เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: Jacksonian Epilepsy  (อ่าน 3099 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Jacksonian Epilepsy
« เมื่อ: วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2012 เวลา 11:30 น. »
Jacksonian Epilepsy
John Hughlings Jackson (1835-1911)

        ลมชักเฉพาะที่เริ่มด้วยกระตุกที่แขนโดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่มือ  หน้า หรือขาข้างเดียวแล้วแพร่กระจายไปทั้งซีก
เป็นที่รู้จักกันในนามลมชักแบบแจคสัน   การปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าโดยเริ่มจากจุดที่เนื้อสมองบริเวณประสาทสั่งการ
แล้วลามไปส่วนอื่นข้างเดียวกันเป็นการยืนยันการเรียงตัวของเซลล์ประสาทสั่งการในสมองซีกตรงกันข้ามกับแขน ขา
ที่เซลล์นั้นรับผิดชอบซึ่งนายแพทย์จอห์น ฮิวลิงส์ แจคสัน ประสาทแพทย์ชาวอังกฤษเป็นผู้ศึกษาประสาทสรีรวิทยาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เมื่อ ค.ศ. 1868 ขณะที่อายุเพียง 33 ปี  ถึงแม้นายแพทย์บราเวส์ชาวฝรั่งเศสเคยบันทึกไว้
ในวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยปารีส  ก่อนหน้านั้นเมื่อปี ค.ศ. 1827 และต่อมานายแพทย์ริชาร์ด ไบรท์ ที่โรงพยาบาลกายส์
ในลอนดอน เคยรายงานเรื่องลมชักเฉพาะที่เช่นกันแต่ไม่ได้ศึกษาและกล่าวถึงการเรียงตัวของเซลล์ประสาทสั่งการในสมองอย่างเป็นระบบดังเช่นแจคสันศึกษา

        จอห์น ฮิวลิงส์ แจคสัน เกิดที่เมืองกรีนแฮมเมอร์ตัน จังหวัดยอร์คเชียร์  ศึกษาแพทย์ที่เมืองยอร์คและ
ที่โรงพยาบาลเซนต์บาร์โทโลมิวส์ในลอนดอน  หลังสำเร็จเป็นแพทย์ได้หาประสบการณ์เพิ่มเติมที่ยอร์คและที่ลอนดอน
จนปี ค.ศ. 1862 ได้รับแต่งตั้งเป็นประสาทแพทย์ที่ปรึกษาที่โรงพยาบาลแห่งชาติสำหรับผู้ป่วยอัมพาตและลมชัก
(โรงพยาบาลสถาบันประสาทวิทยาแห่งชาติที่ควีนส์ สแควร์ ในปัจจุบัน)  โดยได้รับการสนับสนุนจากนายแพทย์
บราวน์-เซการ์ด (Brown-Sequard)

        แจคสันเป็นประสาทแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งในโลก เป็นนักคิด มีความสนใจและได้ศึกษาเรื่องสำคัญๆ ทางระบบ
ประสาทไว้มากนอกจากลมชัก ประสาทสั่งการเฉพาะที่  แจคสันได้ศึกษาและรายงานภาวะคล้ายฝันและอาการพิสดารต่างๆ จาก temporal lobe epilepsy ไว้  พร้อมทั้งเสนอเรื่องการจัดระดับการทำงานของระบบประสาทไว้เป็นขั้นสูง กลางและต่ำ โดยขั้นสูงควบคุมการทำงานของระดับรองๆ ลงไป  กล่าวถึงอาการ "บวก" และ "ลบ" ซึ่งมีอิทธิพลต่อการนึกคิดของ
ประสาทแพทย์ จิตแพทย์และนักจิตวิทยารุ่นหลังๆ เช่น เซอร์ฟรานซิส วอลซ์ และซิกมุน ฟรอยด์  แม้กระทั่งโอลิเวอร์
แซคส์ ประสาทแพทย์นักเขียนชื่อดังแห่งยุคปัจจุบันยังเคยกล่าวว่า เขาได้รับแรงดลใจจากผลงานของแจคสันไม่น้อย

        มีเกล็ดประวัติศาสตร์น่าสนใจเกี่ยวกับแจคสันที่เห็นสมควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้คือ แจคสันได้แสดงความจำนงไว้
เป็นหลักฐานล่วงหน้าว่า เอกสารส่วนตัวของเขาควรถูกทำลายเมื่อเขาถึงแก่กรรม เวชปฏิบัติ วิธีคิดในรายละเอียดเกี่ยวกับ
ผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ ส่วนใหญ่จึงไม่เป็นที่เผยแพร่ยกเว้นผู้ป่วยที่ Michael Swash และ Jonathan Evans ได้พยายาม
ปะติดปะต่อกับรายงานในวารสาร The Lancet เรื่องผู้ป่วยเป็นโรค external ophthalmoplegia ทำให้แพทย์รุ่นหลังๆ ได้ตระหนักได้ชัดแจ้งถึงความยิ่งใหญ่ของแจคสันในฐานะประสาทแพทย์ทางเวชกรรม  วิธีคิดที่มีเหตุมีผลอย่างลึกซึ้งใน
การศึกษากรณีผู้ป่วยที่เขารักษาและผลงานวิจัยที่ไม่มีเครื่องมือวิจิตรพิสดารอะไร แต่ยังผลล้ำยุคจนเป็นอมตะถึงปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง

1.  Pryse-Phillips W.  Companion to Clinical Neurology.  Little, Brown and Company.  Boston.  1994.
 
2.  John Hughlings Jackson-Wikipedia, the free encyclopedia.

3.  Swash M, Evans J.  Hughlings Jackson's clinical research.  Evidence from contemporary documents.
     Neurology 2006; 67: 666-672.

ที่มา : http://www.athasit.com/article/detail/301

 


Powered by EzPortal