เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: 5 เทคนิคคิดก่อนพาเจ้าหนูไปดูหนัง  (อ่าน 2211 ครั้ง)

ออฟไลน์ mami1414

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 7
5 เทคนิคคิดก่อนพาเจ้าหนูไปดูหนัง
« เมื่อ: วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2013 เวลา 02:06 น. »


วิธีการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเจ้าตัวน้อย โดยการพาเจ้าหนูจอมซนไปเปิดหูเปิดตานอกบ้านบ้าง เป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีทางหนึ่ง และการเลือกสถานที่ เลือกเหตุการณ์ที่จะพาไปก็เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึง
โรงหนังเป็นสถานที่หนึ่ง ที่มีความน่าสนใจเฉพาะตัว ถ้าคุณพ่อคุณแม่คู่ไหนไม่ชอบดูหนังก็อาจจะไม่คิดที่จะพาลูกเข้าโรงหนัง แต่ถ้าใครเป็นคอหนังตัวยงค์แล้วล่ะก็ หากพบหนังดีๆที่เหมาะกับวัยของลูก ก็นับว่าเป็นโอกาสดีที่ช่วยลูกเพิ่มประสบการณ์อีกด้านหนึ่ง หากคุณพ่อคุณคิดว่าจะพาเจ้าหนูน้อยของคุณไปดูหนัง สิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อมมีอะไรบ้าน
 
1.แปลงบ้านเป็นโรงหนัง
เพื่อลองทดสอบความพร้อมของลูก คุณพ่อคุณแม่อาจลองจำลองบรรยากาศโดยปิดม่านหน้าต่าง หรี่ไฟลง จัดเก้าอี้เรียงเป็นแถว แล้วเปิดภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดี ก่อนดูก็บอกลูกให้เข้าใจมารยาทพื้นฐาน เช่น ไม่เดินไปเดินมา ไม่คุยกันเสียงดัง เป็นต้น อธิบายให้เข้าใจว่า ถ้าไม่ทำตาม คุณจะพาออกจากโรงภาพยนตร์ วิธีนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจกฎกติกาและคุ้นชินกับบรรยากาศที่จะต้องเจอได้

2.ไปเมื่อไหร่ อย่างไรดี
โดยทั่วไปเด็กจะพร้อมเข้าโรงหนังตอนอายุประมาณ 3-4 ขวบ เพราะเด็กในวัยนี้ จะมีสมาธิพอที่จะอยู่นิ่งชมภาพยนตร์ความยาวเป็นชั่วโมงได้ รอบหนังและที่นั่งก็เป็นเรื่องที่จะมองข้ามไม่ได้ รอบที่เหมาะสำหรับเด็ก คือรอบเช้า เพราะคนไม่แน่นจนเกินไป หมดปัญหาคนเยอะนั่งบังจนเด็กมองไม่เห็นจอ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกที่นั่งด้านหน้าและอยู่ใกล้ทางเดิน เพื่อความสะดวกในการลุกเดินออกไป หากเด็กต้องการเข้าห้องน้ำระหว่างที่ภาพยนตร์ฉายอยู่

3.หนังเข้าใหม่ ไม่ใช่คำตอบเสมอไป
คุณพ่อคุณแม่อาจจะอยากชมภาพยนตร์ที่เพิ่งเข้าโรง แต่อย่าลืมว่าตอนนี้เรามีเจ้าตัวเล็กไปดูด้วยแล้ว จะเอาสนุกเข้าว่าก็คงไม่ได้ ต้องเลือกให้เหมาะกับลูกของเราด้วย หลักพิจารณาคร่าว ๆ คือ

  ขั้นแรก ดูเรตก่อน เรตที่เหมาะสำหรับเด็กคือ G และ PG
  ขั้นสอง ลองอ่านบทวิจารณ์และพิจารณาเนื้อหาว่าเหมาะสมกับลูกเราหรือไม่ ประเภทของหนังที่ควรหลีกเลี่ยงคือ แนวแอ็คชั่นและสยองขวัญเพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับเด็ก และมักมีเสียงประกอบที่ดังเกินไป
  ขั้นสาม เช็กรอบที่ฉายล่วงหน้า และตกลงกับลูกให้เรียบร้อยว่าจะพาเขาไปดูเรื่องอะไรวันไหน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหางอแงร้องดูเรื่องอื่นอยู่หน้าโรง

4.ไปก่อนเวลาฉายเสมอ
เพื่อที่จะได้เลือกที่นั่งที่ต้องการก่อนเข้าชม ก็จัดการให้ลูกกินอาหารและเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วพาเข้าไปขณะที่ยังเปิดไฟอยู่ เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้มีเวลาอีกเล็กน้อยในการดูแลแจกขนมแจกน้ำให้ลูก อย่างไม่ฉุกละหุก อีกอย่างการเข้าไปตอนที่ยังเปิดไฟออยู่ ยังทำให้ดูแลลูกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

5.หากยังไม่ได้ผล อย่าเสียดายเงิน
คุณพ่อคุณแม่จะพาเขาออกจากโรงภาพยนตร์กลางคันก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเสียดายเงิน ค่าตั๋ว ค่อยๆพูด ทำความเข้าใจ เพราะว่าลูกเองอาจยังไม่พร้อม คุณอาจต้องรออีกสักระยะแล้ว ค่อยพามาลองใหม่

Tips คุณพ่อคุณแม่อาจสวมที่ปิดหู (earmuffs) ให้ลูกได้ในช่วงที่มีเสียงประกอบค่อนข้างดัง
       ในเมืองไทยมีโรงหนังสำหรับเด็ก โดยเฉพาะ เช่น EGV สาขาฟิวเจอร์ พาร์ค

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก Mother & Care
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2017 เวลา 12:39 น. โดย NONG »

ออฟไลน์ Karaholt

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • maxbet
Re: 5 เทคนิคคิดก่อนพาเจ้าหนูไปดูหนัง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันพุธที่ 02 ธันวาคม 2015 เวลา 16:55 น. »
เป็นกิจกรรมร่วมกันที่ดี แต่ต้องคิดให้รอบครอบเพราะต้องระวัง

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
Re: 5 เทคนิคคิดก่อนพาเจ้าหนูไปดูหนัง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2016 เวลา 10:45 น. »
นั่นสิ เด็กชักในโรงหนังคงจ้าละหวั่นแน่ๆ
แสงไฟ/เสียงก็เร้ากระตุ้นชัก

ยังไม่นับถ้าเด็กติดreflex ต่างๆ คงได้ overload/underload กันสนุกแน่ๆ
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

 


Powered by EzPortal