เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: โรคลมชักกับการมีบุตร  (อ่าน 3726 ครั้ง)

ออฟไลน์ Panita singpor

  • Full Member
  • *
  • กระทู้: 68
โรคลมชักกับการมีบุตร
« เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2012 เวลา 14:24 น. »
 :Dแนวทางปฏิบัติ
ระยะก่อนตั้งครรภ์
เมื่อวางแผนจะมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาว่าควรจะปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้หรือไม่ หรือควรปรับเปลี่ยนยากันชักก่อนตั้งครรภ์ เป็นต้น
 
ระยะตั้งครรภ์
?       ควรรับประทานยากันชักต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
?       ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และวิตามินเสริม โดยเฉพาะโฟลิคแอซิดทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์
?       ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายพอเหมาะ และพักผ่อนให้เพียงพอ
?       งดการสูบบุหรี่ งดการดื่มสุรา และสิ่งเสพติด
          พบแพทย์สม่ำเสมอ
 
ขณะคลอด
แม่ที่เป็นโรคลมชักควรจะคลอดที่โรงพยาบาล เพราะอาจเกิดการชักขณะคลอดได้จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา
 
หลังคลอด
?       แม่สามารถให้นมบุตรได้ ยากันชักส่วนใหญ่ขับทางน้ำนมได้น้อย จะไม่เป็นอันตรายต่อทารก ยกเว้นยากันชักบางชนิดขนาด สูง ๆ อาจทำให้ทารกง่วงซึมได้ ควรปรึกษาแพทย์
?       แม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้เอง แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เพราะอาจเกิดการชักขณะเลี้ยงดูบุตรได้
?       ควรหลีกเลี่ยงการอดนอน และ/หรืออ่อนเพลีย เนื่องจากเป็นสาเหตุให้เกิดการชักได้บ่อยและรุนแรง

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Re: โรคลมชักกับการมีบุตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 04 สิงหาคม 2012 เวลา 11:35 น. »
คำถาม : เรียนคุณหมอดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับเรื่องของโรคลมชัก ถ้าเกิดว่าคนเป็นโรคนี้อยู่แล้ว แต่เกิดตั้งครรภ์ ในขณะเดียวกันก็มีอาการกำเริบเกิดขึ้น ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร และเกี่ยวกับตัวยาที่ใช้อยู่ จำเป็นจะต้องปรับยาหรือหยุดให้ยานั้นเลยหรือเปล่าค่ะ
คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ / จ.ระยอง


คำตอบ: คุณเป็นโรคลมชักและกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งหมอต้องจัดคุณอยู่ในกลุ่มผู้ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากทั้งหมอสูติ และหมออายุรกรรมที่เชี่ยวชาญเรื่องลมชักอย่างใกล้ชิด ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น คือโอกาสที่เด็กเกิดมาผิดปกติจะสูงกว่าคนทั่วๆ ไป นอกจากนี้ยังจะชักมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ตับและไตจะเผาผลาญยา (Metabolize) ได้มากขึ้น การกินยากันชักในจำนวนที่น้อยเกินไป เพราะแม่มัวแต่ห่วงว่ากินยาแล้วจะมีอันตรายต่อลูก ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้แม่ชักมากขึ้น ยากันชักที่ทำให้เกิดความผิดปกติในเด็ก ได้แก่
-Phenytion
-Phenobarbital
-Primidone
-Valproate
-Carbamazepine
ถ้าต้องกินยากันชักหลายตัว ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการทำให้เด็กผิดปกติจริงๆ แล้วก่อนที่ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักจะตั้งครรภ์ ควรลดยากันชักให้เหลือเพียงตัวเดียว และพยายามใช้ยาขนาดน้อยที่สุดที่จะควบคุมการชักไว้ได้ ในผู้ป่วยที่ไม่ชักติดต่อกัน 2-5 ปี แพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยาได้
ยากันชักต่างๆ จะทำให้สารโฟเลทในร่างกายลดน้อยลง ซึ่งมีผลทำให้เกิดความผิดปกติในระบบประสาทของเด็ก (Neural tube defect) ดังนั้นถ้ามีแผนจะตั้งครรภ์ ให้กิน Folate ก่อนที่จะตั้งครรภ์สักระยะหนึ่งก่อนยานี้ เป็นยาที่ถูกหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป
สำหรับคุณซึ่งขณะนี้กำลังตั้งครรภ์อยู่ควรได้รับการเช็คระดับยากันชักในเลือดทุกเดือนว่าระดับยาเพียงพอที่จะควบคุมการชักได้หรือไม่, ยามากไปหรือไม่ ฯลฯ หมอที่ดูแลคุณจะได้ปรับขนาดของยากันชักให้เหมาะสม
นอกจากนี้ยังต้องเจาะเลือดหา Maternal serum alpha fetoprotein การตรวจนี้จะดูความผิดปกติทางระบบประสาทของเด็ก เมื่อแม่ตั้งครรภ์ได้ 19-20 อาทิตย์ แพทย์จะอัลตราซาวด์ดูว่า เด็กผิดปกติไหม โดยจะดูหน้าดูอวัยวะให้ระบบประสาท ดูหัวใจ เป็นต้น แพทย์บางท่านอาจพิจารณาให้เจาะน้ำคร่ำมาตรวจความผิดปกติด้วย การที่แม่ชักระหว่างตั้งครรภ์จะมีอันตรายได้ เช่น ถ้าหากแม่ชักแล้ว ล้มไปกระแทกถูกท้อง อาจทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้เด็กขาดออกซิเจน และเสียชีวิตได้ หรือถ้าแม่สำลักอาหารระหว่างตั้งครรภ์เกิดจากการที่ตับและไตเผาผลาญ (Metabolize) ยากันชักได้มากขึ้นแล้ว ยังเกิดจาก
-แม่มีความเครียดมากขึ้น
-มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
-อาจนอนหลับไม่เพียงพอ
-กินยาไม่พอเพราะกลัวยาเป็นอันตรายต่อลูก ฯลฯ
ความผิดปกติที่พบในเด็กที่อาจเกิดขึ้นได้คือ อาจมีปากแหว่งเพดานโหว่ หัวใจผิดแกติ ระบบประสาทผิดปกติ (Meural tube defect) IQ ต่ำ พัฒนาการช้า ช่วงที่คลอดก็เป็นช่วงที่หมอต้องดูแลคุณอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการชักระหว่างคลอด ซึ่งถ้าดูและอย่างดี 90% ของการคลอดจะผ่านไปได้ด้วยดี หมอขอให้คุณรีบฝากครรภ์กับโรงพยาบาลใหญ่ๆ ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลมชักที่จะดูแลคุณอย่างดี และขอให้คุณและลูกแข็งแรงสมบูรณ์ และปลอดภัย

ที่มา : http://motherandchild.in.th/content/view/463/113/

 


Powered by EzPortal