เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังเสียงธรรม "ปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ"  (อ่าน 2918 ครั้ง)

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
ฟังเสียงธรรม "ปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ"
« เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2012 เวลา 08:51 น. »

ท่านติช นัท ฮันห์ นำพาชาวไทยและชาวต่างชาติ ?เดินสมาธิ?
รอบสวนลุมพินี เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2550

ติช นัท ฮันห์ พลังแห่งสติ...ความสุขหนึ่งเดียว

"หายใจเข้า...ให้ตระหนักรู้ว่าหายใจเข้า"
"หายใจออก...ให้ตระหนักรู้ว่าหายใจออก"


ลองฟังเสียงธรรมจาก พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) ตลกๆ เข้าใจง่ายด้วย(คงต้องรบกวนคุณป๊อปทำแบบโหลดนะค่ะ ต่ายแปะลิ้งให้)

http://www.dhammatoday.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1308%3A-qq-&catid=107%3A2009-10-07-09-58-39&Itemid=118&lang=en

ตกลงเราอ่านเวปลมชัก ด้วยอดีตหรือ  อ่านด้วยอนาคต...
ต่ายยังอ่านด้วยด้วยอดีตบ้างอนาคตบ้าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2012 เวลา 09:14 น. โดย Thanks-Epi »
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
แนวทางการฝึกสมาธิและการเจริญสติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2012 เวลา 09:10 น. »
มีแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นฝึกปฏิบัติใหม่ เพื่อทดลองฝึกปฏิบัติ

๑. เริ่มจากตื่นนอนในแต่ละวัน ให้ฝึกทำสมาธิอย่างน้อยประมาณ๑๕-๓๐ นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มจนถึง ๑ ชั่วโมงเป็นประจำ (อาจมีการสวดมนต์ไหว้พระด้วยหรือไม่ก็ได้) การทำสมาธิจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ได้ และคำบริกรรมที่ใช้แล้วแต่ถนัด เพื่อเริ่มฝึกจิตให้มีคุณภาพ

๒. ต่อด้วยการเจริญสติ คือระลึกรู้ในการทำกิจส่วนตัว เช่น อาบน้ำแปรงฟัน รับประทานอาหาร หรือพบปะพูดจา ฯลฯ ทำกิจได้ก็ให้มีสติระลึกรู้และตื่นตัวอยู่เสมอทุกๆ อิริยาบถ ?เดินนับเท้า นอนนับท้อง จับจ้องลมหายใจ เคลื่อนไหวด้วยสติ? หัดรู้สึกตัวบ่อยๆ

๓. ให้ฝึกทำสมาธิ สลับกับการเจริญสติเช่นนี้ ทุกๆ ๑-๓ ชั่วโมง(ระยะเวลาอาจปรับสั้นยาวได้ตามความเหมาะสม) ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่า เป็นการปฏิบัติในแนวทางที่ถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเจริญสติได้คล่องขึ้น ให้เพิ่มการเจริญสติให้มากกว่าการทำสมาธิ

๔. ศีลห้าและกุศลกรรมบถสิบอย่าให้ขาด และให้งดเว้นอบายมุขทุกชนิดตลอดชีวิต หากศีลข้อใดขาดให้สมาทานศีลห้าใหม่ทันทีโดยวิธีสมาทานวิรัติด้วยตนเอง เอาเจตนางดเว้นเป็นที่ตั้ง เพราะศีลเป็นบาทฐานของการปฏิบัติ

๕. ท่านที่มีภารกิจมากและต้องทำกิจการงานต่างๆ ที่จะต้องพบปะติดต่อกับบุคคลอื่นๆ ให้หมั่นสำรวม กาย วาจา ใจ อยู่เป็นนิจ ให้มีสติระลึกรู้ อยู่กับงานนั้นๆ ขณะพูดเจรจาก็ให้มีสติระลึกรู้อยู่กับการพูดเจรจานั้นๆ ตลอดเวลา เมื่ออยู่ตามลำพังก็ให้เริ่มสมาธิหรือเจริญสติต่อไป

๖. เมื่อเริ่มฝึกใหม่ๆ  จะมีอาการเผลอสติบ่อยมาก และบางทีเจริญสติไม่ถูก หลงไปทำสมถะเข้า เรื่องนี้ในหนังสือวิมุตติปฏิปทาของท่านปราโมทย์ สันตยากร ท่านกล่าวว่า ?ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานได้ จะต้องเตรียมจิตให้มีคุณภาพเสียก่อน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือรู้ตัวไม่เป็น จะรู้ปรมัตถธรรมไม่ได้ เมื่อไปเจริญสติเข้าก็จะกลายเป็นสมถะทุกคราวไป ฯลฯ? ดังนั้น จึงต้องฝึกรู้ตัวให้เป็น และเมื่อใดที่เผลอหรือคิด ใจลอยฟุ้งซ่านไป ก็ให้กลับมามีสติระลึกรู้อยู่กับสภาวะปัจจุบัน ขณะที่รู้ว่าเผลอหรือรู้ว่าคิดฟุ้งซ่าน ขณะนั้นก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว แต่ต้องไม่ใช่การกำหนดหรือน้อมและไม่ใช่ตั้งท่าหรือจ้องหรือเพ่ง

หากจิตมีอาการเกิดกามราคะ หรือโทสะที่รุนแรง ให้หันกลับมาอยู่กับการทำสมาธิแทนจนกว่าอาการจะหายไป แล้วเริ่มเจริญสติต่อไปใหม่ถ้าอาการยังไม่หายแสดงว่า ท่านไม่ได้อยู่กับสมาธิ ให้ตั้งใจปฏิบัติสมาธิให้มั่นใหม่อีกครั้ง จนกว่าจะสงบ ความสงบอยู่ที่การปล่อยวางจิตให้พอดี ตึงไปก็เลย หย่อนไปก็ไม่ถึง ต้องวางจิตให้พอดีๆ

๗. ขณะที่เข้าห้องน้ำถ่ายทุกข์หนัก-เบา หนาว-ร้อน หิว-กระหาย ก็ให้เจริญสติระลึกรู้ทุกครั้งไป

๘. ตอนกลางวัน  ควรหาหนังสือธรรมะมาอ่าน หรือฟังเทปธรรมะสลับการปฏิบัติ ถ้าเห็นว่ามีอาการเบื่อหรืออ่อนล้า อาการดังกล่าวอาจเกิดจากการตั้งใจเกินไป หรืออาจปฏิบัติไม่ถูกทางก็เป็นได้ ให้เฝ้าสังเกตและพิจารณาด้วย

๙. ให้มองโลกแง่ดีเสมอๆ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสตลอดทั้งวันไม่คิด พูด หรือทำในสิ่งอกุศล ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น ให้พูด คิด แต่ส่วนที่ดีของเขา การพูด การคิดและทำ ก็ให้เป็นไปในกุศล คือ ทาน ศีล สมาธิ และภาวนาเท่านั้น (ไม่พูดดิรัจฉานกถา) พยายามประคับประคองรักษากุศลธรรมให้เกิดและให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นเรื่อยๆ บางทีบางโอกาสอาจเห็นความโกรธโดยไม่ตั้งใจ และเห็นการดับไปของความโกรธ ซึ่งความโกรธจะเกิดขึ้นเร็วมากแต่ตอนจะหายโกรธ กลับค่อยๆ เบาลงๆ แล้วหายไปอย่างช้าๆ เปรียบได้เหมือนกับการจุดไม้ขีดที่เริ่มจุดเปลวไฟจะลุกสว่างเร็วมาก แล้วจึงค่อยๆมอดดับลงไป นั่นแหละคือการเจริญวิปัสสนา และต่อไปจะทำให้กลายเป็นคนที่มีความโกรธน้อยลง จนการแสดงออกทางกายน้อยลงๆ จะเห็นแต่ความโกรธที่เกิดอยู่แต่ในจิตเท่านั้น

๑๐. ให้ประเมินผลทุกๆ ๑-๓ ชั่วโมง หรือวันละ ๓-๔ ครั้งและให้ทำทุกวัน ให้สังเกตดูตัวเองว่า เบากายเบาใจกว่าแต่ก่อนหรือไม่เพราะเหตุใด
 
๑๑. ก่อนนอนทุกคืน ให้อยู่กับสมาธิในอิริยาบถนอนตะแคงขวา(สีหไสยาสน์) หรือเจริญสติจนกว่าจะหลับทุกครั้งไป ถ้าไม่หลับให้นอนดู "รูปนอน" จนกว่าจะหลับ

๑๒. เมื่อประเมินผลแล้วให้สำรวจตรวจสอบ เป้าหมาย คือ การเพียรให้มีสติระลึกรู้อยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ให้สังเกตดูว่ามีความก้าวหน้าอย่างไรบ้างหรือไม่ หากยังไม่ก้าวหน้า ต้องค้นหาสาเหตุแท้จริงแล้วรีบแก้ไขให้ตรวจสอบดูว่าท่านได้ปฏิบัติถูกทางหรือไม่ หาสัตบุรุษผู้รู้หรือกัลยาณมิตรเพื่อขอคำแนะนำ ไม่ควรขอคำแนะนำจากเพื่อนนักปฏิบัติด้วยกัน เพราะอาจหลงทางได้

๑๓. ให้พยายามฝึกทำความเพียร เฝ้าใส่ใจในความรู้สึกให้แยบคาย(โยนิโสมนสิการ) พยายามแล้วพยายามอีก ให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากที่คิดว่ายากมากๆ จนกลายเป็นง่าย และเกิดเป็นนิสัยประจำตัว

๑๔. จงอย่าพยายามสงสัย ให้เพียงแต่พยายามเฝ้าระลึกรู้ในปัจจุบันธรรมอยู่ในกายในจิต (รูป-นาม) กลุ่มปัญหาข้อสงสัยก็จะหมดความหมายไปเอง (หลวงปู่เทียน จิตฺตสุโภ ท่านว่า "คิดเป็นหนู รู้เป็นแมว")  อย่าพยายามอยากได้ญาณ หรือมรรคผลนิพพานใดๆ ทั้งสิ้น ตัวของเราเองมีหน้าที่เพียงแต่ สร้างเหตุที่ดีเท่านั้น

นักปฏิบัติที่คิดมาก มีปัญหามาก เพราะไม่พยายามรู้ตัว และยังรู้ตัวไม่เป็น ไม่มีสติพิจารณาอยู่ในกายในจิตของตนเอง เอาแต่หลงไปกับสิ่งที่ถูกรู้ หรือไม่ก็ไปพยายามแก้อาการของจิต

ดังนั้นจึงให้พยายามรู้ตัวให้เป็นถ้ารู้เป็น     จะต้องเห็นว่ามีสิ่งที่ถูกรู้กับมีผู้รู้ และให้พยายามมีสติพิจารณาอยู่แต่ภายในจิตของตนก็พอ ประการที่สำคัญอีกประการหนึ่งโปรดจำไว้ว่าให้รู้อารมณ์เท่านั้น อย่าพยายามไปแก้อารมณ์ที่เกิดขึ้น (วิมุตติปฏิปทา)

๑๕. จงอย่าคิดเอาเองว่า ตนเองยังมีบุญวาสนาน้อย ขอทำบุญทำทานไปก่อน หรืออินทรีย์ของตัวยังอ่อนเกินไป คิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง จงอย่าดูหมิ่นตัวเอง เมื่อเริ่มฝึกปฏิบัติหรือเจริญสติใหม่ๆ จะเกิดการเผลอสติบ่อยๆจะเป็นอยู่หลายเดือน หรือบางทีอาจหลายปี แต่ฝึกบ่อยๆ เข้าก็จะค่อยๆระลึกรู้ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ขอให้พยายามทำความเพียรต่อไป ถ้าผิดก็เริ่มใหม่เพราะขณะใดที่รู้ว่าผิด ขณะนั้นจะเกิดการรู้ที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

ประการที่สำคัญ คือ ต้องเลิกเชื่อมงคลตื่นข่าว และต้องไม่แสวงบุญนอกศาสนา จงอยู่แต่ใน ทาน ศีล สมาธิและภาวนา (บุญกิริยาวัตถุสิบ) ก็พอ

๑๖. จงพยายามทำตนให้หนักแน่นและกว้างใหญ่ดุจแผ่นดินและผืนน้ำที่สามารถรองรับได้ทั้งสิ่งของที่สะอาดและโสโครก ซึ่งแผ่นดินและผืนน้ำรักชังใครไม่เป็น คือทั้งไม่ยินดี (สิ่งของที่สะอาด) และไม่ยินร้าย (ของโสโครก) ใดๆ วางใจให้เป็นกลางๆ ให้ได้ ความสำเร็จก็อยู่ที่ตรงนี้
ท่านที่รู้ตัวได้ชำนิชำนาญขึ้นแล้ว
การเจริญสตินั่นแหละจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะหาอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์มาเป็นเครื่องมืออยู่ที่ถนัด (วิหารธรรม) ให้จิตมีสติเฝ้ารู้อย่างต่อเนื่อง


หลวงพ่อชา สุภัทโท    ท่านเคยกล่าวไว้ว่า "ท่อนซุงที่ลอยล่องไประหว่างสองฝั่ง ถ้าไม่ติดอยู่ข้างฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ไม่ช้าก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างแน่นอน"
แต่ถ้าลอยไปติดอยู่กับฝั่งใด (กามสุขัลลิกานุโยค หรือความยินดี)ฝั่งหนึ่ง (อัตตกิลมถานุโยค หรือความยินร้าย) ไม่ช้าก็คงกลายเป็นซุงผุใช้การไม่ได้เป็นแน่


ขอขอบคุณ http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=619.0

ถ้าพยายามปฎิบัติ อย่างน้อยๆ คนไข้ก็สามารถแก้ไขอาการชักหลอกได้ หรือทุกข์อยู่แล้วก็ทุกข์น้อยลง กำลังใจในการรักษาโรคก็จะมีมากขึ้น  การนั่งสมาธิก็จะสามารถนิ่งได้เร็วกว่า คนที่ไม่ได้เจริญสติระหว่างวันเลย
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
9 วิธีเจริญสติในออฟฟิศ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2012 เวลา 10:59 น. »
http://board.palungjit.com/f9/9-วิธีเจริญสติในออฟฟิศ-355184.html

รถติด งานล้น ลูกค้าขี้วีน เจ้านายขี้บ่น เพื่อนร่วมงานขี้นินทา


สถานการณ์ทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งเร้าให้สติของชาวออฟฟิตอย่างเราๆ
หลุดกระเจิงแทบทุก 5 นาที และด้วยเหตุที่ครึ่งค่อนข้างชีวิตของเราๆท่านๆ
ต้องอยู่กับงาน จึงไม่รอช้าที่ให้พวกเรามาฝึกเทคนิคเรียกสติให้กลับคืนมาใน
ระหว่างวันทำงาน เพราะเมื่อสติกลับคืนมา ปัญญาที่จะสร้างสรรค์งานให้มี
คุณภาพก็จะตามมาทันทีโดยไม่ต้องสงสัย


1. "ไฟแดง" ไฟแห่งสติ: สิ่งแรกที่ทำให้สติของชาวออฟฟิศ
ขาดกระเจิงพร้อมกับอารมณ์ที่ขุ่นมัวตามมาเห็นจะเป็นการจราจรที่แสน
จะติดขัด ยิ่งวันไหนที่ต้องติดไฟแดงแทบทุกแยกด้วยแล้ว มันหนีไม่พ้น
ที่จะบ่นกับตัวเองว่า "วันนี้ต้องเป็นวันซวยอย่างแน่นอน" ทางออกก็คือ
ต้อง "เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส" ลองใช้ไฟแดงเป็นเครื่องมือเตือนสติดู
ติดไฟแดงครั้งใดก็ให้หยุดดูความหงุดหงิดของตัวเองพร้อมดึงสติมา
จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ คราวนี้กว่าจะถึงออฟฟิศ เชื่อได้เลยว่าคุณจะมีสติ
พร้อมยิ้มรับกับทุกเรื่องที่กำลังรออยู่แล้ว


2. ตั้งจิตอธิฐานก่อนเริ่มงานทุกวัน: เมื่อมาถึงที่ทำงาน
สิ่งแรกที่ควรทำไม่ใช่การเริ่มงานอย่างลุกลี้ลุกลน แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือ
หาเวลาสัก 5 นาทีเพื่อทำใจให้สงบ จากนั้นตั้งจิตให้มั่นแล้วนึกถึงธรรมะ
ที่ต้องการน้อมมาปฏิบัติ เช่น เมื่อวานขี้เกียจไปนิด วันนี้ต้องตั้งใจทำงาน
ด้วยความเพียร การตั้งจิตอธิษฐานไม่ได้หมายถึงการขอพรจากสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อช่วยให้ทำงานสำเร็จ ทว่าการอธิษฐานเป็นการเตือนใจ
ไม่ให้พลัดหลงไปกับอารมณ์และความเร่งรีบที่จะมาบั่นทอนจิตใจ
การทำงานนั่นเอง


3. ล้างจานเพื่อล้างจาน: การทำงานไม่ว่าอาชีพไหนก็สามารถ
เจริญสติขณะทำงานได้เช่นกัน เพราะการเจริญสติในที่ทำงานหมายถึงการ
ดึงจิตใจให้อยู่กับงาน รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ จะล้างจานก็รู้ว่า
ล้างจาน ถูบ้านก็รู้ว่ากำลังถูบ้าน คิดเรื่องอะไรก็ใช้สติอยู่กับเรื่องนั้นๆไม่กังวล
กับอดีตที่ผ่านไปแล้วหรือพะวงอยู่กับอนาคตที่ยังไม่ถึง ข้อดีของการเจริญสติ
ตลอดเวลาที่ทำงานนั้น นอกจากจะทำให้งานสำเร็จแล้ว ยังทำให้ทำงานด้วย
ความผ่อนคลายโปร่งเบา เพราะจิตใจไม่ "ขยะ" ให้ต้องแบกรับ


4. ตามลมหายใจไปกับเสียงโทรศัพท์ : เคยไหมขณะกำลังทำ
งานอยู่เพลินๆ ก็มีเสียงโทรศัพท์จากลูกค้าขี้วีนที่สุดเข้ามาทำให้อารมณ์ขุ่นมัว
ตั้งครึ่งค่อนวัน และเมื่อมีโทรศัพท์เข้าอีกครั้ง ( แม้จะไม่คนเดิมก็ตาม )
คราวนี้เราก็พร้อมจะระเบิดความขุ่นมัวเผื่อแผ่ไปให้ปลายสายอย่างไม่ยั้งคิด
ซึ่งผลลัพท์ที่ได้ แน่นอนว่ามีแต่เสียมากกว่า เผลอๆอาจทำให้เราต้องเสีย
ลูกค้าดีๆไปโดยไม่ได้คาดคิด ทางออกนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มี ขอแนะนำให้ใช้
โทรศัพท์นี่แหละเป็นเครื่องมือเรียกสติ โดยก่อนรับสายให้ค่อยๆตามลม
หายใจเข้า - ออกช้าๆ 3 ครั้งเพื่อให้อารมณ์สงบนิ่งบางคนอาจใช้อุปกรณ์
เสริมอย่างเช่นกระจกบานเล็กๆวางใกล้ โทรศัพท์ ขณะคุยอาจยิ้มน้อยๆไป
ด้วย การมองตัวเองในกระจกช่วยให้ไม่เผลอส่งอารมณ์โกรธไปถึงคนปลาย
สายโดยไม่รู้ตัว


5. เจริญสติด้วยคำวิจารณ์ : การทำงานกับการวิพากษ์
วิจารณ์เป็นสิ่งที่คู่กัน แต่หลายคนมักสติหลุดเพียงเพราะถูกวิพาก
วิจารณ์ ดังนั้นสิ่งที่ต้องท่องให้ขึ้นใจเมื่อได้ยินคำวิพากษ์วิจารณ์คือ เรา
เอาปัญญาออกหน้า หรืออัตตาออกหน้า หากเอาปัญญาออกหน้าจะเกิด
คำถามในใจว่า " ฉันผิดพลาดตรงไหน " แต่หากเลือกอัตตาก็จะมี
ประโยคหนึ่งตามมาคือ " แกทำให้ฉันเสียหน้า "
สุดท้ายถ้าเราพยายามเตือนตัวเองให้ใคร่ครวญแต่ข้อผิดพลาด ความทุกข์
ความรู้สึกเสียหน้าก็จะมาไม่ถึงเหมือนอย่างที่คุณเล็ก - ประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้
ก่อตั้งเมืองโบราณมักเตือนตัวเองเสมอว่า "วันไหนไม่ถูกตำหนิวันนั้นเป็นวัน
อัปมงคล"เพราะนั่นหมายถึงมีแต่คนสรรเสริญเยินยอจนหลงลืมตัว ซึ่งนำไปสู่
ความเสื่อมในที่สุด


6. เจริญสติด้วยคำนินทา : หลายคนคงจะเคยเจอปัญหาที่แก้
เท่าไหร่ก็แก้ไม่ตก นั่นคือคำนินทา ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่ดีก็คงไม่มีปัญหา แต่
ถ้าเป็นเรื่องไม่จริงก็อาจทำหลายคนเกิดอาการเครียดไปตามๆกัน ทางที่ดี
ที่สุด แม้เราจะห้ามคนนินทาไม่ได้ แต่เราก็สามารถห้ามใจไม่ให้คิดตาม
จน " จิตตก " ได้ และหนึ่งในวิธีที่ได้ผลชะงัด คือ การมองโลกในแง่ดี คิด
เสียว่าที่เขานินทาคือการเตือนทางอ้อมให้เราได้แก้ไขปรับปรุงในเรื่องที่
เรายังบกพร่อง เวลาที่เราได้ยินเสียงนินทาให้ถือเสียว่าเป็นระฆังแห่งสติที่
จะเตือนให้เราหันกลับมามองตัวเอง สิ่งไหนจริงก็ปรับปรุงแก้ไข สิ่งไหน
ไม่จริงก็ปล่อยให้ผ่านไปที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องคิด พูด และทำแต่สิ่งดีๆ
เพื่อจะได้ไม่หวั่นไหวไปกับคำนินทาไม่เป็นความจริง


7. สร้างทางเดินแห่งสติ: ปัญหาอย่างหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมมักใช้
เป็นข้ออ้างเมื่อการปฏิบัติไม่คืบหน้าคือ ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่จะฝึกฝน
เราจึงขอเสนอเส้นทางเดินแห่งสติในที่ทำงาน เริ่มตั้งแต่ลานจอดรถ ขั้น
บันได ทางเดินไปห้องน้ำ และที่จะขาดไม่ได้คือ ทางเดินไปห้องเจ้านาย
แม้ทางเดินเหล่านี้จะเป็นระยะทางสั้นๆเพี่ยงไม่กี่ก้าว แต่หากเราเดินด้วย
ความรู้สึกตัว มีสติในทุกย่างก้าว ซ้ายก็รู้ ขวาก็รู้ ขึ้นบันไดก็รู้ ไม่เผลอคิด
ฟุ้งซ่าน ถ้าทำได้อย่างนี้ สติจะไม่อยู่กับเราขณะทำงานก็ให้รู้ไป


8. พักยกด้วยระฆังแห่งสติ: สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิตที่งานยุ่ง
จนไม่มีแม้แต่เวลาจะดูนาฬิกา ขอแนะนำให้ใช้บริการระฆังแห่งสติเป็นผู้
ช่วย ระฆังแห่งสตินี้อาจจะใช้โทรศัพท์มือถือในการตั้งเวลาปลุกทุกครึ่ง
ชั่วโมง หรือ 1 ชั่วโมง เคล็ดลับคือ เมื่อได้ยินเสียงระฆังแล้วให้วางมือจาก
การทำงานและกลับมาอยู่กับลมหายใจทันทีสัก 3 ลมหายใจ จากนั้นจึง
ค่อยทำงานต่อ เท่านี้สติก็อยู่กับตัวได้ตลอดทั้งวันแล้ว

แค่ ช่วงเวลาที่ช้างสะบัดหู ไก่กระพือปีก สมาธิก็เกิดได้


9. ซ้อม ?สอบ? ในที่ทำงาน: จริงอยู่ว่าในการทำงานย่อมมี
อารมณ์หลากหลายเข้ามาปะทะอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ
โกรธ โมโห อิจฉา ริษยา แต่จริงๆ แล้วอารมณ์เหล่านี้ใช่ว่าจะเป็นผล
ร้ายกับเราเสียหมด ตรงกันข้ามอารมณ์หลากหลายที่เราต้องเผชิญใน
ที่ทำงานคือ บททดสอบที่ดียิ่งใน ?วิชาสติ? ดังนั้นขอให้ใช้บททดสอบ
เหล่านี้ดูว่าเราสามารถควบคุมอารมณ์ใม่ให้วูบวาบไปตามสิ่งที่มากระ
ทบและเรียกสติมาช่วยได้ทันหรือไม่ หากเผลอก็ถือว่าสอบตก ต้องรีบ
สอบซ่อมและทำให้ดีกว่าเดิมในครั้งต่อไป


คนเราต้องทำงานเกือบทั้งชีวิต หากเราหมั่นฝึกใช้สติควบคู่ไปกับทำงานก็
เท่ากับเรามีโอกาส ฝึกปฏิบัติธรรมกันตลอดชีวิตเลยทีเดียว


แค่ ช่วงเวลาที่ช้างสะบัดหู ไก่กระพือปีก สมาธิก็เกิดได้
พระพุทธองค์ตรัสว่า จิตสงบเป็นสมาธิแค่แว๊บเดียว เท่ากับช้างสะบัดหูหรืองูแลบลิ้น จะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่กว่าการสร้างเจดีย์บูชาพระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2012 เวลา 11:58 น. โดย Thanks-Epi »
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

 


Powered by EzPortal