Forum > ทำความรู้จักโรคลมชัก

โรคลมชักไม่ควรชมภาพยนตร์ 3D

<< < (2/2)

Thanks-Epi:
เสริชคำว่า ปัญหาทางสุขภาพจากการใช้จอภาพ 3 มิติ - Engineering Journal  ในกูเกิ้ลค่ะ

4. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้จอภาพ 3 มิติ
เป็นเวลา 10 กว่าปีแล้วที่ได้มีการนาภาพยนตร์ 3 มิติเข้ามาฉายในประเทศไทย โดยในช่วงแรกนั้น ไม่ได้เกิดปัญหาด้านสุขภาพให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งทั้งนี้อาจเป็นเพราะ 1. กลุ่มผู้ดูหนังเป็นเพียงประชากรกลุ่มน้อยเนื่องจากตั๋วมีราคาแพง และยังมีจานวนโรงหนัง 3 มิติอยู่น้อย 2. ภาพยนตร์ 3 มิติส่วนมากฉายในระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง รวมทั้ง 3. ระยะห่างของฉากกับผู้ดูหนังในโรงภาพยนตร์มีระยะห่างกันมากจนเกือบเป็นอนันต์ แต่ปัจจุบันปัจจัยเหล่านี้กลับตรงกันข้ามกับในอดีต เมื่อจอโทรทัศน์ตามบ้านสามารถฉายภาพยนตร์ 3 มิติได้ ทาให้กลุ่มผู้ดูหนังเพิ่มจานวนมากขึ้น ระยะเวลาในการชมก็นานขึ้นเช่น หนังบางเรื่องใช้เวลาฉายมากกว่า 3 ชม. รวมทั้งระยะห่างระหว่างผู้ชมกับจอแสดงภาพก็ใกล้มากขึ้น คือไม่เกิน 5 เมตร (ความกว้างของห้องดูภาพยนตร์ หรือห้องรับแขกทั่วไป) ปัจจัยเหล่านี้ที่ทาให้ลักษณะรูปแบบการใช้งานเปลี่ยนไป ส่งผลให้ภาระงานในการใช้ลูกตาและสมองทางานหนักขึ้น จนเริ่มพบปัญหาทางสุขภาพมากขึ้น
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้ศึกษาการดูภาพสามมิติ ด้วยผู้ทดสอบช่วงอายุ 18-30 ปี โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพสามมิติของมนุษย์กับการสร้างภาพสามมิติเสมือน และได้พบปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมทดสอบ ที่มักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ตาพร่า ปวดหัว และปวดตาอย่างมาก [5] แม้นว่าจะยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ยืนยันอย่างชัดเจนแต่ก็ได้มีการป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจากบริษัทที่ผลิตทีวี 3 มิติ เช่น บริษัทซัมซุงได้ออกเอกสารเตือนการใช้งานทีวี 3 มิติ [6] โดยระบุปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดตา ปวดหัว เวียนหัว หรือเกิดความล้าต่างๆ ขึ้น และ อาจทาให้เสียการควบคุมร่างกายชั่วขณะ สูญเสียความสามารถในการกะระยะด้วยการมอง เสียการทรงตัวได้คล้ายกับอาการเมารถ
นอกจากนี้ในเอกสารการเตือนยังได้เน้นถึง ข้อควรระวังกับผู้ใช้งานที่เป็น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการนอนหลับและผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และให้เฝ้าระวังเด็กและวัยรุ่น เพราะอาจจะเกิดผลกระทบได้ไวกว่าผู้ใหญ่ ที่สาคัญคือให้ผู้เป็นโรคลมชัก หรือโรคทางสมอง หรือมีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นโรคลมชัก หลีกเลี่ยงการดูทีวีสามมิติ หรือควรมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ดูแลให้คาแนะนาในการใช้งาน [6] คาดการว่าการสร้างภาพเสมือน 3มิติ นี้น่าจะมีผลกระทบกับเด็กที่มีอายุต่ากว่า 6 ปี [7] เนื่องจากการพัฒนาการทางสมอง ระบบประสาทและกล้ามเนื้อยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่

------
5. คาแนะนาในการดูจอภาพ หรือทีวี 3 มิติ
เนื่องด้วยทีวี 3 มิตินั้นเป็นเรื่องใหม่ ยังไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบที่ชัดเจน แต่อยู่ในช่วงของการเริ่มมีเสียงร้องเรียนหรือเสียงบ่นจากผู้ใช้งานหลายคน ดังนั้นทางผู้เขียนบทความจึงได้ขอเสนอคาแนะนาในการดูจอภาพ 3 มิติดังนี้
1. ไม่ควรให้เด็กเล็กที่มีอายุต่ากว่า 6 ขวบชม
2. สาหรับเด็ก วัยรุ่น สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ควร
2.1. ตรวจสอบข้อมูลสุขภาพ และโรคทางสมองของผู้ใช้ โดยเฉพาะโรคลมชัก ซึ่งไม่แนะนาให้ชม
2.2. เริ่มให้ชมจากระยะเวลาน้อยๆ ก่อน เช่น 5-10 นาที เพื่อสังเกตอาการ เช่น การทรงตัวหลังการชม
2.3. มีผู้ดูแลที่สามารถปฐมพยาบาลอาการชัก วิงเวียน เป็นลม หน้ามืด อาเจียร อยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version