Forum > แชร์ประสบการณ์โรคลมชัก

วิธีการดูแล สังเกตุอาการ ข้อควรระวัง สำหรับผู้ป่วยลมชัก

(1/2) > >>

ann:
  จริงไม่อยากเป็นคนสร้างกระทู้นี้เอง เอาเป็นว่าใครมีอะไรที่จะช่วยกันลงได้ก็ช่วยลงนะคะ 
สิ่งที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคลมชักคือ
1.ศึกษาผลข้างเคียงให้แน่ชัดเมื่อคุณหมอจ่ายยามาให้
2.สังเกตุอาการโดยละเอียดหลังทานยาไปและจดไว้กันลืม(สำหรับเด็กเล็กพ่อแม่ควรจดพัฒนาการก่อนการได้รับยาตัวนั้นและเมื่อได้รับแล้วเป็นยังไง)
3.ทานยาตรงเวลาตามกำหนดที่หมอสั่งและไม่ควรคลาดเคลื่อน
4.ไม่ควรหยุดยาเองโดยพละการ
5.ยาบางตัวทานแล้วตัวอ่อนลงหรือเป็นมากขึ้นพ่อแม่ต้องสังเกตุอย่างละเอียดและยาบางตัวอาจทำให้การชักเปลี่ยนรูปแบบได้
6.ระวังอย่าทำให้ผู้ป่วยลมชักตกใจและเหนื่อยเพราะเป็นการกระตุ้นอาการชักได้
7.แสงไฟแว๊ปๆ บางทีก็ทำให้กระตุ้นการชักได้
      แอนรู้แค่นี้ใครที่รู้ส่วนใดมาช่วยกันลงรายละเอียดเพิ่มนะคะ

Thanks-Epi:
จากhttp://www.lomchakclub.com/v9/index.php/topic,412.0.html

-เครียด อดนอน ตื่นเต้น เหนื่อยเกินไป
-ประจำเดือน/อาหารเสริม น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส เป็นตัวกระตุ้นการชัก
-ชักแล้วเครียด เครียดแล้วชัก เหงา ซึมเศร้า ชักหลอก http://www.lomchakclub.com/v9/index.php/topic,454.0.html 
-หัตการที่มีไฟฟ้าเกี่ยวข้อง (เลเซอร์ทุกชนิด /ไอออนโต/เลสิค ฯลฯ)
โดยเฉพาะ การทำเลสิก  อันตราย ถึงตาบอดได้ ถึงแม้จะ หายจากโรคลมชักแล้ว  แพทย์ก็ไม่อนุญาตให้ทำ (ต่างกับ เลเซอร์อย่างอื่น ซึ่ง ถ้าเกิดอาการชัก สามารถหยุดหัตถการนั้นได้ )
-การทำงานเสี่ยงอันตราย/ ระมัดระวังการตั้งครรภ์/ข้ามถนน/ขับรถ
-ทานยาไม่สม่ำเสมอ
-เหล้า ชา กาแฟ บุหรี่ ขนม/เครื่องดื่ม ที่มีสารกระตุ้นสมอง
-แสงสว่าง (ส่วนตัวต่าย จะไม่นั่งหน้ารถเบาะเลยค่ะ หรือไม่เคยเที่ยวเธคเลย ตั้งแต่เป็นลมชัก)
-คอมพิวเตอร์
-ทีวี 3 มิติ
-อบซาวน่า (ห้ามเด็ดขาด)
-ระมัดระวังอุบัติเหตุ เช่น ควรนั่งอาบน้ำ ห้องน้ำควรมีที่จับ ใส่ปลอกแขนทำกับข้าว ใช้เตาไฟฟ้าแม่เหล็ก ฯลฯ

ระมัดระวังยาสามัญประจำบ้าน 
1. ยาแก้ไอน้ำดำ  มีแอลกอฮอล์ อยู่ 9.1%  และ คำเตือน ว่า ใช้ด้วยความระมัดระวัง กับยากลุ่ม Phenothiazines
ยา Phenobarb   (ไม่ทราบว่าเป็นยากลุ่มเดียวกันหรือเปล่าค่ะ)
2.cpm ยาลดน้ำมูก   ที่ควรแจ้งแพทย์ว่าเด็กมีโรคประจำตัวเป็นลมชัก

จาก http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/otcproject/25.html#ยานี้มีข้อควรระวังอย่างไร

และ


การให้นมบุตรซึ่ง หมอลมชักกับ หมอสูติมีความเห็นต่างกัน
หมอลมชัก-สามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจาก โดยสังเกตุ effect ของยา (ซึ่งอาจจะมีน้อยมาก)
หมอสูติ-ไม่แนะนำ เนื่องจาก ระวังในความปลอดภัย การอุ้มลูก(ถ้ามีอาการชักช่วงให้นม) อาจจะเกิดอันตรายกับเด็กทารกได้

การคุมกำเนิดด้วยยา ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์สูติและแพทย์ลมชักร่วมกัน
(ภาพจากเอกสารคำแนะนำวิธีรับประทานยาคุมกำเนิด)

popja:
ว่าด้วยเรื่องข้อควรระวังก่อน ขอตอบเท่าที่สังเกตลูกน๊ะครับ

1.ระวังเรื่องการดูทีวี สังเกตมาหลายครั้งแล้ว ถ้าดูบ่อยๆจะรู้สึกว่าเขาแปลกๆไปครับ
แล้วก็มีอาการแสดงออกมาเยอะหน่อย ช่วงที่ได้ดูทีวีมากๆ เพราะมันแว๊ปไปมา ภาพก็เปลี่ยนไปมาเร็วบ้างช้าบ้าง อยู่นอกเหนือการควบคุม ยิ่งโฆษณาน่ากลัวมากๆครับ

2.ระวังเรื่องการเล่นแสงให้ลูกดู เคยปิดไฟ แล้วเอาไฟฉายส่องบนเพดาน
ลูกชอบมาก ชอบมอง แต่หลังจากดูแล้ว ก็มีอาการแปลกๆตามมาเยอะเลยครับ

ทั้ง 2 เรื่องนี้ เป็นประสบการณ์ผมเอง อาจจะเป็นจังหวะที่ตรงกับจะมีอาการอยู่แล้วหรือเปล่าก็ไม่รู้
แต่สังเกตแล้วจะเป็นหลังจากที่มีกิจกรรมทั้ง 2อย่าง แล้วก็จะมีอาการ
ส่วนตัวผมแล้ว พยายามเลี่ยงไว้ก่อนครับ

เรื่องการสังเกตอาการ ที่ผมทำประจำก็คือ
  - หากมีการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการ จะจดไว้เสมอครับ วันที่เวลา ด้วยน๊ะครับ
  - หากมีการเพิ่มลดยาทุกครั้ง ก็จะจดปริมาณยาไว้เสมอ
  - หากมีอาการโรคลมชักเกิดขึ้น ก็จะจดไว้เสมอ โดยเทียบกับอาการทุกๆวัน ถ้ามีอาการมากกว่า หรือน้อยกว่าปกติ ก็จะจดไว้ เพราะถ้าเราจะดูความสัมพันธ์ระหว่างการลดยาเพิ่มยา กับอาการ จะวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้นครับ
  - พยายามไม่สร้างปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติมที่จะทำให้การหาสาเหตุ ว่าทำไมวันนี้หรือวันนั้นถึงมีอาการแย่ลง มีความซับซ้อนสับสนมากเกินไป เช่น การทานยา ถ้าทานเวลาไหนก็ทานเวลาเดิม  อาหารคีโตน ก็จะทำเองไม่ให้ใครทำแทน ป้องกันสูตรผิด 
     แต่ถ้าหากทานยาผิดเวลาก็จะไม่ให้เกินครึ่ง ชม. (เด็กเล็กจะควบคุมเวลาให้ยาตรงกันทุกๆวันยากมากๆ)  เพราะถ้าปัจจัยมีเปลี่ยนแปลงหลายเรื่องพร้อมๆกัน ก็จะสรุปหาสาเหตุได้ยากครับ พยายามทำให้ทุกอย่างนิ่งที่สุดก่อน จะได้มองเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอื่นๆได้ง่ายครับ
  - ทุกครั้งที่พบคุณหมอ ให้อัดเสียงไว้ทุกๆครั้งเลย เพราะเราจะสามารถกลับมาฟังใหม่ได้
บางทีฟังไม่เข้าใจ คุณหมอพูดศัพท์ภาษาอังกฤษ แปลไม่ออกบ้าง ฟังไม่ทันบ้าง
อย่างน้อยก็มาถอดเสียง แล้วโน๊ตเก็บไว้ จะได้ไม่ลืมว่าหมอว่าอย่างไรบ้างครับ
จากที่ผมได้นำกลับมาฟังใหม่ ทำให้ผมงงว่า บางเรื่องก็ฟังไม่ทัน บางเรื่องก็งงว่าหมอพูดด้วยหรือนี่  ;D
บางเรื่องพอฟังซ้ำ เราก็ปะติดปะต่อได้ดีขึ้นครับ  8)
  - อีกอย่างนึง ให้เราเขียนทุกอย่างสรุปไว้ ซัก 1-3 หน้าก็ได้ครับ สรุปย่อ เผื่อ
เรามีปัญหาอะไรขึ้นมา คนอื่นจะได้รู้ว่าต้องดูแลแทนเราได้อย่างไร ทานยาอะไรอยู่บ้าง
ทานเท่าไหร่  ทานเวลาไหนบ้าง วิธีการทำทำอย่างไร ผมเองก็ยังไม่ได้ทำตรงนี้เลยว่าจะหาเวลาทำอยู่
กันไว้ก่อนดีกว่าครับ น่าจะมีเท่านี้ครับ  ;D

ann:
  อ้ออีกเรื่องที่เป็นประสบการณ์ของตัวเอง ก็คือว่าอย่าวิตกจริตมากจนเกินไปค่ะ   เพราะเจอมากับตัวเองหมอให้ลดยา และเพิ่มยาอีกตัว ปรากฎว่าลดแล้วอาการเยอะ ก็เลยไม่กล้าลดแต่ยาที่เพิ่มก็ยังเพิ่มอยู่ ตรงนี้จะเป็นสาเหตุให้ลูกได้ยาเยอะไปค่ะ ควรใจเย็นจดบันทึกไว้คุยกับหมอค่ะ

NONG:
เป็นที่ทราบกันดีว่า คนที่เป็นโรคลมชัก (epilepsy) มีความเสี่ยงหรืออันตรายจากการว่ายน้ำเพิ่มขึ้น ทีนี้จะเพิ่มขึ้นกี่เท่า วันนี้มีข้อมูลมาฝากครับ

คณะนักวิจัยแห่งสถาบันประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน สหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ) ทำการทบทวนการศึกษา 31 รายงาน

ผลการศึกษาพบว่า คนที่เป็นโรคลมชักมีความเสี่ยง (โอกาส) ที่จะจมน้ำจากการว่ายน้ำเพิ่มขึ้นได้มากถึง 19 เท่าของคนทั่วไป

อาจารย์ท่านแนะนำว่า มาตรการต่อไปนี้อาจช่วยให้ปลอดภัยขึ้นได้แก่ ถ้าชักเป็นประจำหรือควบคุมการชักได้ไม่ดีไม่ควรว่ายน้ำ

ถ้าควบคุมการชักได้ดี เช่น ไม่ชักเลยมาเป็นเดือนเป็นปี ฯลฯ ควรพิจารณามาตรการดังต่อไปนี้
 
ถ้าจะว่ายน้ำ > ให้ว่ายในสระน้ำที่มีผู้ช่วยชีวิต (life guard) ประจำ และบอกผู้ช่วยชีวิตก่อนว่า เป็นโรคลมชัก
ถ้าจะอาบน้ำ > ให้อาบด้วยฝักบัวหรือตักอาบจากโอ่งจะปลอดภัยกว่าการอาบน้ำในอ่าง

นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์   โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version