เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเข้าใจเรื่องพลังงานจากอาหาร (แคลอรี)  (อ่าน 39685 ครั้ง)

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
ความเข้าใจเรื่องพลังงานจากอาหาร (แคลอรี)
« เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2010 เวลา 20:47 น. »
ตัวเลขที่ใช้คำนวณพลังงานครับ

 จากการวัดค่าพลังงานความร้อนในอาหารโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ทำให้เราทราบว่าอาหารต่างชนิดกัน  เพราะมีพลังงานที่สะสมอยู่ต่างกัน  ดังนี้

                               โปรตีน                1     กรัม    ให้พลังงาน   4   กิโลแคลอรี

                               คาร์โบไฮเดรต      1     กรัม    ให้พลังงาน   4   กิโลแคลอรี

                               ไขมัน                  1     กรัม     ให้พลังงาน  9    กิโลแคลอรี

อ้างอิง จาก http://www.kr.ac.th/tech/det48m2/f003.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2011 เวลา 00:11 น. โดย popja »
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
ความเข้าใจเรื่องพลังงานและ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2010 เวลา 20:55 น. »
อ้างอิงจาก http://www.foremostforlife.com/articles/inner.aspx?id=7

ระวังแคลอรี (พลังงานจากอาหาร)

ก่อนหน้านี้เราจะเน้นเรื่องน้ำหนักตัว แต่ในปัจจุบันจะเน้นชัดเจนในเรื่องของแคลอรีหรือพลังงานซึ่งขึ้นกับปริมาณ อาหารที่จะต้องกินในชีวิตประจำวัน เพราะการที่จะดูแลน้ำหนักตัวให้ดีได้ ต้องรู้จักบริหารจัดการน้ำหนักตัวในระยะยาวโดยกินให้สมดุลกับแรงงานที่ใช้ กินในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกชนิดอาหารที่จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเลือกอาหารที่มีสารอาหารเข้มข้นแต่พลังงานน้อยและจำกัดไขมันอิ่มตัวและไข มันทรานซ์ จำกัดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงๆ เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก เลี่ยงหรือลด แอลกอฮอล์ เน้นอาหารที่มีองค์ประกอบของสารอาหารที่ดีเช่นโปรตีน ใยอาหาร วิตามินและเกลือแร่ รวมทั้งให้พลังงานอย่างเพียงพอ

สารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายมี 6 ชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันไป สารอาหารทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ แหล่งสารอาหารที่ให้พลังงานซึ่งเราเรียกหน่วยวัดของพลังงานว่า กิโลแคลอรี ได้จากอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแอลกอฮอล์ และร่างกายต้องการอินซูลินเพื่อเผาผลาญสารอาหารทั้ง 3 นี้ในการทำงานตามปกติส่วนวิตามิน เกลือแร่ และน้ำ ไม่ให้พลังงาน และไม่ต้องการอินซูลินในการทำงาน แต่จะช่วยให้ระบบ metabolism ของร่างกายทำงานเป็นปกติ

 

    * คาร์โบไฮเดรต 1กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
    * โปรตีน  1กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
    * ไขมัน 1กรัมให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี
    * แอลกอฮอล์ 1กรัมให้พลังงาน 7 กิโลแคลอรี

 
ในชีวิตประจำวันร่างกายใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารแรกในการผลิตพลังงานพื้น ฐานให้กับร่างกาย เช่นการเต้นของหัวใจ การหายใจ การย่อยอาหาร ร่างกายจะใช้พลังงานจาก ?คาร์โบไฮเดรต? ก่อนสารอาหารที่ให้พลังงานอื่นๆ อย่าง โปรตีน และไขมัน ปริมาณพลังงานที่พอเหมาะต่อการใช้งานของร่างกายเรา ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายอย่าง เช่น เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก และชนิดแรงงานที่ใช้ ถ้าเรารับประทานอย่างสมดุลจะทำให้มีพลังงานใช้ตลอดวัน ไม่เหนื่อยล้า และมีสุขภาพที่ดี และป้องกันไม่ให้อ้วน แต่จะเลือกรับประทาน ?คาร์โบไฮเดรต? อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ร่างกาย ขึ้นกับชนิดและปริมาณ?คาร์โบไฮเดรต? ซึ่งมีหลักในการเลือกคือ เลือก ?คาร์โบไฮเดรต? ที่ดีคือในรูปแบบธรรมชาติดั้งเดิมที่ไม่ถูกแปรรูปซึ่งจะให้สารอาหารสำคัญที่ ร่างกายต้องการเช่นวิตามินซี อี บี แคโรทีนอยด์และสารพฤษเคมีซึ่งให้ประโยน์ในการป้องกันมะเร็ง โพแตสเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ และที่สำคัญยังมี ?กากใยอาหาร? ที่มีคุณสมบัติลดคอเลสเตอรอลในเลือด ควบคุมระดับน้ำตาล ควบคุมระบบขับถ่าย ซึ่งถ้าระบบขับถ่ายดีแล้ว สามารถป้องกันมะเร็งในลำไส้ได้อีกด้วย อาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้ต่ำอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงโรค หัวใจ ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุนเป็นต้น
 
อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ดี ได้แก่เมล็ดข้าวและธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ (เช่น ข้าวซ้อมมือข้าวโพด ลูกเดือย งา ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ) แครอท เผือก มัน ฟักทอง ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์นม ส่วนน้ำตาล น้ำหวานเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้แต่พลังงานอย่างเดียวไม่ให้สารอาหารที่มี ประโยชน์ดังคาร์โบไฮเดรตที่ดี
 
นอกจากนี้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงในการดูแลสุขภาพ เราควรรับประทาน?คาร์โบไฮเดรต? ในปริมาณที่พอเหมาะต่อการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน
 
โปรตีน จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเป็นแหล่งพลังงานที่รองจากคาร์โบ ไฮเดรต โปรตีนเมื่อย่อยแล้วจะถูกขนส่งในเลือดในรูปของกรดอะมิโน ซึ่งจะถูกใช้ในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหลอโดยอาศัยอินซูลิน นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถเปลี่ยนกรดอะมิโนไปเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานทางอ้อมได้ถึง 58% หรือเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ใช้ในร่างกายได้เมื่อมีโปรตีนเหลือใช้
 
ไขมัน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน มากกว่า 2 เท่า นอกจากให้พลังงานแล้ว ไขมันยังให้กรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย และช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และ เค

แคลอรี่ : พลังงานจากสารอาหาร
อ้างอิงจาก http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-04-21-22/1163-2009-01-22-04-52-09

ารทำงานของอวัยวะหรือเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เปรียบเสมือนเครื่องจักรยนต์ที่ต้องเติมเชื้อเพลิงมาใช้เผาพลาญให้เกิด พลังงาน จึงจะสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับเชื้อเพลิงสำหรับอวัยวะต่างๆ ก็คือ สารอาหารนั้นเอง และการวัดปริมาณของพลังงาน ที่สารอาหารต่างๆ จะให้ออกมาแก่ร่างกาย เราใช้หน่วยวัดพลังงานนี้ว่า แคลอรี่ ในทางโภชนาการ ถ้าพูดถึง แคลอรี่ จะหมายถึง แคลอรี่ใหญ่ หรือกิโลแคลอรี่ สำหรับ 1 แคลอรี่หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ใช้ในการทำให้น้ำ 1 กิโลกรัม ที่อุณหภูมิ 15 องศาเพิ่มเป็น 16 องศาเซลเซียส

เพื่อให้ท่านสามารถเปรียบเทียบสารอาหารต่าง ๆ ว่าให้พลังงานออกมาได้มากน้อยต่างกันอย่างไร ขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

โปรตีน 1 กรัมให้ พลังงาน 4 แคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ก็ให้พลังงานเท่ากันคือ 4 แคลอรี่
แต่ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงานถึง 9 แคลอรี่

ดัง นั้นท่านคงเห็นความแตกต่างของสารอาหาร ในรูปของการให้พลังงานที่แตกต่างกันออกไป และสำหรับความต้องการของพลังงานในแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันออกไป เช่น เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง อาชีพต่างๆ ซึ่งเราพอจะสรุปได้ว่า เมื่อร่างกายของเราต้องการแคลอรี่หรือพลังงานเพียงใด ท่านก็ควรที่จะรับประทานสารอาหารประเภทต่างๆ รวมกับแล้วให้ได้แคลอรี่พอดี ท่านก็จะรักษาสภาพรูปร่างโดยดูที่น้ำหนักตัวให้คงที่ตลอด แต่ถ้าหากท่านรับประทานสารอาหารเกินความจำเป็นเข้าไป พลังงานที่เหลือใช้ก็จะเกิดการสะสมไว้ในรูปของไขมัน ทำให้มีรูปร่างที่อ้วนมากขึ้นเรื่อยๆ






บทความที่ 1 ความเข้าใจเรื่องพลังงาน
อ้างอิงจาก http://www.lodnumnuk.com/index.php?mo=3&art=290238

 

                ก่อนที่เราจะเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าน้ำหนักของคนเราจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อย่างไร เราจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักกับคำสองคำที่สำคัญที่สุด เพราะน้ำหนักเราจะเพิ่มหรือลดขึ้นอยู่กับสองอย่างนี้เท่านั้นคือ ?พลังงานที่ได้จากอาหารที่ทาน? กับ ?พลังงานที่ร่างกายเผาผลาญ? (หรือจะเรียกสั้นๆว่า ?พลังงานที่ทาน? กับ ?พลังงานที่ใช้?)

 

หน่วยของพลังงาน

                หน่วยของพลังงานจะมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าเป็นพลังงานในเรื่องใด ในส่วนของพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักเราจะใช้หน่วยที่ชื่อว่า กิโลแคลอรี่

 

พลังงานที่ได้จากอาหาร

                ก่อนที่จะทำความรู้จักพลังงานที่ได้จากอาหาร เราจำเป็นต้องทบทวนความรู้พื้นฐานทางสุขศึกษานั่นคือ โดยทั่วไปร่างกายของเราจะต้องการสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ นั่นคือ

1.       โปรตีน ได้แก่ผลิตภัณฑ์จาก เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว ทุกประเภท

2.       คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ผลิตภัณฑ์จาก ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน ผลไม้ ขนมปัง

3.       วิตามิน ได้แก่ผลิตภัณฑ์จาก ผัก ผลไม้ต่างๆ

4.       เกลือแร่ ได้แก่ผลิตภัณฑ์จาก ผัก ผลไม้ต่างๆ

5.       ไขมัน ได้แก่ผลิตภัณฑ์จากไขมันสัตว์และไขมันพืช

 

ซึ่งหากแยกตามลักษณะการให้พลังงานจะแยกได้สองกลุ่มก็คือ กลุ่มที่ให้พลังงานซึ่งประกอบไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และกลุ่มที่ไม่ให้พลังงานซึ่งประกอบไปด้วย วิตามิน เกลือแร่(แต่โดยทั่วไปในผลไม้มักจะมีคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาล เราจึงได้รับทั้งวิตามิน เกลือแร่ และพลังงานด้วย)

หากจะเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ต้องการน้ำมัน(หรือกาซ)เป็นพลังงานเพื่อให้รถวิ่งไปได้และต้องการน้ำมันหล่อลื่นต่างๆเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ร่างกายของเราจะทำงานและเคลื่อนไหวได้ก็ต้องการทั้งสารอาหารที่ให้พลังงานเพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้(เหมือนน้ำมันหรือกาซ) และต้องการสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานเพื่อให้อวัยวะต่างๆทำงานได้(เหมือนน้ำมันหล่อลื่น)

 

โดยสารอาหารกลุ่มที่ให้พลังงานก็จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะได้พลังงานจากอาหารที่เราทานมากแค่ไหน(ได้น้ำมันเท่าไหร่) เช่น โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่

พลังงานที่เราได้จากอาหารจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ? ปริมาณหรือน้ำหนัก ? ของอาหารที่ทาน แต่ขึ้นอยู่กับ ? ชนิด ? ของอาหารที่ทาน หากทานอาหารปริมาณเท่ากัน อาหารที่มีโปรตีน,คาร์โบไฮเดรต,ไขมันในปริมาณมาก เราจะได้พลังงานมากกว่า อาหารที่มีโปรตีน,คาร์โบไฮเดรต,ไขมันในปริมาณน้อย เช่น หมูกรอบ 1 จานอาจให้พลังงานสูงถึง 560 กิโลแคลอรี่ ในขณะที่ผัดถั่วงอกเต้าหู้ 1 จานจะให้พลังงานประมาณ 155 กิโลแคลอรี่ในปริมาณพอๆกัน(ดูตารางแสดงพลังงานที่ได้จากอาหารท้ายเล่ม)

หรือบางครั้งเราทานอาหารปริมาณน้อยแต่มีโปรตีน,คาร์โบไฮเดรต,ไขมันมากกว่า เราก็อาจจะได้พลังงานมากกว่าได้ เช่น ไก่ทอดเพียง 1 น่องให้พลังงานถึง 345 กิโลแคลอรี่ ในขณะที่ยำผักสด 1 จานให้พลังงานเพียง 95 กิโลแคลอรี่เท่านั้น

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคนที่มีปัญหาน้ำหนักตัวคือ อาหารที่มีสารอาหารที่ให้พลังงานในปริมาณมาก(มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันมาก) แต่เป็นอาหารที่มีสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานในปริมาณน้อย(มีวิตามิน เกลือแร่น้อย) เช่น สเต็ก(500) แฮมเบอร์เกอร์(400) เฟรนช์ฟราย(360) น้ำอัดลม(150) เค้ก(400) คุ้กกี้(100/ชิ้น) ขนมปัง(200) เป็นต้น เพราะอาหารแบบนี้ให้พลังงานสูงและทานแล้วอิ่มไม่นานต้องทานอีก

ส่วนอาหารที่ควรทานสำหรับคนที่มีปัญหาน้ำหนักตัวคือ อาหารที่มีสารอาหารที่ให้พลังงานในปริมาณน้อย(มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันน้อย) แต่เป็นอาหารที่มีสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานมาก(มีวิตามิน เกลือแร่มาก) เช่น แกงจืดตำลึงหมูสับ(90) แกงจืดฟักยัดไส้(90) ผัดคะน้าปลาเค็ม(200) ฟักตุ๋นไก่มะนาวดอง(125) เป็นต้น เพราะอาหารแบบนี้ให้พลังงานต่ำและทานแล้วอิ่มนานกว่าไม่ต้องทานเพิ่มอีก

 

ยิ่งเราทานอาหารที่ให้พลังงานมากเท่าไหร่เราก็จะยิ่งน้ำหนักเพิ่มง่ายขึ้น และลดน้ำหนักได้ยากขึ้น ยิ่งเราทานอาหารที่ให้พลังงานน้อยเท่าไหร่เราก็จะยิ่งน้ำหนักเพิ่มยากขึ้น และลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น ไม่เกี่ยวกับชนิด ไม่เกี่ยวกับปริมาณ ขึ้นอยู่กับพลังงานอย่างเดียวเท่านั้น

 

พลังงานที่ร่างกายเผาผลาญ

                พลังงานที่ร่างกายเผาผลาญบางคนอาจจะได้รู้จักในชื่อว่า เมตาโบลิซึม หากเปรียบเทียบเป็นรถยนต์แล้ว พลังงานที่ร่างกายเผาผลาญก็จะคล้ายกับปริมาณน้ำมันที่รถยนต์ใช้ในแต่ละวันนั่นเอง ซึ่งปกติแล้วรถยนต์แต่ละคันจะทานน้ำมันมากน้อยแค่ไหน ก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ว่ากี่ซีซี ลักษณะการใช้งานว่าวิ่งด้วยความเร็วแค่ไหน บรรทุกหนักแค่ไหน ใช้วันละกี่ชั่วโมง เครื่องยนต์อายุนานแค่ไหน เป็นต้น

ร่างกายเราก็เช่นกัน ในแต่ละวันที่ร่างกายเราทำงานและเคลื่อนไหวเราก็ต้องใช้พลังงานเช่นกัน ปกติแล้วทางการแพทย์จะให้ตัวเลขว่า โดยเฉลี่ยคนเราจะเผาผลาญพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี่ อย่างไรก็ตามร่างกายแต่ละคนจะเผาผลาญ(ใช้)พลังงานในแต่ละวันไม่เท่ากัน บางคนอาจจะเผาผลาญเพียง 1,700 กิโลแคลอรี่ บางคนอาจจะเผาผลาญ 2,500 กิโลแคลอรี่

ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น กิจกรรมในระหว่างวันที่แตกต่างกัน ร่างกายเราก็จะใช้พลังงานที่ต่างกัน เช่น การนั่งจะใช้พลังงานประมาณ 100 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง การเดินจะใช้พลังงานประมาณ 200 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง การวิ่งจะใช้พลังงานประมาณ 400 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง เป็นต้น

 

                อย่างไรก็ตามปัจจัยที่จะทำให้ร่างกายเราเผาผลาญพลังงานมากหรือน้อยนั้น มีมากมายและซับซ้อนมาก แต่หากเอาเฉพาะเรื่องหลักๆแล้วจะมีดังนี้

1.       อายุ คนที่อายุมากขึ้นร่างกายมักจะทำงานน้อยลงจึงเผาผลาญพลังงานน้อยลง

2.       กิจกรรมในแต่ละวัน ยิ่งในระหว่างวันเรามีกิจกรรมมากร่างกายเราก็จะเผาผลาญมาก เช่น คนที่ทำงานบ้านและเดินระหว่างวันจะเผาผลาญมากกว่าคนที่นั่งเป็นส่วนใหญ่ และยิ่งกิจกรรมนั้นต้องใช้แรงมากก็จะยิ่งเผาผลาญมากขึ้นด้วย เช่น การออกกำลังกาย การยกของหนัก ร่างกายก็จะเผาผลาญมากกว่า นั่ง นอน สรุปง่ายๆว่าหากใช้แรงมากร่างกายก็จะเผาผลาญพลังงานมาก เหมือนรถยนต์ถ้าใช้งานมากก็จะทานน้ำมันมากกว่าจอดไว้เป็นส่วนใหญ่

3.       น้ำหนักตัว หากกิจกรรมในระหว่างวันเท่ากัน คนที่น้ำหนักตัวมากกว่า จะเผาผลาญพลังงานมากกว่า เพราะต้องใช้แรงในการเคลื่อนไหวตัวมากกว่า เหมือนรถยนต์หากวิ่งเท่ากัน รถคันที่บรรทุกน้ำหนักมากกว่าจะทานน้ำมันมากกว่า

4.       ปริมาณโปรตีน(กล้ามเนื้อ)ในร่างกาย คนที่มีโปรตีน(กล้ามเนื้อ)ที่มากกว่าร่างกายจะเผาผลาญพลังงานมากกว่า เช่น นักกีฬาเพาะกาย ร่างกายจะเผาผลาญมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉลี่ยแล้วโปรตีนในร่างกายที่เพิ่มขึ้น 1 ปอนด์(0.45กิโล)ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 14 กิโลแคลอรี่

5.       โรคบางประเภท เช่น ไทรอยด์ประเภทหนึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญน้อยกว่าปกติ ในขณะที่ไทรอยด์อีกประเภทหนึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติ เป็นต้น

6.       ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิดบางยี่ห้อก็ส่งผลให้ร่างกายเราเผาผลาญได้น้อยลงหรือยาบางชนิด เช่นยาแก้แพ้ก็อาจมีส่วนผสมของสเตอร์รอย ก็จะส่งผลต่อการลดน้ำหนักของเราได้เช่นกัน

 

ขอให้จำเอาไว้ว่า การเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน ยิ่งมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เราลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น และจะยิ่งทำให้น้ำหนักของเราเพิ่มได้ยากขึ้น

สู้สู้

 


Powered by EzPortal