แบ่งปันความรู้โรคลมชัก

สนทนาได้ความรู้ => ห้องฝึกพัฒนาการ => ข้อความที่เริ่มโดย: Thanks-Epi ที่ วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม 2014 เวลา 10:23 น.

หัวข้อ: อาชาบำบัดเหมาะกับเด็กลมชักหรือเปล่า
เริ่มหัวข้อโดย: Thanks-Epi ที่ วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม 2014 เวลา 10:23 น.
http://www.happyhomeclinic.com/alt13-hippotherapy.htm

อาชาบำบัด หรือการนำม้ามาช่วยในการบำบัด เรียกว่า Hippotherapy ซึ่งคำว่า Hippo มาจากภาษากรีก แปลว่า ?ม้า? ส่วนคำว่า therapy แปลว่า ?การบำบัด?

มีงานวิจัยที่สนับสนุนให้เห็นถึงผลดีของอาชาบำบัดมากพอสมควร โดยมักได้ผลดีกับเด็กพิเศษกลุ่มที่มีความผิดปกติด้านระบบการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เช่น โรคสมองพิการหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ซีพี (C.P. ย่อมาจาก cerebral palsy)

นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ในการบำบัดกลุ่มเด็กออทิสติกที่มีปัญหาทางด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน

การอยู่บนหลังม้าได้ดี จะต้องมีการทรงตัวที่ดี มีสัมผัสที่แนบแน่นกับตัวม้า คือขาต้องหนีบไว้ข้างลำตัวม้าตลอด และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการขี่ม้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นทักษะที่ได้เพิ่มขึ้นจากการขี่ม้าโดยอัตโนมัติ

จังหวะการก้าวย่างของม้าใกล้เคียงกับจังหวะการก้าวเดินของมนุษย์ เมื่อเด็กพิเศษได้มีโอกาสนั่งบนหลังม้า ก็เปรียบเสมือนกับการได้ฝึกเดินด้วยตัวเอง นอกจากนี้การนั่งบนหลังม้า ยังเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้เคลื่อนไหวเป็นจังหวะ เพราะต้องขยับอิริยาบถตลอดเวลา ซึ่งสามารถช่วยลดอาการเกร็งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เสมือนการทำกายภาพบำบัดรูปแบบหนึ่ง

นอกจากนี้เด็กยังได้ฝึกฝนการปรับตัวของสภาพร่างกายให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้รับจากการประคองตัวให้สามารถนั่งอยู่บนหลังม้าได้นั่นเอง โดยร่างกายจะมีการปรับตัวเองเป็นเสมือนกลไกอัตโนมัติ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นสัญชาตญาณความอยู่รอดของมนุษย์ที่พยายามจะรักษาสมดุลของร่างกายไม่ให้ตกลงมาจากหลังม้านั่นเอง

อาชาบำบัด เราจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆประกอบด้วย ในเด็กบางรายที่มีอาการกระตุกมากๆ ก็ไม่ควรใช้วิธีการนี้ในการบำบัด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ขณะทำการขี่ม้า  
ม้าที่นำมาใช้ในการบำบัดมักเป็นม้าลูกผสม (pony) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ตัวไม่ใหญ่มากนัก ความสูงไม่เกิน 14 แฮนด์ (1 แฮนด์ สูงประมาณ 10 เซนติเมต ) เหมาะสำหรับเด็กเป็นอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องมีการฝึกฝนม้าเป็นอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญด้วย

อาชาบำบัด เริ่มมีการนำมาใช้ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ โดยการขี่อยู่บนหลังม้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ ความภาคภูมิใจ และลดความกลัว และเริ่มแพร่หลายในยุโรป และอเมริกาเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 โดยเน้นในเชิงของกายภาพบำบัดเป็นส่วนใหญ่

สำหรับในประเทศไทยเอง เริ่มมีการนำม้ามาช่วยในการบำบัดกลุ่มเด็กพิเศษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 โดยกองกำกับการตำรวจม้า ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากที่เคยดำเนินการสอนคุณ พุ่ม เจนเซ่น ขี่ม้าและบำบัด ตามรับสั่งของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
หัวข้อ: Re: อาชาบำบัดเหมาะกับเด็กลมชักหรือเปล่า
เริ่มหัวข้อโดย: Thanks-Epi ที่ วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม 2014 เวลา 10:35 น.
ความรู้สึกต่ายตอนช่วงคุมชักยังไม่ได้ แม้แต่การนั่งชิงช้าเตี้ยๆของเด็กยังรู้สึกกลัว เวิ้งว้าง เครียด เพราะต้องบังคับตัวเองตลอดเวลา
อ.โยธินเคยบอกว่า การทรงตัวไม่ดี เกิดได้จาก ยาลมชัก และการคุมชักไม่ได้ ทั้ง 2อย่างรวมกัน

ปัจจุบันคนนิยมใช้การบำบัดหลายประเภทเข้าช่วยในพัฒนาการ ซึ่งต่ายกลับมองว่า อาชาบำบัดสำหรับเด็กลมชักที่ยังคุมชักไม่ได้ดีจริงๆ เป็นเรื่องน่าเสี่ยงพอๆ กับการห้ามขับรถ (เพียงแต่ม้ามีคนจูง) แต่คนจูงก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องลมชัก หรือสังเกตุอาการเป็น
อาชาบำบัดนั่งราวๆ 1/2 - 1 ชม. ถือว่า ระยะเวลานานมากที่จะก่อให้เกิดความเครียด

การฝึกการทรงตัวมีหลายแบบ เริ่มตั้งแต่ง่ายๆที่สุดและปลอดภัย
-เดินบนเส้นตรงของกระเบื้อง หรือถ้าไม่มีใช้เทปคาดแล้วให้เด็กเดิน (ให้เด็กกางแขนเพื่อปรับสมดุลช่วยจะดีมากค่ะ) ถ้าล้มก็ไม่เจ็บมาก
-การฝึกเดินบนสะพานตามตลาด หรือปูนก่อรถกันไหล (  ;D ต่ายใช้วิธีนี้...ฟรี..และได้ทุกวันด้วย ;D) หรือทำสะพานให้เด็กเดิน
-การปีนป่ายเชือกผูกแล้วเด็กไม่เกิดอาการเกร็งตัว มีความคล่องแคล่วพอที่จะหาทางปีนต่อไปเรื่อยๆ
-ถีบจักรยาน 2 ล้อได้ดีหรือยัง

ต่ายคิดว่า การใช้อาชาบำบัดต้องใช้วิจารณญาณอย่างมากๆ สำหรับเด็กที่มีอาการชักร่วมด้วย แม้จะคุมชักได้แล้วหลายปี ต่ายก็ยังไม่สามารถนั่งชิงช้าเร็วๆได้ ต้องค่อยๆฝึกจนชิน (ปัจจุบันคือเล่นเครื่องเล่นที่ดรีมเวลด์ได้ปกติแล้ว)

ทั้งนี้ทั้งนั้นออกตัวว่า ไม่ได้ต่อต้านวิธีอาชาบำบัดนะค่ะ เพราะมีงานวิจัยรองรับมากมาย  แต่ผปค.ควรระมัดระวังอย่างมาก

ถ้าในเด็กที่ฝึก SI ค่อยข้างได้ผลดีแล้ว นักกิจกรรมแนะนำให้ไปเล่นกีฬา ต่ายแนะนำปิงปองค่ะ เพราะ
-มีอัตราส่วนในการบาดเจ็บน้อยกว่ากีฬาทุกชนิด (อันนี้น่าจะสำคัญสำหรับเด็กลมชัก)
-ฝึกหลายระบบรวมกัน แขน ขา มือ จำกัดแรง สายตา ฯลฯ พร้อมกัน ใช้สมาธิค่อนข้างมาก
-กรณีที่เด็กยังเข้าสังคมไม่ได้ดี การเล่นแบบ 1 ต่อ 1 ทำให้เด็กกล้ามากกว่า การลงสนามที่มีเพื่อนเล่นหลายคน เป็นการฝึกความมั่นใจ (จากเดิมเล่นฟุตบอลแบบกลุ่มเข้าไปปะทะไม่ได้  จนกลายเป็นกล้าเข้าไปแย่งเตะบอลแม้อีกฝ่ายจะตัวโตกว่า)  และการเล่นสมมติ theme บาดเจ็บก็ดีขึ้นในช่วงที่ฝึกปิงปอง รู้จักแปลงร่างโดยใช้ของอื่นมาแต่งตัว คือเด็กมีจินตนาการว่า ตัวเองมีพลังมากขึ้น  (ซึ่งตรงนี้พัฒนาต่อยอดมาจากอย่างอื่นด้วยไม่ใช่จากปิงปองอย่างเดียวค่ะ)

สำหรับลูกต่าย การเล่นปิงปองได้ผลดีมากสำหรับอาการเขา ยาค่อยๆลดลงเรื่อยๆ อีกแล้ว  ;D