เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับบิดามารดา หรือผู้ปกครองเมื่อบุตรหลานได้รับการรักษาโรคลมชัก  (อ่าน 2885 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
การบำบัดโรคลมชักในเด็ก      คำแนะนำสำหรับบิดามารดาและผู้ปกครองสำหรับผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคลมชัก

หน่วยประสาทวิทยา
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี



      โรคลมชักคือ โรคที่มีอาการชักซ้ำ ๆ  เกิดจากการเสียการทำงานของสมองซึ่งอาจมีสาเหตุหรือไม่มีสาเหตุจำเพาะ ซึ่งในเด็กมักจะไม่มีสาเหตุจำเพาะ  เป็นโรคที่สามารถให้การบำบัดและหายขาดได้

      การบำบัดโรคลมชักมีหลายวิธีเช่น  การใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดอาการชักซ้ำ  การผ่าตัด การให้อาหารจำเพาะเพื่อลดอาการชัก เป็นต้น โรคลมชักในเด็กบางชนิดอาจไม่ต้องให้การบำบัดเนื่องจากสามารถหายเป็นปกติได้เอง บางชนิดเพียงแค่หลีกเลี่ยงสาเหตุจำเพาะที่ทำให้เกิดอาการชักก็สามารถป้องกันการเกิดอาการชักซ้ำได้  การรักษาผู้ป่วยโรคลมชักส่วนใหญ่ใช้วิธีการป้องกันการเกิดอาการด้วยการใช้ยาต่อเนื่อง ซึ่งระยะเวลาในการรับประทานเพื่อป้องกันอาการนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคและปัจจัยอื่น ๆ ที่แพทย์จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ การรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น ให้ยากลางบ้าน การฝังเข็ม ยังไม่มีข้อบ่งชี้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนช่วยในการรักษาโรคลมชักจึงไม่แนะนำให้ใช้ประกอบในการรักษาโรคลมชัก

            คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับบิดามารดา หรือผู้ปกครองเมื่อบุตรหลานได้รับการรักษาโรคลมชัก มีหลายประการดังนี้

     1. ผู้ป่วยจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เป็นเวลาที่แพทย์แนะนำ
     2.  ยากันชักมีหลายชนิด มีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดอาการชักซ้ำ และเป็นการบำบัดโรคลมชักไปด้วย
     3. รูปแบบของยากันชักมีหลายรูปแบบ เช่น ยาน้ำ ยาเม็ดที่มีทั้งชนิดเคลือบและชนิดธรรมดาบางชนิดสามารถเคี้ยว    ได้โดยที่ไม่มีรสขม หรือชนิดแคปซูลซึ่งต้องกลืนทั้งเม็ดเป็นต้น แพทย์จะเป็นผู้แนะนำรูปแบบของยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเด็กแต่ละคนตามชนิดของการชักและอายุของเด็ก
     4. จำนวนการรับประทานยากันชักในแต่ละวันขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของยาแต่ละชนิด ยาบางชนิดต้องรับประทานวันละ  3-4 ครั้ง ขณะที่บางชนิดอาจจะรับประทานเพียงวันละครั้งเดียวในทางปฏิบัติอาจจะมีการคลาดเคลื่อนเวลาของการกินยาได้บ้าง เพื่อปรับให้เข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานยาให้ครบทั้งจำนวนครั้งและปริมาณยา ถ้าลืมรับประทานยามื้อใดมื้อหนึ่ง เมื่อนึกขึ้นได้ให้รีบกินยาทันที การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอจะทำให้เกิดผลเสีย เช่นการเกิดอาการชักเนื่องจากระดับยาในร่างกายต่ำเกินไป
     5. การให้ยาชนิดที่เป็นน้ำต้องมีการตวงวัดปริมาตรตามขนาดที่แพทย์กำหนด ถ้าคลาดเคลื่อนจะทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือเกิดอาการชักซ้ำได้
     6. ห้ามผสมยากันชักกับอาหารหรือนม ยกเว้นชนิดที่แพทย์แนะนำเท่านั้น เนื่องจากยากันชักบางชนิดอาจจะถูกดูดซึมไม่ดีถ้ากินพร้อมอาหารหรือนม
     7. ในเด็กเล็กที่มีการเจ็บป่วยอื่นเกิดขึ้นซึ่งอาจจะมีอาการอาเจียนร่วม ถ้าเด็กอาเจียนทันทีหรือภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากรับประทานยากันชัก สามารถให้ยานั้นในขนาดเดิมซ้ำได้ทันที แต่ถ้าอาการอาเจียนเกิดภายหลังจากรับประทานยานานกว่าครึ่งชั่วโมง ไม่ต้องให้ยากันชักเพิ่ม และยามื้อต่อไปตามเวลาที่ควรได้ตามปกติ
     8. ยากันชักทุกชนิดมีผลข้างเคียงทั้งรูปแบบรุนแรงและแบบไม่รุนแรงซึ่งแพทย์ไม่สามารถคาดได้ว่าจะเกิดกับผู้ป่วยคนใด อาการแพ้ยาอาจเกิดรวดเร็วทันทีหรือเกิดภายหลังการรับประทานยาไปแล้วเป็นสัปดาห์หรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับยาแต่ละชนิด  อาการแพ้ยาแบบรุนแรงมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกหลังจากได้รับประทานยา
   ตัวอย่างอาการแพ้ที่ต้องหยุดยาทันทีทีเกิด เช่น
         ก.   ผื่นตามตัวอาจเป็นลมพิษหรือเป็นผื่นแดงโดยเริ่มจากเป็นจุดเล็กๆ หรือขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะเกิดลามทั้งตัว คล้ายผื่นในโรคหัดได้อาจจะมีอาการคันร่วมด้วย
         ข.   แผลในปากที่อาจจะมีอาการปากบวมนำมาก่อน
         ค.   อาการตาแดง เยื่อตาอักเสบ
         ง.   ตัวร้อนหรือเป็นไข้ ร่วมกับการเกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลือง เช่นที่บริเวณใต้คางและคอ    สำหรับผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจจะเกิดได้ เช่นความผิดปกติของการทำงานของตับ การลดจำนวนของ เม็ดเลือดขาว หรืออาการเกร็ดเลือดต่ำนั้นเกิดได้ไม่บ่อย
      9. ควรนำผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ในบางครั้งแพทย์อาจจะต้องปรับขนาดยาขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีน้ำหนักมากขึ้น ยาบางชนิดเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจจะต้องเพิ่มขนาดเนื่องจากมีการขับถ่ายยาออกจากร่างกายมากขึ้น
     10. เมื่อผู้ป่วยเกิดการเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น เป็นหวัด คออักเสบ ควรแจ้งให้แพทย์ที่ให้การรักษาทราบว่าผู้ป่วยกำลังบำบัดโรคลมชักด้วยยากันชักอยู่ เพื่อป้องกันการได้รับยาอื่น ๆ ที่อาจจะลดประสิทธิภาพของยากันชักนั้น
      11. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนที่เพียงพอตลอดจนปฏิบัติตนตามหลักสุขวิทยา และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการชักจะเป็นส่วนช่วยในการรักษาโรคลมชักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีอาหารใดที่แสลงต่อโรคลมชัก
      12. การหยุดรับประทานยากันชักต้องทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น แพทย์จะพิจารณาให้ลดขนาดยาลงเป็นระยะตามเวลาเหมาะสม การหยุดรับประทานยากันชักเองทันทีอาจจะก่อให้เกิดอาการชักรุนแรงหรือเกิดต่อเนื่อง     ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ที่มา :http://www.ra.mahidol.ac.th/dpt/PD/academic/academic/knowlegde/0002

 


Powered by EzPortal