เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีทำให้ลูกอยากไปโรงเรียน  (อ่าน 2585 ครั้ง)

ออฟไลน์ Panita singpor

  • Full Member
  • *
  • กระทู้: 68
วิธีทำให้ลูกอยากไปโรงเรียน
« เมื่อ: วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2012 เวลา 19:38 น. »
วิธีทำให้ลูกอยากไปโรงเรียน :D

ก่อนจะคิดปวดหมองกับเจ้าอาการไม่อยากไปโรงเรียนที่หวนคืนมาของลูก อยากบอกค่ะว่า ถึงเด็กๆ วัย 3-4 ขวบ ที่เพิ่งผ่านพ้นช่วงเข้าเรียนครั้งแรกมาได้ด้วยดีระยะหนึ่งแล้ว แต่จู่ๆ ก็ประท้วงไม่อยากไปโรงเรียนขึ้นมา มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ค่ะ เพราะเดือนสองเดือนแรกนี้ยังถือเป็นช่วงปรับตัวของเขาอยู่ เด็กๆ เขาจะมีการปรับเปลี่ยนความรู้สึกไปมาอยู่ระยะหนึ่ง เดี๋ยวก็อยากไปเดี๋ยวก็ไม่อยากไปโรงเรียน เรื่องนี้ยังไม่ถึงขั้นเป็นปัญหา แต่ก็ใช่จะวางใจไม่ทุกข์ร้อนเอาเสียเลย เพราะถ้าไม่รีบแก้ไข ใช้แต่ไม้แข็ง บังคับลูกไปโรงเรียนอยู่ทุกวันๆ เรื่องที่ไม่ใช่ปัญหาก็จะเกิดเป็นปัญหาที่แก้ยากมากขึ้นได้
ฉะนั้นเมื่อลูกต่อต้านไม่อยากไปโรงเรียน ด้วยอาการไม่ยอมหม่ำข้าวตอนเช้า ร้องไห้งอแง หรือบ่นปวดท้อง ปวดหัว ต้องพยายามหาสาเหตุแล้วช่วยเหลือ ให้กำลังใจลูกค่ะ และเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของอาการไม่อยากไป... ไม่อยากไปโรงเรียนของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ และครูสามารถช่วยเหลือลูกได้ค่ะ
ขอเวลาปรับตัวอีกนิด พอไปโรงเรียนมีเรื่องที่ต้องปรับตัวมากมาย ปรับตัวกับที่ใหม่ คนใหม่ที่แปลกไปจากเดิม เรื่องกินเรื่องอยู่ของหนูก็ต้องปรับกันด้วย จากที่อยากกินอะไร เมื่อไหร่ก็ได้ตามใจ ก็ต้องปรับมาเป็นเวลามากขึ้น บางทีแค่เรื่องรสชาตินมที่แตกต่าง กับข้าวที่โรงเรียน ก็ยังเป็นเหตุให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนได้เลยค่ะ
ยิ่งบ้านไหนเลี้ยงลูกแบบประคบประหงมเอาใจ ลูกยิ่งอึดอัดกับการปรับตัวที่โรงเรียนมาก พัฒนาการบางด้านที่ไม่ได้ฝึกฝนเต็มที่เพราะมีคนช่วยทำให้ตลอด มาถึงโรงเรียนก็จะรู้สึกเปรียบเทียบกับเพื่อน ว่าตัวเองทำได้ไม่เหมือนเพื่อน ไม่ทันเพื่อน อย่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องให้โอกาสเขาได้ทำอะไรด้วยตัวเองบ้าง เพื่อช่วยให้ลูกปรับตัวได้ง่ายขึ้นนะคะ  ถ้าลูกสามารถปรับตัวกับเรื่องเหล่านี้ได้แล้ว มีน้อยค่ะที่จะกลับมาเป็นปัญหาให้ไม่อยากไปโรงเรียนอีก เว้นแต่ช่วงเปิดเทอมใหม่ๆ ที่เด็กๆ ยังติดใจกับความสะดวกสบายที่บ้านขณะปิดเทอมอยู่ แต่ก็จะเป็นแค่ช่วงเดียวเท่านั้นแล้วจะหายไป   
สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ประเภทสามวันไปโรงเรียนสี่วันต้องหยุดอยู่บ้าน แบบนี้อาการไม่อยากไปโรงเรียน อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าตัวเองแปลกไปจากเพื่อน รู้สึกเหมือนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพื่อนๆ ร้องเพลงนี้ ทำกิจกรรมนี้แล้วทำไมหนูไม่เคยทำ ทำไมทำได้ไม่เหมือนเพื่อน เลยไม่อยากมาโรงเรียน คุณแม่ต้องให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งปัญหาสุขภาพ เช่น การได้ยินหรือสายตาที่อาจเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ของลูก จนขาดกำลังใจไม่อยากไปโรงเรียนได้ ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการลูก แล้วแจ้งให้ครูทราบพร้อมๆ กับปรึกษาคุณหมอ เพื่อช่วยเหลือลูก
เด็กท้ายแถว เด็กวันนี้เขาเล่นรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อนทำหรือไม่ทำอะไรหนูเอาด้วย ถ้าไปกันเป็นแก๊งค์ก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเมื่อไหร่มีคนถูกทิ้งไว้รั้งท้ายอยู่คนเดียว ก็เป็นเรื่อง
เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องปรึกษากับคุณครู ให้ช่วยหาวิธีหรือกิจกรรมเพื่อสร้าง และกระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ช่วยให้ลูกสนุก ลืมความเศร้าและความโดดเดี่ยวนั้นไปเสีย ซึ่งตรงนี้กำลังใจจากคุณสำคัญทีเดียวค่ะ
ขาดคู่หู ข้อนี้อาจเป็นด้วยสิ่งแวดล้อมที่บ้านที่มีแต่ผู้ใหญ่ ไม่ค่อยได้มีโอกาสได้เล่นกับเด็กๆ ด้วยกัน ไม่รู้วิธีที่จะเล่นกับเพื่อน รู้สึกอยากจะเล่นกับผู้ใหญ่ แต่ในห้องเรียนก็มีผู้ใหญ่แค่คนหรือ 2 คน เท่านั้น ขณะที่ เด็กๆ มีเป็นสิบ ทำให้รู้สึกว่าตัวเองแปลกหน้าแปลกกลุ่มไปจากกลุ่มเพื่อน เลยไม่สนุกกับการมาโรงเรียน
นอกจากขอให้คุณครูช่วยหากิจกรรมสร้างสัมพันธ์ให้แล้ว คุณเองก็ควรพาลูกไปร่วมกิจกรรมกับเด็กๆ วัยเดียวกันให้มากขึ้น
ปัญหาในกลุ่มเพื่อน เด็กๆ มีนิสัยแตกต่างกัน ก็อาจมีการทะเลาะกันบ้าง ล้อเลียนกันบ้าง ตามประสาเด็ก ไม่ได้รุนแรงอะไร เด็กๆ เขาก็จะหาวิธีคืนดีกันเองได้ โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องเข้าไปจัดการ พอคืนดีกันแล้วความรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียนก็จะหายไปค่ะ หรือบางคนเล่นกับเพื่อนๆ ที่เล่นแรงหน่อยก็เข้าใจว่าถูกเพื่อนรังแก ด้วยความที่ไม่เคยเจอสถานการณ์แบบนี้ ฉะนั้นก่อนจะตีโพยตีพายว่าใครรังแกลูกเรา ควรปรึกษากับคุณครู ซึ่งเป็นคนที่รู้จักเด็กๆ ทุกคนดีที่สุดก่อน เพื่อทราบข้อมูลที่แท้จริงแล้วร่วมกันแก้ปัญหา

คุณพ่อคุณแม่เองก็ควรสอนให้ลูกจัดการกับปัญหาลักษณะนี้ ด้วยวิธีการพูดคุยตกลงกับเพื่อน สอนให้ลูกบอกถึงเงื่อนไขกติกาการเล่นระหว่างกันกับเพื่อนได้ เช่น ถ้าเล่นแรงเราจะไม่เล่นด้วยนะ

ปัญหาพิเศษ เป็นปัญหาที่ทำให้เจ้าหนูรู้สึกอยากอยู่บ้าน อยู่กับพ่อแม่ เพื่อให้แน่ใจว่าเขายังเป็นที่รักและไม่ถูกทอดทิ้งไปไหน เช่น แม่มีน้องใหม่ มีใครในบ้านป่วยหรือเสียชีวิต สิ่งเดียวที่จะช่วยเรียกความมั่นใจของลูกกลับคืนมาได้ ก็คือการดูแลเอาใจใส่กำลังใจจากทั้งคุณพ่อคุณแม่ และทุกคนในบ้านค่ะ

 


Powered by EzPortal