เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: ยากันชักกับโรคหย่อนสมรรรถภาพทางเพศ  (อ่าน 3407 ครั้ง)

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
ยากันชักกับโรคหย่อนสมรรรถภาพทางเพศ
« เมื่อ: วันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2012 เวลา 00:14 น. »
หลักการรักษาโรคลมชักทั่วไปคือการให้ยากันชักเพื่อควบคุมอาการ ยากันชัก มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ฟีโนบาร์นิทาล (Phenobarbital เป็นยาในกลุ่มบาร์บิทูเรต; Barbiturates) เฟนิโทอิน (phenytoin; dilantin เป็นชื่อการค้า) และยากลุ่มเบนโซไดอะซิปีน (ได้แก่ ยาไดอะซีแพม) สำหรับไดอะซีแพม สามารถใช้แก้อาการชักจากสาเหตุต่าง ๆ และใช้ป้องกันอาการจากไข้สูง ยากันชักรุ่นใหม่ เช่น lamotrigine (lamictal) เป็นยากันชักกลุ่มใหม่ที่ผลข้างเคียงไม่มาก

ความจำเป็นด้านการใช้ยาในผู้ป่วยลมชักนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย เพราะบางสาเหตุอาจไม่จำเป็นต้องรับประทานยา

ส่วนผู้ที่จำเป็นต้องรับประทานยานั้นก็ยังมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของอาการชัก ความรุนแรง และอัตราการตอบสนอง บางรายอาจใช้ยาแค่ชั่วคราว แต่บางรายจำเป็นต้องใช้ยาเป็นเวลานาน

ที่สำคัญคือยากันชักมักจะมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากไปออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทและสมอง แพทย์จึงมักใช้ด้วยความระมัดระวังและมีการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

มีรายงานว่าความผิดปกติของการถึงจุดสุดยอดพบบ่อยในผู้ป่วยซึ่งได้รับยา carbamazepine และพบการสูญเสียความต้องการทางเพศในผู้ชายที่รักษาด้วยโซเดียม วาลโพรเอต (valproate) อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าการมีเพศสัมพันธ์ดีขึ้นและมีความต้องการทางเพศมากขึ้นในผู้ป่วยซึ่งรักษาด้วย lamotrigine (lamictal) ยาฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย (antiandrogenic activity)

ฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen) เป็นฮอร์โมนเพศชายที่พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่ในผู้ชายมีมากกว่า ฮอร์โมนดังกล่าวมีหน้าที่หลายแบบเช่นทำให้ต่อมไขมันที่ผิวหนังโตขึ้น และทำให้ต่อมไขมันมากขึ้น

ฮอร์โมนนี้มีระดับสูงในวัยรุ่น ทำให้วัยรุ่นทั้งสองเพศ มีขนบริเวณรักแร้และอวัยวะสืบพันธุ์ และเฉพาะในวัยรุ่นชายมีหนวดเคราและเสียงแตกและทำให้วัยรุ่นเป็นสิวมาก จึงมีการนำฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ยับยั้งแอนโดรเจนมาเป็นยารักษาสิว

ยาฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย บางครั้งถูกใช้เพื่อลดความต้องการทางเพศมีรายงานว่ายาดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์

ผลกระทบของการขาดฮอร์โมนเพศชายต่อการมีเพศสัมพันธ์จะแตกต่างกัน จากสูญเสียการมีเพศสัมพันธ์ทั้งหมดหรือมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ

มีความเชื่อว่าการแข็งตัวขององคชาตระหว่างนอนหลับขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนเพศชาย ขณะที่การแข็งตัวขององคชาตในการตอบสนองต่อการกระตุ้นทางเพศด้วยการมองเห็นไม่มีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย

ยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน (antiandrogens) มีหลายชนิด โดยทั่วไปแบ่งเป็นยาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนตัวรับส่งข้อมูล (receptor) ซึ่งได้แก่ ยาไซโปเทอโรน อะซีเตท (cyproterone acetate) ยาฟินาสเทอไรด์ (finasteride).

รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล
คลินิกสุขภาพชาย โรงพยาบาลรามาธิบดี
ที่มา : http://www.dailynews.co.th/article/228/157248

 


Powered by EzPortal