เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีจัดการเด็กดื้อ..ใช้ได้ทั้งเด็กแข็งแรง และ เด็กโรคลมชัก  (อ่าน 3923 ครั้ง)

ออฟไลน์ chapter

  • Meeting2
  • Jr. Member
  • *
  • กระทู้: 19
วิธีจัดการเด็กดื้อ..ใช้ได้ทั้งเด็กแข็งแรง และ เด็กโรคลมชัก
« เมื่อ: วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2010 เวลา 11:22 น. »
ผมเคยโพสบทความนี้ไว้ในกระทู้ของสมาชิกท่านหนึ่งที่มีลูกเป็นโรคลมชัก ต่อมามีอาการดื้อเอาแต่ใจ

พ่อแม่ส่วนใหญ่ที่ลูกมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็น โรคชัก โรคภูมิแพ้ หรือโรคอะไรต่างๆ ก็ตาม มักจะเกิดความสงสารลูก จนลืมเรื่องการสอนให้เด็กมีวินัย เรียกง่ายๆว่า สงสารลูกจน spoil ลูกโดยไม่ตั้งใจ ทำให้เด็กบางคนเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว หรือ นิสัยดื้อเอาแต่ใจ  ซึ่งการสอนให้เด็กรู้จักสร้างวินัยสามารถทำได้ทั้งในเด็กแข็งแรงและเด็กที่มีโรคประจำตัว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เด็กมีนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ และอาจก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงต่อไปได้

ผมคิดว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์กับพ่อแม่ทุกท่านที่ลูกเริ่มมีอาการดื้อ เอาแต่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกที่แสดงอาการ tantrum (แทรน-ทั่ม) จนเป็นที่ปวดขมองของพ่อแม่นักต่อนักแล้วว่าจะมีวิธีรับมือกับนิสัยเหล่านี้อย่างไร

เผอิญไปเจอบทความดีๆ จากเวปต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวกับเด็ก tantrum  ผมเลยลองเอามาเรียบเรียงรวมๆ กัน เผื่อจะเป็นประโยชน์ครับ  เข้าใจว่าส่วนใหญ่จะพูดถึงหลักการ ส่วนรายละเอียดคงต้องแล้วแต่สถานการณ์ของใครของมันครับ ต้องไปปรับใช้เอาเอง แต่ถ้าเข้าใจหลักการน่าจะปฎิบัติได้มั่นใจกว่า  ลองดูนะครับ ไม่รู้ว่าจะช่วยได้มากแค่ไหน เป็นกำลังใจให้ครับ


จะจัดการอย่างไรเมื่อหนูชอบร้องดิ้นอาละวาด (Tantrum)

           Tantrum หรือการร้องดิ้นอาละวาด เป็นปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยโดยเฉพาะช่วงวัยเตาะแตะ (1-3 ขวบ) มักเกิดเมื่อหนูต้องการจะเอาชนะ หรืออยากได้อยากทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่ห้าม โดยทำได้ตั้งแต่ตีอกชกหัวตัวเอง ทุ่มตัวลงกับพื้น กรีดร้องปานว่าจะขาดใจ จนพ่อแม่รวมทั้งผู้ใหญ่รอบข้างมักจะต้องยอมแพ้ด้วยการตามใจ เพราะทนฟังเสียงร้องไห้ของแก้วตาดวงใจไม่ไหว เมื่อหนูทำสำเร็จซักครั้ง หนูก็จะเรียนรู้ว่ามันได้ผล และพฤติกรรมนี้ก็จะเกิดขึ้นอีกบ่อยๆ
            เชื่อว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดอาการ tantrum เนื่องจากในช่วงอายุดังกล่าวเป็นช่วงที่เด็กมีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีภาวะทางอารมณ์ที่มากขึ้น จนบางครั้งมีความคิดค่อนข้างชวนให้พ่อแม่ปวดสมอง ปวดอารมณ์กับลูกได้ทุกวัน เพราะลูกเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง หรือภาษาไทยน่าจะเรียกว่า "เด็กดื้อ"                  
        ...ใครที่มีน้องเล็กๆ อายุ 3-4 ขวบ อาจจะได้พบเหตุการณ์ เวลาที่น้องโดนขัดใจ แล้วน้องลงไปดิ้นกับพื้น หรือกรีดร้องโวยวาย ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้จะทำอย่างไรดี
       .... อายก็อาย   จะทำอย่างที่เด็กเรียกร้องทุกครั้ง ก็กลัวจะตามใจเค้ามากไป เดี๋ยวโตมาเป็นเด็กเอาแต่ใจจะแย่
       .... โกรธก็โกรธ จะตี ดุเสียงดัง ก็กลัวว่าจะถูกหาว่าเป็นพ่อแม่ใจร้าย น้องก็ทั้งร้องทั้งดิ้นเสียงดัง วี๊ด...วี๊ด... ชาวประชาก็มองกันใหญ่สิ ไม่เคยร้องไห้กันรึไง ตอนเด็กๆ น่ะ!

       หลักการที่สำคัญที่สุดในการปรับพฤติกรรมก็คือ ความสม่ำเสมอ เวลาลูกมีอาการพวกนี้ พ่อแม่และทุกคนในครอบครัวต้องร่วมมือพร้อมใจกัน ต้องมีปฏิกิริยากับพฤติกรรมนั้นเหมือนๆ กัน ไม่ใช่พ่อตั้งใจปรับ แต่ยายยอมตามใจหลานซะงั้น  นอกจากนี้ความสม่ำเสมอยังหมายถึงทุกครั้งที่ลูกแสดงอาการพวกนี้ เราก็ต้องมีการตอบสนองเหมือนกันทุกครั้ง ไม่ใช่ว่าครั้งนี้อยากปรับพฤติกรรมลูก อีกครั้งยอมลูก อย่างนี้ลูกจะเข้าใจว่า ตกลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมดีบังคับพ่อแม่ได้แต่ฉันต้องใช้ความพยายามขึ้นอีกนิด... เสร็จลูกอีกจนได้ พ่อแม่แพ้ฉันตามเคย อิอิ
       และอีกข้อที่สำคัญคือ พ่อแม่และคนดูแลลูกต้องตั้งสติให้ดีก่อนปรับพฤติกรรมลูก อย่าใช้อารมณ์เด็ดขาด ต้องเริ่มที่ว่า เรากำลังจะฝึกวินัยลูกของเรา ไม่งั้นโตขึ้นลูกเราเข้าสังคมแล้วมีปัญหา


            หลักการจัดการเวลาเด็กร้องดิ้นอาละวาด ก็ไม่ต่างกับหลักการปรับพฤติกรรมที่มีปัญหาอื่นๆคือ เมื่อเราไม่ต้องการให้หนูทำพฤติกรรมใด เราก็ต้องไม่ให้ความสนใจ (ignorance) กับพฤติกรรมนั้น แต่ขณะที่เราแสดงให้หนูเห็นว่าผู้ใหญ่ไม่สนใจ ก็ต้องแน่ใจว่า เด็กอยู่ในที่ๆปลอดภัย ไม่เกิดการบาดเจ็บ หรือข้าวของเสียหาย
            ถ้าเกิดอาการที่บ้าน พ่อแม่ก็คงสามารถจัดการได้ไม่ยาก แต่หากเกิดในที่อื่นๆ เช่นที่สาธารณะ ในห้าง ในร้านอาหาร ต่อหน้าผู้คนมากมาย ก็คงไม่สามารถแสดงความไม่สนใจหรือเดินหนีตรงนั้นได้ แต่สามารถจัดการได้โดย อุ้มเด็กไปที่ที่เงียบสงบ เช่น ในรถ ที่บันไดหนีไฟ หรือมุมของห้างที่มีคนน้อย และให้หนูได้ร้องจนเต็มที่จนหนูเหนื่อยและหยุดเอง ผู้ใหญ่อาจบอกว่า "แม่รู้ว่าหนูโกรธ หนูร้องออกมาได้ลูก พอลูกร้องพอแล้วเราจะเข้าไปเที่ยวในห้างต่อ แต่ถ้าหนูไม่หยุดร้องก็ไม่เป็นไร เราก็กลับบ้านกันเลย" โดยไม่ใช้น้ำเสียงที่เกรี้ยวกราด หรืออ่อนโยนเกินไป แต่เลือกใช้น้ำเสียงที่นิ่งไม่แสดงอารมณ์ และมั่นคง เพื่อให้หนูรู้ว่า ร้องยังไงผู้ใหญ่ก็ไม่เปลี่ยนใจ

          ไม่ต้องตามใจ .... เพื่อให้เค้าเรียนรู้ว่า ถ้าดิ้นแบบนี้เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทำแล้วก็จะไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

          ไม่ต้องทำโทษด้วยการตี ... พ่อแม่ส่วนใหญ่เวลาตีเด็กมักจะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ถึงได้ตี  ซึ่งเป็นอันตรายอาจพลั้งมือได้ และส่วนใหญ่จะมานั่งเสียใจหลังจากตีลูกไปแล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ แม้ว่าการตีจะเป็นการทำให้เด็กกลัวและหยุดการกระทำนั้น แต่ไม่ได้สร้างการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว และที่สำคัญ

      ให้เวลาเด็กๆ อยู่เงียบๆ สักพัก บอกน้องดีๆ ว่าการทำแบบนี้พ่อแม่ไม่ชอบนะ ในต่างประเทศเค้าจะใช่วิธีทำโทษด้วยการทำ time-out เหมือนเป็นการให้เด็กรับรู้ว่าการทำแบบนี้เป็นสิ่งไม่ดี เทคนิคนี้คนไทยอาจยังไม่ชิน แต่ส่วนมากมักได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ

      การจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจ เพียงแต่เมื่ออยู่ในเหตุการณ์จริง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มักใช้อารมณ์เป็นตัวนำ และทำให้พลาดโอกาสที่จะแก้ไข ดังนั้น ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่มองให้ออกว่า หนูร้องดิ้นอาละวาดเพราะอะไร และจะสงบอารมณ์นั้นของลูก (รวมทั้งระงับอารมณ์โกรธของตัวเราเอง)ได้อย่างไร โดยไม่ต้องตามใจ และลูกรับรู้ว่าเราเข้าใจอารมณ์ของเขา แต่ไม่ยอมเปลี่ยนใจกับสิ่งที่เราห้าม สุดท้ายพฤติกรรมนั้นก็จะหายไป และความรู้สึกของทั้งเราและลูกก็ยังดีต่อกันอยู่ แต่หลังจากนั้นแน่นอนว่า เจ้าตัวน้อยแสนฉลาดของคุณก็อาจจะคิดหาวิธีเอาชนะคุณใหม่ๆมาอีกเรื่อยๆ ซึ่งคุณก็คงต้องเตรียมหาวิธีรับมือเช่นกัน  

แล้วเมื่อไรถึงจะต้องพาไปพบแพทย์?

       ถ้าเด็กๆ อารมณ์รุนแรงถึงขั้นทำร้ายตัวเองหรือคนอื่นให้บาดเจ็บ หลายครั้งๆ หรือถ้าหากคุณพ่อคุณแม่กังวลมากว่าน้องจะผิดปกติรึเปล่า อาการมันแปลกๆ ก็อาจจะลองพาไปคุยกับคุณหมอได้ ในเมืองนอกบอกว่าถ้าอายุมากกว่า 4 ขวบ แล้วยังเป็นอยู่ควรพาไปหาหมอ

      ยังมีรายละเอียดของเทคนิคการปรับพฤติกรรมอีกมากมาย เช่นการย่อตัวลงไประดับเดียวกับเด็ก การให้เด็กมองหน้าขณะที่เราบอก หรือ การใช้น้ำเสียง สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ทักษะ คือ ฝึกบ่อยๆ ฝึกซ้อมก่อนไปเจอสถานการณ์จริง ไม่งั้นพ่อแม่ก็ควบคุมเหตุการณ์ตรงนั้นไม่ได้  เทคนิคต่างๆเหล่านี้สามารถปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญได้ (แพทย์บางคนก็ไม่ชำนาญ ต้องเลือกดีๆ )  หรือปรึกษาจากพ่อแม่ที่ปรับพฤติกรรมลูกที่ tantrum ของตนได้สำเร็จ ก็น่าจะดี

สู้ ๆ ต่อไปครับ เพื่ออนาคตของลูกเรา รีบแก้วันนี้ดีกว่าไปแก้ตอนเป็นเยอะกว่านี้  เหนื่อยหน่อยแต่ต้องอดทนจริงๆ อ่ะ เป็นกำลังใจให้พ่อแม่ทุกท่านครับ

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: วิธีจัดการเด็กดื้อ..ใช้ได้ทั้งเด็กแข็งแรง และ เด็กโรคลมชัก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:39 น. »
ขอบคุณมากครับ
เดี๋ยวคงต้องปรับใช้บ้างแล้ว
น้องเทรนด์เดี๋ยวนี้ แกเอะอะนิดหน่อยก็ร้องโวยวาย

เช่น เหลือบไปเห็นตุ๊กตาพี่ลิงเข้า แล้วกลิ้งไปเอา แต่เอื้อมไม่ถึง แค่ลองเอื้อมครั้งแรกเท่านั้นน๊ะครับ
แล้วไม่ถึง แกโวยวายเว่อร์มากทีเดียว คงใจร้อนด้วย ยังไม่ทันจะพยายามเลย
คงต้องจัดการขั้นเด็ดขาดแล้ว อิอิ
สู้สู้

ออฟไลน์ jelly

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 487
Re: วิธีจัดการเด็กดื้อ..ใช้ได้ทั้งเด็กแข็งแรง และ เด็กโรคลมชัก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2010 เวลา 20:31 น. »
น่าจะเป็นกระทู้ผมเองหละมั้ง เด็กดื้อเนี่ย 555
เป็นบทความที่ดีมากครับ ขอบคุณคุณ chapter ครับ
โรคลมชัก Infantile sapsms
Diagnosed IS 10 June 2009
รักษาด้วย Sabril+Dapakine
Seizure free since 11 June 2009
Meds free since 1 Sept 2011
Dr.มนตรี แสงภัทราชัย
รพ.กรุงเทพ

ออฟไลน์ chapter

  • Meeting2
  • Jr. Member
  • *
  • กระทู้: 19
Re: วิธีจัดการเด็กดื้อ..ใช้ได้ทั้งเด็กแข็งแรง และ เด็กโรคลมชัก
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2010 เวลา 09:30 น. »
ตกลงว่า ตอนนี้ได้ผลดีมั้ยครับ หรือยังเจอปัญหาอะไรอยู่รึป่าวครับ คุณพ่อน้อง Jelly

 


Powered by EzPortal