Forum > แชร์ประสบการณ์โรคลมชัก

การประมวลผลการรับความรู้สึก ( Sensory Integration : SI)

(1/5) > >>

jelly:
วันนี้ว่างๆ ขอเอาสิ่งที่เยลลี่ไปฝึกพัฒนาการมาแชร์ให้เพื่อนๆอ่านกันครับ

สิ่งที่เยลลี่ได้รับการฝึกอยู่ทุกๆอาทิตย์เรียกว่า " การประมวลผลการรับความรู้สึก ( Sensory Integration : SI)"

การประมวลผลการรับความรู้สึกคืออะไร
การประมวลผลการรับความรู้สึก (Sensory Integration) เป็นกระบวนการทางระบบประสาทที่มีมาตั้งแต่กำเนิดส่งผลต่อการรับความรู้สึก การประมวลผล และการแปลผลข้อมูลของสมอง ซึ่งได้จากการกระตุ้นจากสอ่งแวดล้อม ความผิดปกติของการประมวลผลการรับความรู้สึก เป็นความผิดปกติที่ข้อมูลการรับความรู้สึกต่างๆที่สมองรับเข้าไป ไม่ได้ประมวลผลหรือไม่ได้เกอดการจัดระเบียบอย่างเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่หลากหลายในด้านพันาการและพฤติกรรม

ระบบการทรงตัว (Vestibular System)
ระบบนี้มีอวัยวะการรับความรู้สึกอยู่ในหูชั้นใน จะทำงานทันทีที่ศีรษะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากแนวกลางลำตัว ส่งผลให้ร่างกายสามารถรักษาสมดุล ไม่ล้มลงเมื่อมีการเคลื่อนไหว คนที่มีปัญหาในระบบนี้ อาจแสดงออกโดยการแสดงอาการกลัวเมื่อต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่บนพื้นที่ไม่ราบเรียบ โยกเยก สูงจากพื้น ทำให้มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่งุ่มง่าม ไม่คล่องแคล่วสมวัย ไม่ชอบปีนป่ายหรือขึ้นลงบันได หรือในบางคนจะมีลักษณะกระตุ้นตัวเอง คือ ชอบหมุนตัวเอง มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา อยู่ไม่นิ่ง เป็นต้น

ระบบการรับความรู้สึกที่กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive System)
ระบบนี้มีอวัยวะรับความรู้สึกอยู่ที่กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อทั่วร่างกาย ซึ่งจะทำงานทันทีที่ข้อต่อถูกกระแทกเข้าหากันหรือถูกดึงออกจากกัน ส่งผลให้เรารับรู้ตำแหน่งส่วนต่างๆของร่างกาย และทราบถึงทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนไหวของแขนขาได้ดี คนที่มีปัญหาในระบบนี้ มักแสดงพฤติกรรม หกล้มบ่อย มีความยากลำบากในการใช้มือ ไม่สามารถกะแรงที่ต้องใช้ในกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม เช่น เขียนหนังสือด้วยแรงกดที่มากเกินไปจนกระดาษทะลุ หรือเขียนเส้นบางมากจนเกินไป

ระบบการรับสัมผัส (Tactile System)
ระบบนี้มีอวัยวะการรับความรู้สึกสัมผัสทั่วร่างกาย เพื่อรับความรู้สึกสัมผัส เจ็บ ร้อน เย็น แรงกด คนที่มีปัญหาในระบบนี้ สามารถสังเกตได้จากการพฤติกรรมเดินเขย่งปลายเท้า รับประทานอาหารแบบซ้ำๆ มีความยากลำบากในการปรับตัวเข้ากับคนแปลกหน้า เปลี่ยนแปลงยาก ไม่ชอบใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ ทำให้นำไปสู่พฤติกรรมแยกตัว หันเหความสนใจง่าย พัฒนาการของการใช้มือล่าช้ากว่าวัย เป็นต้น

การเกิดความผิดปกตินั้นอาจเกิดกับระบบใดเพียงระบบหนึ่ง หรือเกิดร่วมกันหลายระบบก็ได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาพฤติกรรมในหลายๆด้านร่วมกัน เช่น การรับรู้ด้านภาษาที่ช้ากว่าวัย ความสามารถในการมีสมาธิที่จะทำงานต่างๆอย่างมีจุดมุ่งหมาย การหันเหความสนใจง่าย การปรับตัวที่ยากลำบาก พฤติกรรมก้าวร้าวหรือถดถอย เป็นต้น


ขอบคุณข้อมมูลจาก special child center ครับ

หลักๆ ที่เยลลี่บกพร่องคือ การทรงตัว เช่น หกล้มง่าย ไม่มีการพยุงตัว กล้ามเนื้อข้อต่อ พวกกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กต่างๆครับ ทุกวันนี้ก็ยังฝึกไปเรื่อยๆทุกอาทิตย์ครับ

sorada:
น้องเยลลี่ฝึกที่ไหนคะเผื่อพาน้องกรไปบ้างคะ

jelly:
เยลลี่ฝึกที่ รร รุ่งอรุณ ซอย พุทธบูชาครับ 

sorada:
ต้องไปทุกวันหรือเปล่าคะ

jelly:
หลักๆ ที่เยลลี่ฝึกทุกอาทิตย์ เช่น
1.หยิบ ปั้น ดินน้ำมัน ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก นิ้วมือ
2.เดินทรงตัวบนรางเดี่ยว ถ้าที่บ้านก็ใช้อิฐบล็อคเรียงยาวๆ แล้วเดินบนนั้น
3.นั่งชิงช้าแก่วง หน้า-หล้ง ซ้าย-ขวา ครูบอกว่าเรื่องของบาลานซ์ กล้ามเนื้อหลัง
4.นั่งลงในบ่อถั่วแดงค้นหาลูกแก้ว หาตุ๊กตาสัตว์ตามที่ครูขอ ฝึกสายตา ความเข้าในคำสั่ง
5.ถือถังน้ำสองมือแล้วเดินทรงตัว ไป-กลับ
6.ครูจับขาแล้วเยลลี่เดินท่าไถนา ฝึกกล้ามเนื้อแขน
7.นั่งทรงตัวบนบอลโยคะ ครูจับสะโพก
8.นอนคว่ำบนบอลโยคะ แล้วเอาห่วงยางใส่ลงแท่งไม้ ฝึกสายตา คอ
9.นั่งวาดรูป ระบายสี ฝึกสมาธิ

มีอีกหลายอย่างครับจะทยอยมาเล่า

ทั้งหมดที่ฝึกนี้ ผมว่าไม่จำเป็นต้องทำได้อย่างดีเยี่ยมครับ แค่เข้าใจคำสั่ง ทำตามที่ครูสั่ง มีสมาธิ มีความตั้งใจ มีความอดทนในการทำ ก็ถือว่าค่อยๆพัฒนาแล้วครับ
เยลลี่ยังมีวอกแวกบ้างเวลาทำกิจกรรมแล้วมีเพื่อนเล่นอยู่ข้างๆ ครูก็จะคอยเรียกให้มีสมาธิในงานของตัวเอง

เยลลี่ฝึกแบบนี้ทุกอาทิตย์ตั้งแต่รู้ว่าเป็นโรคลมชัก จนถึงวันนี้ก็เป็นเวลาปีกว่าที่ฝึกแล้ว ถึงแม้พัฒนาการโดยรวมยังไม่สามารถเท่าเด็กในวัยเดียวกัน แต่สิ่งที่ผมเห็นคือเยลลี่มีการพัฒนาที่ดีขึ้นเรื่อยๆถึงแม้จะแบบค่อยเป็นไป แต่อะไรที่ที่ดีขึ้นมันก็เป็นสิ่งที่เราดีใจมากๆครับ

ผมเคยถามครูว่าบางอย่างฝึกไปทำไม ครูบอกว่าฝึกให้มีสมาธิ จดจ่อกับงานที่ตัวเองได้รับคำสั่ง ซึ่งเด็กจะไปเจอจริงๆ เวลาเข้าโรงเรียนครับ


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version