เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อลูกชักจะทำอย่างไร  (อ่าน 3836 ครั้ง)

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
เมื่อลูกชักจะทำอย่างไร
« เมื่อ: วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2010 เวลา 23:02 น. »
ผศ.นพ.สุรชัย  ลิขสิทธิ์วัฒนกุล ภาควิชากุมาเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

                เป็น ธรรมดาของพ่อแม่ทุกคน ถ้าลูกของตนเองมีอาการชักเกร็งหรือชักกระตุกทั้งตัว(โรคลมบ้าหมู) คงรู้สึกตกใจ และวิตกกังวลว่าหลังจากมีอาการชักแล้ว ลูกของตนอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาเช่น ปัญญาอ่อน พิการทางสมอง หรือบางท่านอาจจะคิดว่าอาการชักอาจทำให้ลูกของท่านถึงขั้นเสียชีวิตได้

                 สาเหตุ ของอาการชักนั้นมีหลายสาเหตุ อาจจะเกิดจากภาวะหรือโรคบางชนิด แต่ที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือภาวะชักจากไข้ซึ่งเป็นภาวะชักที่พบได้บ่อยที่ สุดในเด็ก

                ภาวะชักจากไข้ คือการที่เด็กมีอาการชักซึ่งมักมีลักษะเป็นแบบเกร็งหรือกระตุกทั้งตัวในขณะที่มีไข้ (ซึ่งมักจะมีอุณหภูมิมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) ภาวะนี้พบในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และพบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุประมาณ 1 ขวบครึ่งถึง 2 ขวบ ภาวะนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการที่สมองของเด็กเล็ก ๆ นั้นยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักมากกว่าในเด็กโต

เมื่อลูกมีอาการชัก สิ่งที่พ่อแม่ควรปฏิบัติคือ

1.      ตั้งสติ อย่าตกใจ เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือลูกของท่านได้อย่างถูกต้อง

2.      ค่อย ๆ จับเด็กนอนลง ตะแคงตัวเด็ก และจับศีรษะให้ลงต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสำลัก

3.      ถ้าในปากลูกน้อยมีน้ำลายหรือเศษอาหารที่เห็นได้ชัด ควรเช็ดออก สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาดก็คือ การล้วงหรืองัดปากด้วยวัสดุใด ๆ  เพราะ โอกาสที่ลูกของท่านจะกัดลิ้นขาดจากอาการชักนั้นแทบจะไม่มี แต่ในทางกลับกันการงัดปากในขณะที่มีอาการชักนั้น อาจเกิดปัญหาตามมา เช่นเกิดบาดแผลที่ปากหรือเหงือก หรือ ฟันอาจจะหักก็ได้

4.      ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้แพทย์ประเมินและรักษาผู้ป่วยต่อไป


 

เมื่อพ่อแม่นำลูกของท่านมาถึงโรงพยาบาล แพทย์และพยาบาลจะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย

ซึ่ง อาจจะต้องมีการเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุของการชัก ในบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจหาว่าเด็กมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือไม่ ซึ่งภาวะนี้สามารถทำให้เกิด อันตรายต่อสมองได้

 

                แต่ ถ้าผลการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมแล้ว แพทย์ให้การวินิจฉัยว่า ลูกของท่านเป็นเพียงภาวะชักจากไข้ ก็ขอให้พ่อแม่สบายใจได้ระดับหนึ่งว่า ถึงแม้อาการชักจะดูน่ากลัว แต่การพยากรณ์โรคของภาวะนี้นั้นดีมาก กล่าวคือเด็กส่วนใหญ่หลังจากมีอาการชักจะมีระดับสติปัญญาเทียบเท่ากับเด็ก ปกติ และมักไม่พบความผิดปกติทางด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานยากันชักเพื่อรักษาภาวะนี้


อ้างอิงจาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=597
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2010 เวลา 20:43 น. โดย popja »
สู้สู้

 


Powered by EzPortal