Forum > แชร์ประสบการณ์โรคลมชัก

วิธีการดูแล สังเกตุอาการ ข้อควรระวัง สำหรับผู้ป่วยลมชัก

<< < (2/2)

อรอุมา. ไชยเศรษฐ:
สังเกตอีกอย่างคือถ้าอยู่ในที่ที่อากาศร้อน หรือมีคนพลุกพล่าน ก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการได้เช่นกันค่ะ

Taro:
วิธิสังเกตอาการชักแบบเหม่อ(ในผู้สูงอายุ) จากประสบการณ์นะคะ
- อาการชักจะเกิดในระยะเวลาสั้นๆ แต่หลังจากการชักจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปคล้ายคนเป็นอัลไซเมอร์แบบเฉียบพลัน คือไม่รู้ตัว ไม่สามารถทำกิจวัติประจำวันเดิมๆได้เลยเช่นการอึ/ฉี่/อาบน้ำ/กินข้าว เป็นต้น ตาลอย ไม่สบตา พูดจาไม่รู้เรื่องหรือถ้าเราพูดกับเขาไม่มีการตอบสนอง หลังจากนั้นอาจหลับต่อหลายชั่วโมง หลังจากตื่นจะเริ่มรู้สึกตัวบ้างสลับกับไม่รู้เรื่องบ้างไปมาสักระยะ (สมองของคนแก่หลังจากการชักใช้เวลา Recover นานกว่าเด็กค่ะ) กว่าจะกลับมาพูดคุยได้ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน  แต่ความจำในส่วนของ Skill จะกลับมาไม่เหมือนเดิมนะคะ ในเรื่องของกิจวัติประจำวันต้องคอยช่วยและฝึกกันใหม่ แต่จะไม่กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม 100% คิดช้าลงและบางคำบางประโยคจะคิดไม่ออก

สิ่งกระตุ้นการชัก (ในคนแก่)
- การเจ็บป่วย (จากกรณีของคุณพ่อเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการท้องเสีย) **มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคนแก่ถ้ามีอาการท้องเสียควรหาหมอนะคะ และท้องผูกเกิน 2 วันก็อันตรายพอกันคะจะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายมาก**
- คนไข้ที่มีอาการพวกเส้นเลือดในสมองตีบ/แตก ฯ จะมีโอกาสเกิดการชักได้ง่าย
- เป็นไข้
-พักผ่อนน้อย (อาจจะเป็นเพราะยากันชักที่กินทำให้ง่วง แต่ถ้าฝืนไม่นอนอาจเกิดการชักอีกได้ค่ะ) อันนี้ตามความคิดเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์นะคะ

ข้อห้าม (ในคนแก่)
-ไม่ควรขับรถ (คุณพ่อดื้อ ขับรถออกไปเอง ชนวันเดียวกัน 2 รอบ ออกไปแค่ครึ่งช.ม. นะคะ สมองจะสั่งการช้าลงมากและบางครั้งจำไม่ได้)
- ไม่ควรปล่อยให้อยู่คนเดียว เพราะพอเกิดการชัก หลังจากนั้นจะไม่รู้สึกตัว ซึ่งอันตรายมากค่ะ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version