่ยงที่จะมีการแท้งเองเพิ่มขึ้นใน WWE ที่มีชักแบบเฉพาะที่และสูงสุดในผู้หญิงที่มีครอบครัวมีประวัติโรคลมชักถึงแม้เด็กที่คลอดออกมาจาก WWE มักจะปกติดีแต่เด็กเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่มีความผิดปกติทั้งทางกายวิภาคและพฤติกรรม ความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงในประชากรทั่วไปประมาณ 1.6-2.1% เมื่อคลอด ในการศึกษาพบว่าความเสี่ยงในการทานยากันชักตัวเดียวที่จะเกิดความพิการแต่กำเนิดประมาณ 4.5% และ 8.6% ในรายที่รับประทานยากันชักหลายตัว ความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงที่พบร่วมกับการรับประทานยากันชักได้แก่ หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด, ใบหน้าผิดปกติ (ปากแหว่งร่วมกับหรือไม่ร่วมกับเพดานโหว่, ทางเดินปัสสาวะผิดปกติ (รูเปิดปัสสาวะต่ำกว่าปกติ), กระดูกผิดปกติ (นิ้วไม่งอก) และ ความพิการทางระบบประสาทเช่นมีถุงน้ำที่ไขสันหลัง
                                       ความเสี่ยงต่อการพิการ (Teratogenesis: Anatomic and cognitive/behavior effects of AEDs)ยากันชักรุ่นเก่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิด 2-6 เท่า แต่การศึกษาหลายอันไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างยากันชักแต่ละตัว การทำให้เกิดความพิการของยากันชักแต่ละตัวยังไม่ชัดเจน การลงทะเบียนในผู้ป่วยโรคลมชักที่ตั้งครรภ์ทำให้สามารถได้จำนวนผู้ป่วยที่ศึกษาได้มากใน North American registry ในผู้ป่วยกว่า 3,000 คนที่ตั้งครรภ์และลงทะเบียนพบว่า Phenobarbital และ valproate เพิ่มความเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรง 6.5%, 10.7% ตามลำดับ และพบความเสี่ยงต่อการเกิดปากแหว่ง เพดานโหว่ในยากันชักเฉพาะตัวคือ Lamotrigine (0.89%), Carbamazepine (0.57%),  ใน UK registry ที่มีผู้ป่วยลมชักตั้งครรภ์ 3,607 ราย พบว่าความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงมากที่สุดใน valproate (6.2%) และ lamotrigine ขนาดสูง,  Levetiracetam มีความเสี่ยงความพิการรุนแรง 2.7%,  ความพิการส่วนมากพบในรายที่ทานยากันชักหลายตัวใน Australian Registry พบความพิการ 5% ในเด็กที่เกิดมามีชีวิตและ 1% ในรายที่แท้ง, การทานยา valproate ตัวเดียวในไตรมาสแรกที่ขนาดมากกว่า 1,100 mg/day มีความเสี่ยงสูงสุด (38.5%) กว่ายากันชักตัวอื่นๆเช่น Carbamazepine (3.8%), Lamotrigine (0%), Phenytoin (5.9%), valproate (16.8%)International Lamotrigine Pregnancy Registry รายงานความเสี่ยงต่อความพิการใน lamotrigine 2.9% ซึ่งไม่เกี่ยวกับขนาดยา แต่ไม่มีการเปรียบเทียบยาอื่น แต่ใกล้เคียงกับอัตราใน UK registry, North American registryที่สอดคล้องกันในการศึกษาต่างๆคือความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงพบมากใน valproate มากกว่ายากันชักตัวอื่น ถึงแม้ valproate แต่การศึกษาต่างๆมีวิธีการในการศึกษาต่างกันทำให้ผลลัพท์ออกมาต่างกันเช่น exclusion criteria, definitions of outcome, duration of follow-up จำเป็นที่ต้องแยกความเสี่ยงต่อการพิการโดยเฉพาะ, มีการชักระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่, ชนิดของการชัก, ประวัติความพิการแต่กำเนิดในครอบครัว, ระดับยากันชัก
                                      ผลทางด้าน cognitive/behavior
                                   Carbamazepine มีการศึกษา 2 รายงาน ไม่พบ IQ แย่ลงในเด็กที่แม่ได้รับ carbamazepine ตัวเดียวเทียบกับเด็กที่แม่ไม่ได้รับ carbamazepine
                                   Phenobarbital ในเด็ก 305 รายที่ WWE ได้รับ Phenobarbital monotherapy และเด็ก 4,705 รายที่แม่ไม่มีโรคลมชักแต่ได้รับ Phenobarbital ไม่พบความแตกต่างทาง IQ เมื่อเทียบกับเด็กที่เป็นกลุ่มควบคุม, อีกการศึกษาพบว่าเด็กชายที่แม่ได้รับ Phenobarbital มี IQ ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมหลังจากควบคุมปัจจัยแวดล้อมอื่น
                                  Phenytoin พบว่าเด็กที่แม่เป็น WWE มี IQ ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมแต่ไม่พบความเกี่ยวข้องกับ phenytoin หรือการได้รับยาอื่น
                                  Valproate พบว่าเด็กมี verbal IQ ต่ำกว่าเด็กที่แม่ไม่ได้รับยากันชัก 11-13 คะแนน ผลของ valproate ขึ้นกับขนาดยา โดยเฉพาะในรายที่ได้รับยากันชักหลายตัวร่วมกับ valproate จะมีความเสี่ยงสูงสุด
                                     สรุปแนวทางในการรักษาคือใช้ยากันชักที่เหมาะสมเพื่อควบคุมอาการชักก่อนที่จะตั้งครรภ์ โดยใช้ยากันชักตัวเดียวที่ขนาดน้อยที่สุดที่จะควบคุมอาการชักให้ได้ผลมากที่สุดและควรรับประทาน Folate เสริม การหยุดยากันชักก่อนที่จะตั้งครรภ์เป็ฯอีกทางเลือกแต่ต้องระวังว่าไม่มีความเสี่ยงที่เกิดอาการชักซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อแม่และเด็ก  ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะลดยา แต่ส่วนมาก WWE ไม่สามารถที่จะหยุดยากันชักได้อย่งปลอดภัยแต่จากการศึกษาต่างๆพบว่าไม่ควรที่จะใช้ valproate เป็ฯยากันชักตัวแรกในหญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ แต่ถ้ารับประทาน valproate อยู่ก็ควรที่จะใช้ขนาดน้อยที่สุด ยาอื่นเช่น Lamotrigine, carbamazepine มีความเสี่ยงต่อการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ นอกจากนี้ความเสี่ยงต่อความพิการในยากันชักรุ่นใหม่ยังไม่ทราบแน่ชัด จำเป็ฯต้องรอผลการศึกษาต่อไป
                                     ที่มา Meador KJ, Pennell PB, Harden CL, et al.Pregnancy registries in epilepsy. Neurology 2008; 71:1109-17.

http://www.thaiepilepsy.com/index.php?option=com_content&view=article&id=89:pregnancy-and-aed&catid=34:epilepsy&Itemid=57

 


Powered by EzPortal