เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์  (อ่าน 4930 ครั้ง)

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
สวดมนต์
« เมื่อ: วันอังคารที่ 02 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 22:45 น. »
ปกติผมเป็นคนไม่สวดมนต์
แต่พอลูกไม่ค่อยสบายก็สวดมนต์ไหว้พระ ทำบุญตักบาตรทุกวัน
ปกติผมจะสวด อิติปิโส พาหุง มหาการุนิโก แล้วก็ อิติปิโสเท่าอายุ+1
แล้วก็ตามด้วยคาถาบูชาหลวงพ่อพระป่าเลไลยก์ 12 จบ
คาถาโพธิบาท (คาถาป้องกันภัยสิบทิศ)
โพชฎงค์ปริตร
อุณหิสสะวิชะยะ คาถา (คาถาต่ออายุของพระพุทธเจ้า ซึ่งให้ไว้แก่เทวดา)
พระคาถาชินบัญชร

ที่สวดคาถาบูชาหลวงพ่อพระป่าเลไลยก์ เพราะว่าลูกผม เกิดวันพุธกลางคืนครับ
ได้ทราบมาว่าให้สวดบูชา แล้วจะดีครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 09:16 น. โดย popja »
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 00:31 น. »
บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ
พระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

พระพุทธคุณ แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา และความประพฤติ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว และเป็นผู้จำแนกแจกแจงธรรม

พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

พระธรรมคุณ พระธรรมอันเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

พระสังฆคุณ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง เป็นผู้ปฏิบัติสมควร เป็นผู้ควรแก่การของคำนับ เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแกของทำบุญ เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีกราบไหว้ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
สวดบทอิติปิโส สรรเสริญองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า สวดหลายๆรอบจนทำให้จิตใจมีความสุข เสร็จแล้วแผ่เมตตาตอนที่จิตใจมีความสุขความอบอุ่นให้สรรพสัตว์ หรือคนที่จ้องทำร้ายเรา
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 00:38 น. »
บทสวดพาหุง (พุทธชัยมงคลคาถา)๑. พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง เมื่อพญามารเนรมิตแขนมากเป็นพัน ถืออาวุธในมือคิริเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ขี่ช้างคิริเมขละ สะพรึบพร้อมด้วยกองทัพอันน่าสะพรึงกลัวทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยทานบารมีเป็นต้นอันชอบธรรมตันเตชะสา ภะวะ เม* ชะยะมังคะลานิ ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง เมื่ออาฬวกยักษ์ผู้ดุร้าย หยาบช้า และโหดเหึ้ยมโฆรัง ปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง เข้ามาราวีตลอดทั้งคืนยิ่งกว่าพญามารขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยการใช้พระขันติเป็นอุบายสั่งสอนตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง เมื่อพญาช้างนาฬาคิรีตกมันหนักดุร้ายเหลือทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง แล่นเข้ามาราวกับไฟไหม้ป่า ดุจจักราวุธ เหมือนฟ้าผ่าเมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยน้ำพระเมตตาตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า

๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง เมื่อโจรองคุลีมารผู้ดุร้าย ถือดาบเงื้อง่าธาวัง ติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง วิ่งไล่ติดตามไปเป็นหนทาง ๓ โยชน์
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยการบันดาลอิทธิฤทธิ์ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
๕. กัคตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา เมื่อนางจิญจาเอาผ้าห่อไม้ทำเป็นท้องเหมือนหญิงมีครรภ์จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ กล่าวคำใส่ร้ายในท่ามกลางหมู่ชนสันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยความสงบนิ่งอันประเสริฐ
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า

๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง เมื่อสัจจกนิครนถ์ละทิ้งความจริงแท้ ชูธงประกาศความเห็นของตนว่าถูกต้องวาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง เป็นผู้มืดบอดอย่างยิ่ง ประสงค์จะโต้คารม
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยพระปัญูญูาดุจประทีปอันโชติช่วง
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า

๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง เมื่อนั้นโทปนันทนาคราชผู้หลงผิด แผ่อิทธิฤทธิ์ใหญ่
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต พระจอมมุนีโปรดให้พระเถระพุทธบุตรผู้ประเสริฐไปปราบ
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ทรงชนะด้วยการแสดงอิทธิฤทธิ์
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า

๘. ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง เมื่อพรหมนามว่าพกะ ผู้บริสุทธิ์ ผ่องใส มีฤทธิ์ มีหัตถ์
พรัหมัง** วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ถูกงูคือมิจฉาทิฏฐิขบกัดแล้วญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยพระญาณโอสถ
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า


เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถิ ภะวันตุ เม*
ขอจงมีสรรพมงคล ขอปวงเทวดาจงคุ้มครอง ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีด้วยพุทธานุภาพทั้งปวงเสมอ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถิ ภะวันตุ เม*
ขอจงมีสรรพมงคล ขอปวงเทวดาจงคุ้มครอง ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีด้วยธรรมานุภาพทั้งปวงเสมอ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถิ ภะวันตุ เม*
ขอจงมีสรรพมงคล ขอปวงเทวดาจงคุ้มครอง ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีด้วยสังฆานุภาพทั้งปวงเสมอ

* ถ้าสวดให้คนอื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต
** อ่านว่า พรัมมัง
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 00:41 น. »
คาถาบูชาดวง ประจำวันเกิด 


พระบูชาประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์
พระประจำวันเกิดที่เป็นสิริมงคลและเสริมดวงชะตาคือพระพุทธรูปปางถวายเนตร
คาถาสวดบูชาพระประจำวันเกิดอาทิตย์ สวดบูชาเป็นประจำ จะทำให้เกิดสิริมงคลและเกิดโชคลาภแก่คุณ
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหะมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสนา ฯ


พระบูชาประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันจันทร์
พระประจำวันเกิดที่เป็นสิริมงคลและเสริมดวงชะตาคือพระพุทธรูปปางห้ามญาติ
คาถาสวดบูชาพระประจำวันเกิดจันทร์ สวดบูชาเป็นประจำ จะทำให้เกิดสิริมงคลและเกิดโชคลาภแก่คุณ
        ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ 


พระบูชาประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันอังคาร
พระประจำวันเกิดที่เป็นสิริมงคลและเสริมดวงชะตาคือพระพุทธรูปปางไสยาสน์
คาถาสวดบูชาพระประจำวันเกิดอังคาร สวดบูชาเป็นประจำ จะทำให้เกิดสิริมงคลและเกิดโชคลาภแก่คุณ
        ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เส ฯ 


พระบูชาประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันพุธ (กลางวัน)
พระประจำวันเกิดที่เป็นสิริมงคลและเสริมดวงชะตาคือพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
คาถาสวดบูชาพระประจำวันเกิดพุธ (กลางวัน) สวดบูชาเป็นประจำ จะทำให้เกิดสิริมงคลและเกิดโชคลาภแก่คุณ
        สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยังอาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ 


พระบูชาประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันพุธ (กลางคืน)
พระประจำวันเกิดที่เป็นสิริมงคลและเสริมดวงชะตาคือพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์
คาถาสวดบูชาพระประจำวันเกิดพุธ (กลางคืน) สวดบูชาเป็นประจำ จะทำให้เกิดสิริมงคลและเกิดโชคลาภแก่คุณ
        กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติสัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติกินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติสัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติฯ 


พระบูชาประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิดที่เป็นสิริมงคลและเสริมดวงชะตาคือพระพุทธรูปปางสมาธิ
คาถาสวดบูชาพระประจำวันเกิดพฤหัสบดี สวดบูชาเป็นประจำ จะทำให้เกิดสิริมงคลและเกิดโชคลาภแก่คุณ
        ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มหาสัตตังวเนจรา จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง ฯ 


พระบูชาประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันศุกร์
พระประจำวันเกิดที่เป็นสิริมงคลและเสริมดวงชะตาคือพระพุทธรูปปางรำพึง
คาถาสวดบูชาพระประจำวันเกิดศุกร์ สวดบูชาเป็นประจำ จะทำให้เกิดสิริมงคลและเกิดโชคลาภแก่คุณ
        อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุ สัมมะเต อะมะนุสเนหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะ ตัสสันนัง มะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสหิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ 


พระบูชาประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันเสาร์
พระประจำวันเกิดที่เป็นสิริมงคลและเสริมดวงชะตาคือพระพุทธรูปปางนาคปรก
คาถาสวดบูชาพระประจำวันเกิดเสาร์ สวดบูชาเป็นประจำ จะทำให้เกิดสิริมงคลและเกิดโชคลาภแก่คุณ
        ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตาโวโรเปตา เตน สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ คัพภัสสะ ฯ   
 
เป็นคาถาบูชาดวง ประจำวันเกิด ทั้ง ๗ วัน 
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 00:43 น. »
คาถาโพธิบาท ( คาถาป้องกันภัยสิบทิศ )

คาถาโพธิบาทคือ พระคาถาป้องกันภัยโดยการสวดระลึกถึง
พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณไปในทิศต่างๆ
ขออานุภาพของพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณขจัด โรคภัย ทุกข์ และเคราะห์ทั้งหลาย
บางแห่งมีเรียกว่า คาถาป้องกันภัยสิบทิศ และบางแห่งเรียกว่าคาถา สะเดาะเคราะห์ ก็มี
เป็นพระคาถาป้องกันภยันตรายต่างๆ เวลาออกเดินทางไกล หรืออยู่ภายในบ้าน

บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง
บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูรพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อาคะเนยรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง
อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันต

ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง
หรดีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง
พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง
พายัพรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง
อุดรรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อิสาณรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อิสาณรัสมิง พระธัมเมตัง
อิสาณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง
ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง
อากาศรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 00:45 น. »
โพชฌังคปริตร....บทสวดต่ออายุผู้ป่วย

*************

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา

**โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์**

วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา

**7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า
ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว**

ภาวิตา พะหุลีกะตา

**อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว**

สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
**ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน**

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
**ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้**

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
**ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ**

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
**ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก**


โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
**จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง**

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
**ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม**

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
**โรคก็หายได้ในบัดดล**

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
**ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้**

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
**ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ**

เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
**ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก**

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
**รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ**

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
**ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน**

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
**ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้**

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
**ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ**

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
**ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก**

มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
**ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว
ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา**

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
**ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้**

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
**ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.**
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 00:48 น. »
พระคาถา อุณหิสสะวิชะยะ

อัตถิ อุณณะหิสสะ วิชะโย      ธัมโม โลเก อะนุตตะโร
สัพพะสัตตะหิตัตถายะ          ตัง ตวัง คัณหาหิ เทวะเต
ดูก่อนเทวดา , ธรรมะอันประเสริฐซึ่งเป็นอุณหิสสวิชัย  หรือเป็นผ้าประเจียดนั้น
มีอยู่ในโลกนี้  คือประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง  ท่านจงถือเอาซึ่งธรรมะนั้นเถิด

ปะริวัชเช ราชะทัณเฑ           อะมะมุสเสหิ ปาวะเก
พยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต          อะกาละมะระเณนะ วา
ก็จะพ้นจากราชทัณฑ์พึงพ้น จากราชทัณฑ์พึงพ้นจากการเบียดเบียนของมนุษย์ พ้นจากไฟ
พ้นจากเสือ  พ้นจากนาค พ้นจากยาพิษ  พ้นจากภูต  พ้นจากความตาย  อันไม่ประกอบด้วยกาล

สัพพัสสะม๋า มะระณา มุตโต   ฐะเปตตะวา กาละมาริตัง
จะเป็นผู้พ้นจากความตายทั้งปวง  เว้นแต่ความตายตามกาล หรือสมควรแก่กาล

ตัสเสวะ อานุภาเวนะ            โหตุ เทโว สุขี สะทา
ด้วยอานุภาพแห่งธรรมะนั้นนั่นแหละ เทวดา จงเป็นผู้มีความสุขทุกเมื่อ

สุทธะสีลัง สะมาทายะ           ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ            โหตุ เทโว สุขี สะทา

ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง             ธาระณัง วาจะนัง คะรุง
ปะเรสัง เทสะนัง สุตตะวา       ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ
เพราะได้ฟังธรรมแล้ว  เขียนไว้  คิดไว้  บูชาอยู่  ทรงจำไว้  บอกกล่าว
แก่กันและกันและมีความเคารพหนักแน่นในธรรมนั้น  แล้วอายุของเขาย่อมเจริญดั่งนี้

สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 00:50 น. »
พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร 
 
     
     
           เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น  ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชรให้ตั้งนะโม  ๓  จบ  แล้วระลึกถึงและบูชา   เจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า

         ปุตตะกาโม  ละเภ  ปุตตัง  ธะนะกาโม ละเภ  ธะนัง  อัตถิ กาเย กายะญายะ  เทวานัง ปิยะตัง สุตตะ วา อิติปิ  โส  ภะคะวา  ยะมะราชาโน  ท้าวเวสสุวัณโณ  มะระณัง  สุขัง  อะระหัง  สุคะโต  นะโม  พุทธายะ   
       
   
  ๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา
จะตุสัจจาสะภัง  ระสัง
๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
สังโฆ  ปะติฏฐิโต มัยหัง
๔. หะทะเย เม  อะนุรุทโธ
โกณทัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง
๕. ทักขิเณ  สะวะเน มัยหัง
กัสสะโป จะ มะหานาโม
๖.  เกสันเต   ปิฏฐิภาคัสมิง
นิสินโน  สิริสัมปันโน
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง
๘. ปุณโณ  อังคุลิมาโล  จะ
เถรา  ปัญจะ อิเม ชาตา
๙. เสสาสีติ  มะหาเถรา
เอเตสีติ  มะหาเถรา
ชะลันตา  สีละเตเชนะ
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ
ธะชัคคัง  ปัจฉะโต  อาสิ
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ
อากาเส  ฉะทะนัง  อาสิ
๑๒. ชินะ นานาวะระสังยุตตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา
๑๓. อะเสสา  วินะยัง  ยันตุ
วะสะโต เม สะกิจเจนะ
๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
สะทา ปาเลนตุ มัง
๑๕. อิจเจวะ  มันโต
ชินานุภาเวนะ
ธัมมานุภาเวนะ
สังฆานุภาเวนะ
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต  เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
เย  ปิวิงสุ  นะราสะภา.
อัฏฐะวีสะติ นายะกา
มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
อุเร สัพพะคุณากะโร
สารีปุตโต  จะ ทักขิเณ
โมคคัลลาโน จะ  วามะเก.
อาสุง  อานันทะราหุโล
อุภาสุง วามะโสตะเก
สุริโยวะ  ปะภังกะโร
โสภี โต  มุนิปุงคะโว
มะเหสี  จิตตะวาทะโก
ปะติฏฐาสิ  คุณากะโร
อุปาลี  นันทะสีวลี
นะลาเฏ ติละกา มะมะ.
วิชิตา  ชินะสาวะกา
ชิตะวันโต  ชิโนระสา
อังคะมังเคสุ  สัณฐิตา
ทักขิเณ  เมตตะสุตตะกัง
วาเม  อังคุลิมาละกัง
อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
เสสา  ปาการะสัณฐิตา
สัตตะปาการะลังกะตา
พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.
อะนันตะชินะเตชะสา
สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
วิหะรันตัง  มะหีตะเล *
สัพเพ เต  มะหาปุริสาสะภา.
สุคุตโต  สุรักโข
ชิตุปัททะโว
ชิตาริสังโฆ
ชิตันตะราโย
จะรามิ  ชินะปัญชะเรติ. 
   
     
*บางตำราใช้ เกเสนเต,เกสะโต,ก็มี
 ** ฉบับสิงหลไม่มีวรรคนี้
***.มะหีตะเล  บาลีออกเสียงเป็น มะฮีตะเล   

 

คำแปล : พระคาถาชินบัญชร

๑.พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์  ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว       เสวยอมตรส  คืออริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ  เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ 

๒. มี  ๒๘  พระองค์  คือ  พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ  พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

๓.ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ  พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง  พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก 

๔.พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ  พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา  พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย  พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง 

๕. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา  พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

๖. มุนีผู้ประเสริฐ  คือ  พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน  ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง 

๗. พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ  มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ 

๘. พระปุณณะ  พระอังคุลิมาล  พระอุบาลี  พระนันทะ  และพระสีวลี  พระเถระทั้ง  ๕  นี้  จงปรากฎเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก 

๙.  ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ  ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัยแต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์    ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่ 

๑๐. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา   พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย  พระธชัคคะสูตร  อยู่เบื้องหลัง 

๑๑. พระขันธปริตร  พระโมรปริตร  และพระอาฏานาฏิยสูตร  เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ 

๑๒. อนึ่งพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง  คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

๑๓. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตะชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร   แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย  คือ  โรคลมและโรคดีเป็นต้น  เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

๑๔. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้นจงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า  ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร  ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

๑๕.  ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม  จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า  ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม  ชนะอันตรายทั้งปวง  ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์  ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญ ฯ   

   
   อานิสงส์ชินบัญชร

  พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก  ตกทอดมาจากลังกาเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ  ค้นพบในคัมภีร์โบราณได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ 

พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านั้น  จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ  อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง ๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่า  เป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้องเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว  จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้ 

     
  อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร

          ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้  เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ  จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล  ศัตรูหมู่พาลไม่กลํ้ากราย  ไปทางใด  ย่อมเกิดเมตตามหานิยม  เกิดลาภผลพูนทวี  ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ  ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น  เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต  มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา  ดังคำโบราณว่า  "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใด  ๆ สวด  ๑๐  จบ  แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ   

     
  การเริ่มต้นและวิธีสวด

          การเริ่มต้นสวดภาวนาให้หาวันดีคือ  วันพฤหัสบดีเป็นวันเริ่มต้น  โดยน้อมนำดอกไม้  ธูปเทียนถวายบูชาคุณพระรัตนตรัยและดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ  ถ้าไปที่วัดระฆังก็ใช้ได้  ถ้าไปไม่ได้ก็ให้ระลึกถึงท่านและหันหน้าไปทางวัดระฆังก็ใช้ได้  เมื่อบูชาพระรัตนตรัยและดวงวิญญาณของเจ้าประคุณสมเด็จแล้ว  จึงเริ่มต้นสวดโดยอ่านตามบทให้ได้  ๑  จบ  ก็เป็นอันเสร็จพิธีเริ่มต้น 
 
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 00:52 น. »
ผมได้ copy บทสวดมาจากหลายเวป เยอะมาก เลยไม่ได้อ้างอิงมา
ผมขออนุโมทนาบุญสำหรับผู้เผยแพร่บทสวดเหล่านี้ด้วย สาธุ
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: วันพุธที่ 03 มีนาคม 2010 เวลา 17:30 น. »
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟัง และพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค *โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ

เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ

- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )

- สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

- สัมมาวาจา
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )

- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )

- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )


 

- สัมมาสะติ
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์

- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์

- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์

- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ*นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ

( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ

1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง

2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ

3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล

อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

นิมมานะระ*ง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ปะระนิมมิตะวะสะวัต*ง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

..........................................................................................
จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง

สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: สวดมนต์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: วันพุธที่ 03 มีนาคม 2010 เวลา 17:31 น. »

กรณียเมตตสูตร



กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะสุภะโร จะ
อัปปะกิจโจ จะสัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ




อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะจะขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภุวันตุ สุขิตัตตา
เยเกจิ ปาณะภูตัตถิ
ตะสาวา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วาเย จะอะทิฏฐา




เยจะ ทูเรวะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
นาติ มัญเญะกะ กัตถะจิ นังกิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะ มัญญัสสะ ทุขะมิจเฉยยะ




มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะติริยัญจะ
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา




สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะทิฏเฐยยะ
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปคัมมะ สีละวา
ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง  นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ




คำแปลบทสวดกรณียเมตตสูตร



กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำคือ เป็นคนกล้า เป็นคนซื่อ เป็นคนตรง ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย มีภาระกิจน้อย คล่องตัว ระมัดระวังการแสดงออก รู้ตัว ไม่คะนอง ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้ พึงแผ่เมตตาจิต ว่าขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด



ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์มีลำตัวยาวหรือลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลางหรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้วหรือกำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด



บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใครๆ ใม่ควรมุ่งร้ายต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน



คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลาย หาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอมและปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิต ฉะนั้น



พึงแผ่เมตตาจิตไปไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลา ที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติอันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้เป็นพรหมวิหาร ท่านผู้เจริญเมตตาจิตที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้


อ้างอิงจาก
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bannlangwat&month=07-12-2009&group=21&gblog=1
สู้สู้

 


Powered by EzPortal