เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: เด็กขี้กลัว รักษาอย่างไร?  (อ่าน 8146 ครั้ง)

ออฟไลน์ Panita singpor

  • Full Member
  • *
  • กระทู้: 68
เด็กขี้กลัว รักษาอย่างไร?
« เมื่อ: วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2012 เวลา 17:45 น. »
เด็กขี้กลัว
      ความกลัว เป็นธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์เราต้องมีความกลัวหรือความกังวลเพื่อให้ปลอดภัยจากสิ่งที่มาคุกคาม เด็กก็มีความกลัวได้ตามพัฒนาการ เช่น เด็กเล็กๆ ก็อาจจะกลัวสัตว์ กลัวผี กลัวความมืด หรือกลัวคนแปลกหน้า ซึ่งถือเป็นความปกติตามพัฒนาการ 

เมื่อไรจึงจะเรียกว่า ?เด็กขี้กลัว? ?
      เด็กที่มีความกลัวมากเกินไป กลัวอย่างรุนแรง หรือว่ามีความกลัวที่ไม่เหมาะสมกับวัยของตนเอง เช่น เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้วก็ยังกลัวหรือมีความกังวลอะไรบางอย่างอยู่ ก็อาจจะเรียกว่าเด็กขี้กลัวได้  จนกระทบกระเทือนต่อการใช้ชีวิต เช่น มีปัญหาการเรียน มีปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นรุนแรง มีปัญหาการปรับตัวอย่างมาก
อาการของเด็กขี้กลัวมีอะไรบ้าง
      ความกลัวของเด็กมีหลายชนิด ทำให้เด็กมีอาการแตกต่างกันไป เช่น
      เด็กที่กลัวการจากพราก เด็กจะมีความวิตกกังวลเมื่อต้องแยกจากพ่อแม่ กลัวว่าจะไม่ได้พบกันอีก เด็กอาจจะไม่ยอมไปโรงเรียน เกาะติดพ่อแม่ หรืออาละวาดเพื่อไม่ให้พ่อแม่จากไป ไม่กล้าไปนอนที่อื่น ฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ต้องจากพ่อแม่ เด็กบางคนอาจมีอาการทางกาย เช่น มีอาการปวดท้องบ่อยๆ
      เด็กที่วิตกกังวลในการเข้าสังคม เด็กจะหลีกเลี่ยงการพบปะพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม เด็กอาจจะไม่กล้าแสดงออก มีเพื่อนน้อย
      เด็กขี้กลัวแบบจำเพาะเจาะจง เด็กจะมีอาการกลัวสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือสถานการณ์บางอย่าง เช่น กลัวสุนัข กลัวแมลง หรือกลัวถูกฉีดยา ความกลัวนั้นมีมากจนต้องหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น และรบกวนชีวิตประจำวันอย่างมาก
      สำหรับอาการอื่นๆของเด็กขี้กลัว เช่น เด็กจะคิดกังวลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ไปล่วงหน้า มีอาการย้ำคิดย้ำทำ ขาดความมั่นใจในตนเอง 

ปัจจัยที่ทำให้เด็กขี้กลัว?
      1. พื้นอารมณ์ เด็กจะมีพื้นอารมณ์หรือบุคลิกที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เด็กบางคนก็มีความกล้า เจออะไรใหม่ๆ ก็จะแสดงออกอย่างรวดเร็ว แต่เด็กบางคนก็อาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวค่อนข้างนาน อาจเป็นจากระบบประสาทภายในร่างกายมีการตอบสนองต่อความเครียดที่มากกว่าเด็กทั่วไป เวลาเครียดจึงเป็นมากและทนได้ลำบาก
      2. การเลี้ยงดู การเลี้ยงดูที่มีการควบคุมเข้มงวด วิพากษ์วิจารณ์รุนแรงหรือมีกฏระเบียบมากเกินไป มีการลงโทษอย่างรุนแรง หรือมีการจำกัดการแสดงออกของเด็ก ทำให้เด็กบางคนมีความกลัวที่จะแสดงออก กลัวที่จะแสดงความคิดเห็น หรือกลัวที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ นอกจากที่ผู้ปกครองบอกไว้
      3. พันธุกรรม เช่น มีพ่อหรือแม่เป็นโรควิตกกังวล จะส่งผ่านสู่บุตรทั้งปัจจัยทางกรรมพันธุ์และรูปแบบการเลี้ยงดู
      4. การประสบกับอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์สะเทือนขวัญ อาจทำให้เด็กตกใจกลัว หรือกลัวว่าเหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้นอีก จึงฝังใจเรียนรู้ว่าโลกนี้ไม่ปลอดภัยต้องคอยระแวดระวังตลอดเวลา

พ่อแม่จะช่วยเด็กขี้กลัวได้อย่างไร?
      ประการแรก พ่อแม่ควรจะเข้าใจธรรมชาติของเด็กก่อน ว่าเด็กมีพื้นอารมณ์หรือมีบุคลิกภาพอย่างไร พ่อแม่จะต้องปรับความคาดหวังว่าเด็กจะกล้าแสดงออกเท่ากับเด็กคนอื่น เพราะความคาดหวังให้ลูกทำอะไรได้มากกว่าความสามารถของเขา กลับกดดันให้รู้สึกด้อยและเขามั่นใจในตัวเองน้อยลง เมื่อพ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กแล้ว ก็ต้องส่งเสริมหรือพัฒนาตามธรรมชาติของเด็ก
      เด็กที่ขี้กลัว หรือเด็กที่ไม่กล้า พ่อแม่ไม่ควรเร่งหรือผลักดันให้เด็กไปเผชิญกับสิ่งที่กลัวมากเกินไป ควรจะให้เด็กเผชิญกับสิ่งที่กลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมหรือสนับสนุน พ่อแม่ควรจะให้กำลังใจเมื่อลูกเผชิญกับสิ่งที่กลัวได้ เด็กก็จะสร้างความมั่นใจ และสามารถผ่านพ้นความหวาดกลัวไปได้
      สิ่งที่พ่อแม่ควรจะหลีกเลี่ยง คือ ปกป้องลูกมากเกินไป ให้ลูกหลีกเลี่ยงในสิ่งที่กลัว หรือไม่ให้เจอกับสิ่งที่หวาดกลัวเลย เด็กก็จะไม่ได้เผชิญกับสิ่งที่กลัว และไม่หายกลัวในอนาคต  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ บางท่านอาจคิดว่าควรพูดท้าทายเด็กหรือเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เพื่อเด็กจะได้ฮึดขึ้นมาสู้มากขึ้น วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับเด็กทุกคน เด็กบางคนอาจยิ่งเครียดกว่าเดิมและรู้สึกเหมือนถูกดูหมิ่นมากขึ้นไปอีก

เมื่อไรต้องพาเด็กขี้กลัวมาพบจิตแพทย์เด็ก?
      ถ้าความกลัวนั้นรุนแรงจนเด็กไม่สามารถทำหน้าที่ประจำวันได้ เช่น ทำให้ไปโรงเรียนไม่ได้ หรือต้องหลบเลี่ยงกับสถานการณ์บางอย่างตลอดเวลา การดำเนินชีวิตแปรปรวนไปจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือมีอาการซึมเศร้า หรือพ่อแม่ได้หาวิธีทั้งหลายมาปลอบประโลมลูกแล้วก็ยังไม่หายกลัว ก็อาจต้องพาลูกมาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและรักษาต่อไป 

เด็กขี้กลัว รักษาอย่างไร?
      การรักษาที่ได้ผลดี คือ ฝึกให้เด็กเผชิญกับสิ่งที่กลัวอย่างเป็นระบบ ในรูปแบบของพฤติกรรมบำบัด โดยฝึกให้เด็กเผชิญสิ่งที่กลัวทีละน้อย จากน้อยไปหายาก มีรางวัลให้เมื่อเด็กไม่กลัว และจะถอนรางวัลออกเมื่อเด็กกลัว และจิตแพทย์อาจให้คำแนะนำกับครอบครัวเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลลูกให้มีความมั่นใจมากขึ้น
      เด็กบางราย อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อช่วยลดความหวาดกลัวหรือความกังวล

 


Powered by EzPortal