เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: การปล่อยวาง โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท  (อ่าน 1986 ครั้ง)

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
การปล่อยวาง โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท
« เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2012 เวลา 09:33 น. »

                                                      การปล่อยวาง

โยม ไม้อันที่อาตมาถืออยู่นี่นะ มันสั้น หรือว่า มันยาว?
 
โยม ไม้อันนี้ธรรมชาติแท้ ๆ ของมันมีแค่นี้ เท่านี้ ... มันไม่สั้น และก็ไม่ยาว
 
โยม ความต้องการที่จะให้ไม้นี้มันสั้นเข้า หรือยาวออก นั่นแหละ "ทุกข์"
 

ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรายอมตามธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ ยอมที่ไหน ทุกข์ก็ไม่เกิดที่นั่น

สมมุติว่าวันนี้ โยมหาเงินได้ ๑๐๐ บาท ธรรมชาติของมันแค่ ๑๐๐ บาท
จะอยากให้ได้มากกว่านั้น...ก็ไม่ได้
จะอยากให้ได้น้อยกว่านั้น...ก็ไม่ได้
หาได้ ๕๐ บาท ธรรมชาติของเขาก็แค่นั้น
หาไม่ได้เลย ธรรมชาติของมันก็เท่ากับหาไม่ได้เลย
ยอมตามธรรมชาติที่มันเป็นทุกอย่าง ทุกแห่ง ทุกข์ก็ไม่เกิด

ธรรมะอย่างนี้ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้
ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติเมื่อไหร่ ที่ไหน...ทุกข์ก็ไม่เกิดเมื่อนั้น ที่นั่น

โยม อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่าถ้าเราจะปลูกต้นไม้
อันดับแรก เราต้องเตรียมดินให้ดี ขุดหลุมกว้างเมตร ลึกเมตร
คลุกดินด้วยปุ๋ยคอกอย่างดี แล้วจึงปลูกต้นไม้ลงไป
เมื่อปลูกแล้ว เราต้องคอยดูแล โดยหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ดายหญ้า และล้อมรั้วกันอันตรายให้

หน้าที่ของเรามีเพียงแค่นี้ ทำให้ครบ ทำให้ดีที่สุด
ส่วนผลที่ต้นไม้จะให้นั้น บางชนิด ๑ ปีให้ผล
บางชนิด ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี
นั่นเป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องของต้นไม้เขาเอง


โยม อย่าลืมนะ หน้าที่ของเรานั้น
ทำเหตุให้ดีที่สุดเท่านั้น ส่วนผลที่จะได้รับเป็นเรื่องของเขา
ถ้าเราดำเนินชีวิต โดยมีการปล่อยวางเช่นนี้แล้ว ทุกข์ก็ไม่รุมล้อมเรา

ธรรมะอย่างนี้...ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้
ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ ปฏิบัติเมื่อไรก็ได้

                                                           ผู้มีสติ  

ผู้ใดมี "สติ" ... อยู่ทุกเวลา
ผู้นั้นก็จะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า...อยู่ตลอดเวลา
 
เพราะว่า เมื่อตามองเห็นรูป...ก็เป็นธรรมะ
หูได้ยินเสียง...ก็เป็นธรรมะ
จมูกได้กลิ่น...ก็เป็นธรรมะ
ลิ้นได้รส...ก็เป็นธรรมะ
ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ นึกขึ้นได้เมื่อใด...เป็นธรรมะเมื่อนั้น

ฉะนั้น "ผู้มีสติ"
จึงได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา...ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน
มันมีอยู่ทุกเวลาเพราะอะไร ? เพราะเรามีความรู้อยู่


ในเวลานี้ เราจึงเรียนอยู่กลางธรรมะ
จะเดินไปข้างหน้า...ก็ถูกธรรมะ
จะถอยไปข้างหลัง...ก็ถูกธรรมะ
 
ท่านจึงให้มี "สติ"
ถ้ามีสติแล้ว มันจะเห็นกำลังใจของตน เห็นจิตของตน
ความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเป็นอย่างไร ก็ต้องรู้
รู้ถึงที่แล้ว ก็รู้แจ้งแทงตลอด

...เมื่อมันรอบรู้อยู่เช่นนี้
การประพฤติปฏิบัติ มันก็ถูกต้องดีงามเท่านั้นแหละ

                                                            เธอจงระวัง
 
เธอจงระวัง ความคิด ของเธอ
เพราะความคิดของเธอ
จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ


เธอจงระวัง ความประพฤติ ของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอ
จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ


เธอจงระวังความ เคยชิน ของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอ
จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ


เธอจงระวัง อุปนิสัย ของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอ
จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต




It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
Re: การปล่อยวาง โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2012 เวลา 09:45 น. »
                               ไม่ฉลาดรักษาใจ จึงกวัดแกว่งไปตามอารมณ์

เปรียบน้ำฝน มันเป็นน้ำที่สะอาด มันจะมีความใสที่สะอาดปกติดี
ถ้าหากเราเอาสีเขียว สีเหลืองใส่เข้าไป
น้ำมันก็เป็นสีเหลือง สีเขียว

จิตใจเรานี้เช่นกัน ฉันนั้น
เมื่อมันถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจมันก็สบาย
ถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ไม่สบาย


เหมือนกับใบไม้ ที่มันถูกลม มันก็กวัดแกว่ง เอาแน่นอนไม่ได้
ดอกไม้ ผลไม้ มันก็ถูกลมเหมือนกัน ถูกลมมาพัด มันก็ตกไปเลย ไม่มีสุก

จิตใจมนุษย์เรานี้ก็เหมือนกัน
ถูกอารมณ์มาพัดไป ถูกอารมณ์มาฉุดไป มาดึงไป ตกไป
ก็เหมือนกันกับผลไม้


                                     พูดดีเข้าใจง่าย พูดร้ายเข้าใจยาก
 
คนที่ฉลาดแล้ว สอนไม่มากหรอก
ถ้าคนไม่ฉลาด สอนมากแค่ไหน...ก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง
แต่มันเกี่ยวกับคนสอนด้วยนะ

โดยมาก...คนเราเวลาไม่สบายใจ จึงสอน
อย่างเราจะสอนลูกเรา เราโกรธแล้วจึงสอน มันก็ด่ากันเท่านั้นหล่ะ
ไม่ยอมสอนกันดี ๆ หรอก ก็คนใจไม่ดี ไปสอนกันทำไม


อาตมาว่า อย่าไปสอนในเวลานั้น ให้ใจมันสบายก่อน
มันจะผิดอย่างไรก็เอาไว้ก่อน ให้มันใจดี ๆ ซะก่อน

นี่โยมจำไว้นะ อาตมาสังเกตโยมสอนลูกแต่เวลาโมโหเท่านั้นละ
มันก็เจ็บใจละซิ เอาของไม่ดีให้เขา เขาจะเอาทำไม
ตัวเราก็เป็นทุกข์ ลูกเราก็เป็นทุกข์ นี่มันเป็นอย่างนี้


คนเรามันชอบดี ๆ ทั้งนั้นละ
แต่ความดีเราไม่พอ ให้ความดีมันไม่เป็นเวลา
ไม่รู้จักบทบาท ไม่รู้จักกาลเวลา มันก็เป็นไปไม่ได้ อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

อาหารที่มันอร่อย เราต้องทานทางปาก มันจะเกิดประโยชน์
ลองเอาเข้าทางหูซิ มันจะเกิดประโยชน์ไหม อาหารอร่อย ๆ จะมีประโยชน์ไหม
คนเรามันมีประตูเหมือนกันละ ต้องเข้าหาประตู ทุกคนก็เป็นอย่างนั้น


                                                        ผิดในถูก 
 
เราเห็นแล้วว่า ถ้วยใบนี้ เอาไว้ที่ไหน...มันก็ต้องแตก
จานนี่ เอาไว้ที่ไหน...ก็ต้องแตก
แต่เราก็ต้องสอนเด็กว่า ล้างให้มันสะอาด เก็บไว้ให้ดี
เราก็ต้องสอนเด็กอย่างนี้ ตามสมมุติอย่างนี้ เพื่อเราจะใช้ถ้วยนี้นาน ๆ
อันนี้เรารู้จักธรรมะ เอาธรรมะมาปฏิบัติ

ถ้าเห็นว่า อันนี้มันจะแตกอยู่แล้ว
เราบอก เออ! ช่างมันเถอะลูก กินแล้วก็ไม่ต้องล้างมันหรอก
จะตกก็ช่างมันเถอะ ไม่ใช่ของเราหรอก
เอาทิ้งไว้ที่ไหนก็ได้ มันจะแตกอยู่แล้ว อย่างนี้ก็เป็นคนโง่ไป


ถ้าเราเป็น "ผู้รู้สมมุติ" อันนี้
เมื่อมันเจ็บไข้...ก็หาหยูกยาให้มันกิน
เมื่อมันร้อน...ก็อาบน้ำให้มัน
เมื่อมันเย็น...ก็หาความอบอุ่นให้มัน
เมื่อมันหิว...ก็หาข้าวให้มันกิน

แต่ให้เรารู้ว่า ให้ข้าวมันกิน...มันก็จะตายอยู่
แต่ในเวลานี้ ยังไม่ถึงคราวจะตาย
เหมือนถ้วยใบนี้...ยังไม่แตก
ก็รักษาถ้วยใบนี้...ให้มัน "เกิดประโยชน์" เสียก่อน

                                                     แยกแล้วยุ่ง  
 

"ตัวปัญญา" กับ "ตัวสมาธิ" นี้
เมื่อเราพูดแยกกันออก คล้าย ๆ กับคนละตัว
จริง ๆ มันตัวเดียวกันนั่นเองแหละ
ตัวปัญญา มันเป็นเครื่องเคลื่อนไหวของสมาธิเท่านั้น
อือ มันออกจากจิตนี้แหละ แต่มันแยกกันออกไป มันเป็นคนละลักษณะ

เหมือนมะม่วงใบนี้
ลูกมะม่วงใบนี้มันเล็ก ๆ แล้วมันก็โตขึ้นมาอีก
แล้วก็มันสุก แล้วมันจะเน่า
มะม่วงใบนี้ ก็คือ มะม่วงใบเดียวกัน

มันเล็ก...ก็ใบนี้
มันโตขึ้นมา...ก็ใบนี้
มันสุก...ก็ใบนี้
แต่มันเปลี่ยนลักษณะ

อาการอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า ...  สมาธิ
อาการอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า ... ปัญญา
ความเป็นจริง ศีล สมาธิ ปัญญา นี่คือของอันเดียวกัน ไม่ใช่คนละอย่าง
เหมือนมะม่วงใบนี้...ใบเดียวกัน


                                                 หยุดชั่ว มันก็ดี
 
คนเราบางคน บางทีก็อยากจะเอาบุญ
เช่น ผ้ายังสกปรกอยู่...ยังไม่ได้ทำความสะอาด
แต่อยากจะย้อมสีซะแล้ว
ลองเอาผ้าเช็ดเท้าที่ยังไม่ได้ฟอกไปย้อมสีดูซิ...มันจะสวยไหม ?

การไม่กระทำบาปนั้น...มันเลิศที่สุด
บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้
แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั่นนะ  มันยากที่สุด
 
การจะละความชั่ว ไม่กระทำผิด...มันยาก
"การทำบุญ" โจรมันก็ทำได้ มันเป็น..."ปลายเหตุ"
"การไม่กระทำบาป" ทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะ เป็น..."ต้นเหตุ"

                                                    โอวาทธรรม

ฟังธรรมศึกษาธรรม ... ในคัมภีร์
แล้วไม่นำมา ?ปฏิบัติ?
ก็เหมือนกับถือผลไม้ไว้เท่านั้้น
ยังไม่ได้กิน ยังไม่ได้ลิ้มรส
ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร




 
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

 


Powered by EzPortal