เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: แพ้ยาโรคลมชักสาเหตุจากยีนผิดปกติ  (อ่าน 3747 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
แพ้ยาโรคลมชักสาเหตุจากยีนผิดปกติ
« เมื่อ: วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2011 เวลา 21:13 น. »

แพทย์ มข.พบยีนตัวการแพ้ยาโรคลมชัก ย้ำโรงพยาบาลตรวจหายีนผิดปกติก่อนให้ยา เลี่ยงอาการสตีเวนส์จอห์นสันซินโดรม รายงานการศึกษาพบว่าคนไทยแพ้ยาในกลุ่มคาร์บามาซิปินมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ยาดังกล่าวใช้แพร่หลายในไทย เพื่อรักษาโรคลมชัก ลดอาการปวดบริเวณใบหน้าหลังจากการถอนฟัน และรักษาอาการจิตเวช จึงเป็นประเด็นให้ รศ.วิจิตรา ทัศนียกุล อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) วิจัยยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางพันธุกรรมของยีนในกลุ่ม HLA-B กับการแพ้ทางผิวหนังชนิดรุนแรงที่เกิดจากยารักษาโรคลมชักนี้ งานวิจัยดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2550 หลังจากที่นักวิจัยไต้หวันค้นพบยีน HLA-B*1502 ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการแพ้ยากลุ่มคาร์บามาซิปิน โดยทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นบริเวณผิวหนัง หรืออาการสตีเวนส์ จอห์นสันซินโดรม (SJS) และทอกซิกอิพิเดอร์มอลเนโครไลซิส (TEN) ที่มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น เพื่อยืนยันผลการค้นพบดังกล่าว ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาในกลุ่มประชากรคนไทย จากความร่วมมือของ 9 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ที่ส่งตัวอย่างเลือดอาสาสมัครในกลุ่มแพ้ยา 42 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่แพ้ยาอีก 42 คน เข้าร่วมการทดสอบ "ผลของการวิจัยในมนุษย์ ชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยที่มียีนในกลุ่ม HLA-B มีความเสี่ยงต่อการแพ้ยากลุ่มคาร์บามาซิปิน สูงถึง 55 เท่า ผลการศึกษาดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ Epilepsia ฉบับเดือนพฤษภาคม 2553" รศ.วิจิตรา กล่าว ทั้งนี้ HLA-B เป็นยีนที่ตรวจสอบยากเนื่องจากมีอยู่ ว่า 1,500 ชนิด และ HLA-B ในตำแหน่งที่ผิดปกติ จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นเซลล์อื่นที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ ผลจากการวิจัยข้างต้น ส่งผลให้องค์การอนามัยโลกปรับปรุงฉลากยาคาร์บามาซิปิน โดยระบุว่าคนเอเชียมีความเสี่ยงสูงต่อการแพ้ยาชนิดนี้ หากมียีน HLA-B*1502 อยู่ แม้ในประเทศไทยฉลากยาดังกล่าวยังไม่ได้รับการปรับปรุง แต่ในโรงเรียนแพทย์อย่างจุฬาฯ รามาธิบดีและศิริราชพยาบาล เริ่มตรวจหายีนชนิดนี้ก่อนให้ยาผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดบ้างแล้ว "ก่อนหน้านี้แพทย์ไม่เคยรู้เลยว่า การให้ยากับผู้ป่วยจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ยาหรือไม่ แต่ปัจจุบันเรารู้ว่าพันธุกรรมมีความเสี่ยง และสามารถทำนายความเสี่ยงนั้นได้จากความผิดปกติของยีนที่ตรวจพบ" อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยได้ศึกษาเพิ่มถึงยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ที่ก่อให้เกิดการแพ้ทางผิวหนัง (SJS และ TEN) เช่น อัลโลพูรินอลหรือยาลดกรดยูริกในผู้ป่วยโรคเกาต์ และผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยเคมีบำบัดที่มียีน HLA-B ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้เช่นเดียวกัน แต่อยู่ในตำแหน่งที่ HLA-B*5801 ผลการวิจัยพบมีความเสี่ยงสูงถึง 345 เท่า ซึ่งได้เผยแพร่ลงในวารสาร Pharmacogenetic and Genomics ขณะนี้ทีมวิจัยจากออสเตรเลียมีความสนใจ ที่จะศึกษาต่อยอดจากผลงานวิจัยไทย ส่วนทีมวิจัยไทยจะเดินหน้าศึกษายาในกลุ่มอื่น เช่น Phenytoin หรือยากันชัก เพื่อหาความเสี่ยงที่จะก่ออาการแพ้ต่อไป

http://siweb.dss.go.th/news/show_abstract.asp?article_ID=2825

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Re: แพ้ยาโรคลมชักสาเหตุจากยีนผิดปกติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2011 เวลา 21:20 น. »
สตีเวน จอห์นสัน ซินโดรม เป็นภาวะผื่นแพ้ยารุนแรงที่พบได้บ่อย แต่ท่านผู้รู้หรือไม่ว่ายีนในร่างกายของคนเรามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะดังกล่าว โดยในขณะนี้ได้มีการค้นพบแล้วว่าหากคนไข้มียีนบางตัวจะทำให้เกิดการแพ้ยาในบางกลุ่มได้

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายพันธุศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า สตีเวน จอห์นสัน ซินโดรม พบได้บ่อยในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าประเทศอื่น เป็นกลุ่มอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสพิการและเสียชีวิตมากถึง 30% ผู้ป่วยจะเกิดผื่นแพ้ยาที่ผิวหนังและเยื่อบุทั่วร่างกาย ทำให้ผิวหนังตายและลอกทั้งตัว นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอักเสบของผิวหนังอย่างรุนแรงทำให้มีการหลุดลอกของผิวหนัง

จากฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  (อย.) ในประเทศไทยพบว่า ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วยแพ้ยา ประมาณ 7,000 ราย การรักษาอาการแพ้ยาแบบรุนแรงมีค่าใช้จ่ายสูงมากถึงประมาณ 20,000-100,000 บาทต่อราย

ยาที่ทำให้เกิดการแพ้ได้บ่อย มี 4ชนิด คือ 1. ซัลฟาเมท็อกซาโซน เป็นยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ 2. คาร์บามาซีปีน เป็นยากันชัก 3. อัลโลพูรินอล รักษาโรคเกาต์ และ 4. เนวิราปีน เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์ โดยยาทั้ง 4กลุ่มจะพบการแพ้ได้ประมาณ 1% ของคนไข้ที่รับประทานยาทั้งหมด

นพ.สุรัคเมธ กล่าวว่า กรณีซัลฟาเมท็อกซาโซน เป็นยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ยังไม่รู้ว่ายีนตัวใดที่ทำให้เกิดการแพ้ยา คือมีคนไข้ที่แพ้ยาแล้ว แต่ยังตรวจหาไม่เจอว่าเป็นยีนตัวใด

ส่วนที่รู้ว่ายีนที่ทำให้เกิดการแพ้ยา มี 3 ตัว คือ
 1. ยาคาร์บามาซีปีน เป็นยากันชัก ยีนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงคือ เอชแอลเอ-บี* 1502อัลลีน พบบ่อยในคนจีนและคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรปไม่ค่อยเจอ ในประเทศไทยมีการศึกษายืนยันว่าพบการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงของสตีเวน จอห์นสัน ซินโดรม กับการมียีนเอชแอลเอ-บี* 1502สำหรับคนไข้ที่รับประทานยาคาร์บามาซีปีน โดยการศึกษาทำ 2 ที่ คือ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังทำโครงการพิเศษไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้พิจารณาว่าจะทำการตรวจยีนเอชแอลเอ-บี* 1502 ในคนไข้ทั่วประเทศที่จะต้องใช้ยาคาร์บามาซีปีนหรือไม่ ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สปสช.ว่าจะอนุมัติโครงการ ทั้งนี้หากมีการตรวจหายีนดังกล่าวก่อนที่จะให้ผู้ป่วยใช้ยา ถ้าตรวจพบยีนเอชแอลเอ-บี* 1502 จะได้เลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นก็จะไม่ทำให้เกิดสตีเวน จอห์นสัน ซินโดรม จากการใช้ยานี้อีก เพราะตัวเลขคนไข้ใหม่ที่ต้องรับประทานยาคาร์บามาซีปีนปีหนึ่งมีประมาณ 1-2หมื่นคน แต่ถ้ายาตัวอื่นจะมากกว่านี้

 2. อัลโลพูรินอล เป็นยารักษาโรคเกาต์ ยีนที่ทำให้แพ้คือ เอชแอลเอ-บี*5801

 3. เนวิราปีน เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์ ยีนที่ทำให้เกิดการแพ้คือ เอชแอลเอ-บี* 3505 ซึ่งการค้นพบยีนที่ทำให้เกิดการแพ้เนวิราปีนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ตรวจเจอ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และ รพ.รามาธิบดี ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาในคนไข้ที่รับประทานยาเนวิราปีนแล้วเกิดอาการแพ้และเปรียบเทียบกับคนไข้ที่รับประทานยาแล้วไม่แพ้ทำให้พบยีนเอชแอลเอ-บี* 3505ที่ทำให้เกิดการแพ้ยาเนวิราปีนมากกว่าคนที่รับประทานยาแล้วไม่แพ้

วิธีการตรวจหายีนที่ทำให้เกิดการแพ้ยา คือ จะทำการเจาะเลือดคนไข้ เสร็จแล้วเอามาสกัดสารพันธุกรรม ตรวจดูว่ามีหรือไม่มียีนที่เสี่ยง โดยการตรวจใช้เวลาประมาณ 1 วันและสามารถแจ้งผลได้ภายใน 3 วัน แหล่งที่สามารถตรวจยีนที่มีผลต่อการแพ้ยา คือมหาวิทยาลัยขอนแก่น รพ.รามาธิบดี รพ.จุฬาลงกรณ์ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข้อดีของการตรวจเลือดหายีนแพ้ยา คือ จะทำให้คนไข้ซึ่งจะต้องใช้ยาดังกล่าวไม่ต้องเสี่ยงที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ในขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์ก็ได้ตรวจยีนให้กับสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แต่เป็นการตรวจในเด็กที่แพ้ยาไปแล้วว่ามียีนอยู่จริงหรือไม่ โดยเฉพาะการแพ้ยาคาร์บามาซีปีน หรือยากันชัก ซึ่งผลการตรวจก็พบว่าเด็กที่แพ้ยามียีน เอชแอลเอ-บี* 1502

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดย นวพรรษ บุญชาญ   วันที่ 6 พฤษภาคม 2554

 


Powered by EzPortal