เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: การชักกลางคืนเสี่ยงต่อการตายไม่ทราบสาเหตุ ; SUDEP  (อ่าน 3405 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
การชักกลางคืนเสี่ยงต่อการตายไม่ทราบสาเหตุ ; SUDEP
« เมื่อ: วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 12:48 น. »
การชักกลางคืนเสี่ยงต่อการตายไม่ทราบสาเหตุ

การตายโดยไม่ทราบสาเหตุในผู้ป่วยโรคลมชัก (sudden unexpected death in epilepsy; SUDEP) เป็นหนึ่งในสาเหตุที่เสียชีวิตบ่อยของผู้ป่วยโรคลมชัก ปัจจัยสำคัญที่เสี่ยงคือความรุรแรงของการชัก  แต่ SUDEP มักจะไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์ และมีความเข้าใจในพยาธิสรีรวิทยาการเกิดเหตุการณ์นี้น้อย Lamberts และคณะได้ทำการศึกษาว่าลักษณะการชัก (กลางวัน หรือกลางคืน) และ การเกิด SUDEP ขณะนอนหลับมักเกิดจากการชักตอนกลางคืนหรือเปล่าโดยเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังมีชีวิต ในวารสาร Epilepsia เดือนกุมภาพันธ์ 2555

ผู้ศึกษาต้องการศึกษาว่าผู้ป่วยที่มี SUDEP หรือผู้ป่วยโรคลมชักที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุขณะนอนหลับมักจะมีอาการชักกลางคืน หรือ อาการชักกลางวันหรือกลางคืนมีความแตกต่างกันในผู้ป่วยลมชักที่เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุกับผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังมีชีวิต

การศึกษาพบว่ามี 154 รายที่ยืนยันจากการชันสูตรศพว่าเป็น SUDEP ซึ่งยืนยันโดยพนักงานชันสูตรศพ ประสาทแพทย์ หรือ ญาติที่นำส่ง และมีกลุ่มควบคุมที่เป็นผู้ป่วยโรคลมชัก 616 คน  สภาพแวดล้อมขณะเสียชีวิตได้รับการประเมินว่า SUDEP เกี่ยวข้องกับการนอนหลับหรือไม่ ในรายที่ไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์ SUDEP ถูกจัดว่าเกี่ยวกับการนอนหลับถ้าผู้ป่วยถูกพบว่าเสียชีวิตบนเตียงนอน และมีหลักฐานอื่นๆที่คิดว่ามีการชักเกิดขึ้น เช่น แผลข้างลิ้นจากการกัด ปัสสาวะราด หรือเลือดในปาก จมูก  ในรายที่ SUDEP ไม่พบบนเตียงนอนก็จะจัดในกลุ่มไม่เกี่ยวกับการนอนหลับ ถ้าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และสภาพแวดล้อมการเสียชีวิต ก็ไม่มีจัดในกลุ่ม ?ไม่ทราบ?   นอกจากนี้ในรายที่ไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์ เวลาขณะเสียชีวิตคำนวณโดยใช้เวลาที่มีผู้เห็นผู้ตายครั้งสุดท้ายจนพบว่าเสียชีวิต หารด้วย 2 ถ้าระยะเวลานี้นานกว่า 4 ชม.ก็ไม่นับรวมในการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า SUDEP ส่วนมากไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์ (133/154) และเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (90/154) ,ในกลุ่มที่เป็น SUDEP ลักษณะการชักเป็นตอนกลางคืน 36%, กลางวัน 32% เทียบกับกลุ่มผู้ป่วยลมชักที่ไม่เสียชีวิตมีอาการชักกลางคืน 17%, กลางวัน 58%, ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ทราบลักษณะการชักมี SUDEP 32% และในกลุ่มควบคุม 25% แต่คนที่เสียชีวิตขณะนอนหลับมักมีประวัติชักตอนกลางคืนมากกว่าพวกที่เสียชีวิตตอนตื่น

ผู้ป่วยที่ตายมีอาการชักเป็นตอนกลางคืน 53% ขณะที่กลุ่มควบคุมมีอาการชักเป็นตอนกลางวัน 77%    ผู้ป่วยที่ตายกะทันหันมีประวัติอาการชักตอนกลางคืนมากกว่ากลุ่มควบคุม

ในผู้ป่วยที่ตายกะทันหันสามารถที่จะจำกัดเวลาที่เสียชีวิตแคบเข้ามาในช่วง 4 ชั่วโมงได้ 40 คน การเสียชีวิตจาก SUDEP ที่เกี่ยวกับการนอนหลับพบบ่อยในช่วงเวลาเช้าตรู่ 4.00-8.00 น. ขณะที่การเสียชีวิตจาก SUDEP ที่ไม่เกี่ยวกับการนอนหลับพบบ่อยในช่วง 8.00-12.00 และ 16.00-20.00

การศึกษานี้ยืนยันว่า SUDEP เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและมักไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์ เกิดบ่อยช่วงเช้าตรู่เหมือนกับการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (sudden cardiac death) และการเสียชีวิตของทารก (sudden infant death syndrome) แต่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง SUDEP ที่เกิดตอนนอนหลับและประวัติการชักตอนกลางคืน ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าการชักกลางคืนเป็นตัวบ่งบอกว่าโรคลมชักนั้นรุนแรงหรืออาจเป็นตัวร่วมกันซึ่งคนที่ชักมากมักจะชักทั้งกลางวันและกลางคืน

ความสัมพันธ์ระหว่าง SUDEP และการนอนหลับอาจอธิบายจากระหว่างชักทำให้มีการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติมากระหว่างหลับและทำให้ไปกดการตื่นตัวระหว่างที่ชัก ผู้ป่วยที่ต่อมาเสียชีวิตจาก SUDEP มักมีชีพจรเต้นเร็วมากเมื่ออาการชักเกิดตอนหลับ ซึ่งไม่พบในกลุ่มควบคุมที่เป็นโรคลมชัก

จากการศึกษานี้บ่งชี้ว่ามีการเชื่อมโยงกันระหว่างการชักตอนกลางคืนและความเสี่ยง SUDEP ซึ่งควรจะมีมาตรการเฝ้าระวังในตอนกลางคืน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มักมีอาการชักตอนนอนหลับ

อ้างอิง: Lamberts R, Thijs RD, Laffan A, Langan Y, Sander JW. Sudden unexpected death in epilepsy: People with nocturnal seizures may be at higher risk. Epilpsia 2012; 53:253-257.

ที่มา : http://www.thaiepilepsy.com/index.php?option=com_content&view=article&id=195:sudep&catid=34:epilepsy&Itemid=57

 


Powered by EzPortal