เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: โรคลมชักคืออะไร  (อ่าน 30754 ครั้ง)

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
โรคลมชักคืออะไร
« เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 03 มกราคม 2010 เวลา 16:48 น. »
อ้างอิงจาก/แหล่งที่มา
 http://www.followhissteps.com/web_health/epilepsy.html

โรคลมชักคืออะไร
โรคลมชัก เป็นกลุ่มอาการอันเนื่องจากการที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ทำงานมากเกินปกติไปจากเดิมชั่วขณะ  อาการแสดงจะเป็นอะไรนั้น  ขึ้นกับว่าเป็นส่วนใดของสมองที่ทำงานมากเกินปกติ

ผู้ป่วยโรคลมชักอาจมีอาการแตกต่างกันหลายชนิด  บางชนิดก็เกิดในระยะเวลาอันสั้น  โดยผู้ป่วยจะมีอาการแค่เหม่อลอย  ไม่รู้ตัว,  อาจมีอาการเคี้ยวปากหรือขยับมือไปมา,  ประสาทหลอน,  และบางชนิดอาจมีอาการรุนแรง  โดยผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งกระตุกทั่วทั้งตัว  ไม่รู้ตัว และมีอุจจาระ - ปัสสาวะราด  ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ลมบ้าหมู" นั่นเอง

โรคลมชักเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย  โดยมีอัตราการเกิดประมาณ 1 % ของประชากรทั้งหมด  โรคลมชักไม่ใช่โรคติดต่อ  และโดยส่วนใหญ่จะไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์



สาเหตุของโรคลมชัก
โรคลมชักเกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุ  ประมาณ 70 %  จะหาสาเหตุไม่พบ  และอีก 30 % อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. แผลเป็นในสมอง  เช่น  จากการติดเชื้อของสมอง  อุบัติเหตุต่อสมอง  ชักขณะไข้สูงในวัยเด็ก

2. โรคทางกาย  เช่น  ภาวะเกลือโซเดียมในร่างกายสูงหรือต่ำ  น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ  โรคตับ  โรคไต

3. การดื่มเหล้า  กินยาบางชนิด  หรือได้รับสารพิษ

4. ภาวะมีก้อนในสมอง  เช่น  เนื้องอกในสมอง  พยาธิในสมอง  หรือหลอดเลือดสมองตัน หรือแตก

5. โรคทางกรรมพันธุ์

 

การวินิจฉัยโรคลมชัก
แพทย์จะให้การวินิจฉัยโรคลมชัก  โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากคนไข้  และผู้เห็นเหตุการณ์ชัก  รวมถึงประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน  ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ฯลฯ  ตลอดจนการตรวจร่างกายโดยละเอียด  และนอกจากนั้น  แพทย์อาจจะพิจารณาส่งตรวจคลื่นสมอง (EEG)  และการฉายภาพของเนื้อสมอง (CT, MRI)  ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรืออันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด  ตามความจำเป็น เป็นราย ๆ ไป

 

การรักษา
การรักษาหลักของผู้ป่วยโรคลมชัก  คือ  การให้ยากันชัก  ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 10 ชนิด  แต่ละชนิดก็ใช้ได้ดีกับการชักต่างชนิดกันออกไป  โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ยาที่เหมาะสมตามชนิดของการชักนั้น ๆ ของผู้ป่วย  และติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด  ถ้าไม่มีอาการชักติดต่อกันประมาณ 2-3 ปี  แพทย์อาจจะพิจารณาหยุดยากันชักได้  ซึ่งต้องพิจารณาในผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป  ในผู้ป่วยบางรายอาจจะจำเป็นต้องทานยากันชักตลอดไป  

ยากันชักอาจจะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้  ควรปรึกษาแพทย์

 

การปฐมพยาบาล
เนื่องจากการชักส่วนใหญ่ จะหยุดเองได้ภายในเวลา 1-2 นาที  ดังนั้นผู้ที่อยู่รอบข้าง  มีหน้าที่เพียงคอยดูแลผู้ป่วยที่กำลังชักให้ปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้  โดย

1. อย่าตื่นเต้นตกใจ  พยายามพยุงผู้ป่วยให้นอนราบกับพื้น และคลายเสื้อผ้าให้หลวม

2. เก็บสิ่งของมีคม หรือสิ่งที่อาจเป็นอันตรายกับผู้ป่วยให้พ้นบริเวณ

3. พลิกศีรษะผู้ป่วยให้ตะแคงข้าง  เพื่อให้น้ำลายไหลออกทางมุมปาก และไม่ให้ลิ้นปิดกั้นทางเดินหายใจ

4. ลอดหมอนไว้ใต้ศีรษะผู้ป่วย

5. ห้ามสอดใส่สิ่งใด ๆ เข้าไปในปากของผู้ป่วยในขณะชัก

 

เมื่อใดควรพาผู้ป่วยมาโรงพยาบาล
1. ผู้ป่วยชักนานเกินกว่า 5 นาที

2. ผู้ป่วยชักติดต่อกันหลายครั้ง  โดยไม่รู้สึกตัวเลย

 

แผนกประสาทวิทยา กองอายุรกรรม

แผนกประสาทวิทยา กองกุมารเวชกรรม

รพ.พระมงกุฎเกล้า

 


อ้างอิงจาก/แหล่งที่มา
 http://www.followhissteps.com/web_health/epilepsy.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2010 เวลา 20:43 น. โดย popja »
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
โรคลมชักคืออะไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันพุธที่ 06 มกราคม 2010 เวลา 04:32 น. »
อ้างอิงจาก ศูนย์สมองโรงพยาบาลปิยะเวท
http://www.piyavate.com/epilepsy_th.php


โรคลมชัก
 
โรคลมชัก เป็นหนึ่งในความผิดปกติของระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุด เป็นภาวะทางระบบประสาทที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการชัก ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง อย่างเฉียบพลันของการส่งคลื่น สัญญาณกระแสไฟฟ้าของเซลล์สมอง โรคลมชัก มีหลายประเภท ได้แก่ การชักที่มีผลต่อทุกส่วนของสมองที่เรียกว่า ?Convulsions หรือ Generalized Seizures? และการชักที่มีผลต่อส่วนใดส่วนเหตุผลหนึ่งของสมองที่เรียกว่า ?Partial Seizures?

การชักที่มีผลต่อทุกส่วนของสมอง (Generalized Seizures) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ? ลมบ้าหมู ? อาการของลมชักประเภทนี้มักเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือน อาการแสดงที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคลมชักประเภทนี้ คือ ? อาการชักเกร็งทั้งตัว ? โดยช่วงแรกของการชัก ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็ง และอาจหกล้ม หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะมีการ คลายตัวและตึงตัวเป็นจังหวะสลับกัน หลังจากการชักผู้ป่วยอาจรู้สึกเหนื่อย สับสน ปวดศีรษะ และอาจต้องการพักผ่อน เพื่อกลับสู่สภาวะปกติ นอกจากอาการชักเกร็งทั้งตัวหรือลมบ้าหมูแล้ว ยังมีอาการชักแบบอื่น ๆ อีก ที่จัดเป็นอาการชักที่เกิด จากการทำงานผิดปกติที่ทุกส่วนของสมอง เช่น อาการเหม่อลอย หรือเรียกว่า Absence Seizures

การชักที่มีผลต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของสมอง (Partial Seizures) อาการของลมชักประเภทนี้ สมองจะถูกรบกวนเพียงบางส่วน บางครั้งเรียกว่า ?Focal Seizures? อาการแสดงของผู้ป่วยจะขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่ได้รับมีผลกระทบ การชักชนิดนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยการรู้ตัวของผู้ป่วยคือ ?Simple Partial Seizures? และ ?Complex Partial Seizures? ถ้าผู้ป่วยมีสติขณะชักจัดเป็น ?Simple Partial Seizures? ผู้ป่วยอาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเป็นจังหวะ หรือการรับรู้รสผิดปกติ หรือการรับสัมผัสที่ผิดปกติในบางส่วนของร่างกาย บางครั้ง Simple Partial Seizures อาจถือเป็นอาการเตือนบอกเหตุ ถ้าการชักของผู้ป่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีผลกระทบต่อการรู้ตัวจัดเป็น ?Complex Partial Seizures? ผู้ป่วยอาจจำเหตุการณ์ขณะชักได้เล็กน้อยหรือจำไม่ได้เลย การชักอาจแสดงอาการโดยการ เปลี่ยนแปลงการรับรู้พร้อมกับการเคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติ เช่น การจับเสื้อผ้าหรือสิ่งของ การพูดพึมพำ หรือการเคี้ยวซ้ำๆ อย่างไร้จุดหมาย และสับสนบางครั้งในบางกรณี ผู้ป่วยอาจตอบสนองถ้าพูดด้วย อาการชักประเภทนี้มักเกิด จากความผิดปกติใน Temporal Lobes จึงอาจเรียกว่า ?Temporal Lobe Epilepsy? อย่างไรก็ตาม อาการชักประเภทนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วน Frontal lobe, Parietal lobe และ Occipital lobe ได้เช่นกัน สำหรับผู้ป่วยบางราย การชักที่มีผลต่อส่วนหนึ่งของสมอง หรือ Partial Seizures ทั้ง 2 ประเภทนี้ อาจลุกลามไปมีผลต่อทุกส่วนของสมองได้ซึ่งหากเกิดขึ้นเราจะเรียกภาวะนี้ว่า ?Secondarily Generalized Seizure? ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวขณะชัก และถ้าอาการลุกลามอย่างรวดเร็วจนทำให้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการชักแบบ Partial นั้นมาก่อนดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อผู้ป่วยมีการชักเกิดขึ้น โดยเฉพาะการชักแบบ Generalized หรือ Complex Partial Seizures ผู้ป่วยอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น ข้อมูลการชักของผู้ป่วยจากบุคคลใกล้ชิดจะเป็น ประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ในการวินิจฉัยโรคลมชักยังต้องอาศัยการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การตรวจสแกนสมอง เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) โดยทั่วไปการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคลมชักนั้นจะทำหลังจากที่ผู้ป่วยเคย มีอาการชักมากกว่า 1 ครั้ง นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคลมชักอาจเคยมีประสบการณ์ชักได้มากกว่าหนึ่งประเภท สิ่งสำคัญที่พึงตระหนักคือ ไม่มีการตรวจโดยวิธีใดๆ ที่จะสามารถยืนยันหรือวินิจฉัยโรคลมชักได้

สาเหตุของ โรคลมชัก (Epilepsy)
 
โรคลมชัก พบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในคนอายุน้อย และผู้สูงอายุ หากดูที่อายุของการเกิดการชัก จะทำให้สาเหตุของการชักแบ่งได้กว้างมาก โรคลมชักเกิดได้จากทุกสาเหตุที่มีผลกระทบต่อสมอง อย่างไรก็ตามไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าผู้ป่วยโรคลมชักบางรายจะหาสาเหตุของโรคนี้ไม่พบ โดยทั่วไปสาเหตุของโรคลมชักสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

Symptomatic Epilepsy เป็นโรคลมชักที่มีสาเหตุชัดเจน เช่นการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ การติดเชื้อในสมอง หรือ การที่สมองขาดเลือด ( Stroke ) หรือมีรอยแผลเป็นในสมอง โดยทั่ว ๆ ไป การตรวจสแกนสมองมักจะแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น
Idiopathic Epilepsy เป็นโรคลมชัก ที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน แต่เชื่อว่าน่าจะมีส่วนมาจากกรรมพันธุ์ โดยที่ผู้ช่วยหรือคนในครอบครัว จะมีความต้านทานต่อการชักในระดับต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักจะไม่มีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย
Cryptogenic Epilepsy เป็นสาเหตุที่ไม่สามารถจัดอยู่ใน 2 กลุ่มแรกได้ เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุของการชัก จะจัดผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มนี้ถึงแม้ว่าจะไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เชื่อว่าน่าจะมีความผิดปกติทางร่างกาย
โรคลมชัก (Epilepsy) รักษาอย่างไร
พบว่า 70 % ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการชักได้โดยการใช้ยากันชัก ยากันชักนี้สามารถป้องกันการชักได้ แต่อย่างไรก็ตาม โรคลมชักนั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน ยากันชักมีด้วยกันหลายชนิด การใช้ยาในแต่ละชนิดจะขึ้นกับลักษณะของอาการ

การชัก และประเภทของโรคลมชักที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ในผู้ป่วยบางราย เมื่อใช้ยากันชักไประยะหนึ่งจะมีแนวโน้มของการชักลดลง ทำให้สามารถหยุดการใช้ยากันชักได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยากันชักเป็นระยะเวลานานหรือตลอดชีวิต แม้ว่าจะหยุดชักแล้วก็ตาม ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่มี รอยแผลเป็นในสมองยังคงมีอยู่ ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถ ควบคุมอาการของโรคลมชักได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของการชักที่เป็นอยู่ ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการใช้ยากันชัก ยังมีอีกหลายวิธีในการรักษาโรคลมชัก อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาเหล่านี้อาจ ไม่เหมาะกับผู้ป่วยทุกท่าน ที่ไม่ตอบสนองต่อยากันชัก

การรักษาโรคลมชักโดยการผ่าตัด (Epilepsy Surgery)
มีผู้ป่วยจำนวนเล็กน้อยที่อาจรักษาได้ผลด้วยวิธีการผ่าตัด การผ่าตัดจะถูกนำมาพิจารณา ถ้า

สามารถระบุตำแหน่งของรอยโรคในสมองที่ทำให้เกิดการชักได้
การใช้ยากันชักไม่ได้ผล
ตำแหน่งที่เป็นสามารถทำการผ่าตัดได้ โดยไม่ทำความเสียหายให้เนื้อสมองส่วนอื่น
ผู้ป่วยไม่มีผลกระทบจากการผ่าตัดเอาเนื้อสมองบางส่วนออก
ก่อนการผ่าตัด จะมีการตรวจวินิจฉัยโดยการทำ MRI Scan, การบันทึกวีดีโอ/ EEG และการทดสอบทางจิตเวช และระบบประสาทก่อน มากกว่า 70 % ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด จะหายขาดจากอาการชักได้ และสิ่งสำคัญที่ต้องระลึกเสมอคือ หลังการผ่าตัดยังอาจจำเป็นต้องใช้ยาต่อในบางครั้ง

การกระตุ้นเส้นประสาท(Vagus nerve Stimulation, VNS)
VNS เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคลมชัก วัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวน ระยะเวลา และความรุนแรงของการชักลง โดยการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนที่เส้นประสาท Vagus ข้างซ้าย และเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่คอ VNS ไม่ใช่วิธีการรักษาโรคลมชักให้หายขาดได้ และผู้ป่วยมักต้องใช้ยากันชักควบคู่ไปด้วย ดังนั้น VNS มักใช้กับผู้ป่วยโรคลมชักที่คุมได้ยากและไม่สามารถรักษาโดยใช้วิธีผ่าตัดได้

เมื่อการชักเกิดขึ้นควรทำอย่างไร
อาการของโรคลมชักอาจทำให้ผู้พบเห็นเกิดการตกใจได้ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการชักจะไม่มีอาการเจ็บปวด และอาจจำเหตุการณ์ขณะชักไม่ได้ หรือจำได้เพียงเล็กน้อย วิธีที่ควรทำขณะเกิดการชักคือ การป้องกันอันตราย ให้ผู้ป่วยขณะชัก จนกว่าผู้ป่วยจะหยุดชักเอง การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมชัก ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
 

อ้างอิงจาก ศูนย์สมองโรงพยาบาลปิยะเวท
http://www.piyavate.com/epilepsy_th.php
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: โรคลมชักคืออะไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 04 กรกฎาคม 2010 เวลา 22:31 น. »
อ้างอิงจาก
http://www.neuroctr.com/knowledge-child-neurology-th.php
ศูนย์สมองระบบประสาท โรงพยาบาลปิยะเวท


ปัญหาทางระบบประสาทในเด็ก
 
  หลายท่านมักสงสัยว่าเด็กมีปัญหาทางด้านระบบประสาทด้วยหรือ?
เคยทราบแต่ว่าผู้ใหญ่มีปัญหาทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตันทำให้เกิดอัมพาต สมองเสื่อม โรคลมชัก โรคพาร์กินสัน แต่ไม่ทราบว่าเด็กมีปัญหาทางนี้เช่นกัน คำตอบคือใช่ครับเด็กก็มีปัญหาทางสมองเช่นกัน แต่เกิดจาสาเหตุความรุนแรง ความชุกของโรค ในรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เช่นสมองเสื่อม (dementia) จะพบในผู้ใหญ่สูงอายุ ในเด็กจะพบน้อย แต่ถ้าเด็กเป็นสมองเสื่อม อาการจะรุนแรงกว่า จนถึงเสียชีวิต การดำเนินโรคจะเร็วกว่า แต่สาเหตุจะไม่ใช่ อัลซไฮมเมอร์ครับ แต่ถ้าเป็นโรคลมชัก(epilepsy) จะพบในผู้ใหญ่น้อยกว่า ในเด็กจะพบมาก แต่ส่วนใหญ่จะหายได้ ส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่หาย จะอยู่จนโตเป็นผู้ใหญ่


ส่วนอาการและอาการแสดงของโรคทางระบบประสาทในเด็ก ก็จะทั้งมีที่คล้ายและแตกต่างจากผู้ใหญ่ครับ ในที่คล้ายเช่น อาการปวดศีรษะ อัมพาต แขนขาอ่อนแรง โรคลมชัก ชักกระตุก กล้ามเนี้อบิดเกร็ง เวียนศรีษะ นอนไม่หลับ แต่อาการที่พบในเด็กเท่านั้นแต่ไม่พบในผู้ใหญ่คือ ปัญหาการเรียน พัฒนาการล่าช้า พูดช้า โรคบางชนิดเป็นโรคที่พบได้ในเด็กเท่านั้นไม่พบในผู้ใหญ่ครับ
สิ่งที่แตกต่างระหว่างสมองของเด็กกับของผู้ใหญ่ ไม่ใช่แค่ขนาดเท่านั้น เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ระบบประสาทประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท และกล้ามเนื้อครับ เด็กก็มีปัญหาของสมองไขสันหลัง เส้นประสาท และกล้ามเนื้อเช่นกัน ข้อสมองเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างชัดเจนที่สุดคือ สมองของเด็กคือสมองที่ต้องเจริญเติบโต และต้องมีการพัฒนาการซึ่งมีผลทำให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ถ้าสมองมีปัญหาสมองก็จะหยุดการพัฒนาการต่อไป หรือมีการพัฒนาการที่เบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็นไปตามปกติ ผลตามมาคือเด็กอาจมีการพัฒนาล่าช้า หรือมีภาวะโรคลมชัก มีความพิการในวัยเด็ก ซึ่งจะหลงเหลือไปถึงผู้ใหญ่ครับ


ในผู้ใหญ่ที่อายุ 21 ปี 40 ปี 50 ปี หรือแม้แต่ 70 ปี ในแง่ความแตกต่างของสมองทั้งด้านกายภาพ หรือน้ำหนักสมอง และด้านประสิทธิภาพในการทำงานของสมองจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อาการและอาการแสดงของโรคสมองในคนป่วยอายุ 21 ปี กับ 70 ปี จะเหมือนกัน เช่นถ้าปวดศรีษะ ก็จะปวดศรีษะเหมือนกัน มีอาการชักจากโรคลมชักก็จะมีอาการ และสาเหตุที่คล้าย ๆ กัน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ในเด็กครับ
สมองของเด็กในแต่ละวัยจะไม่เหมือนกัน เด็กทารกแรกเกิด (อายุ 40 สัปดาห์ เมื่อแรกคลอด) กับเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์ 28 สัปดาห์) จะมีสมองไม่เท่ากัน แตกต่างอย่างสิ้นเชิงทั้งด้านกายภาพ และการทำงานของสมอง สมองจะมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก ตั้งแต่ในระยะ 3 เดือนหลังของการตั้งครรภ์ และจะเจริญต่อไปอย่างรวดเร็วจนอายุประมาณ 2 ปี จะเริ่มช้าลงจนประมาณ 4 ปี และตั้งแต่อายุ 4 ปีจนอายุวัยรุ่น 17 -18 ปี สมองเด็กยังคงมีการพัฒนาแต่ก็เป็นไปแบบช้าๆ หรือช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับในวัยเด็กเล็ก (ดูรูป) เด็กทารกแรกเกิด และเด็กเมื่อายุ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 15 เดือน 18 เดือน จะมีขนาดสมอง หรือน้ำหนัก และประสิทธิภาพการทำงานที่ก้าวหน้าแบบรวดเร็วมากและมีความแตกต่างกันและไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง ในแต่ละช่วงอายุ


การเจริญเติบโต
ความสามารถของสมอง

 

ภายใน 3 เดือนหลังคลอด เด็กเริ่มจะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหวใช้แขนขา พลิกตัวได้โดยใช้แขนขาได้ใน 6 เดือน นั่งได้เมื่อ 9 เดือน เริ่มยืนได้เมื่อ 1 ปี และเดินได้ วิ่งได้ใน 15-18 เดือน ถ้าเด็กมีก้อนเนื้องอกในสมอง เด็กอาจไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ และจะดูเป็นปกติดี เนื่องจากสมอง กระโหลกศรีษะสามารถขยายตัวได้ เจริญเติบโตกำลังขยายขนาดตลอดเวลา ดังนั้นในเด็กก้อนเนื้องอกมักใหญ่ และมีความรุนแรงสูงมาก แต่ในผู้ใหญ่ก็อาจมีอาการปวดหัวมากอย่างรุนแรง ร่วมกับแขนขาอ่อนแรง มาพบแพทย์เร็ว แต่ถ้าเป็นเนื้องอกนี้เกิดในเด็กแรกเกิด เนื้องอกใหญ่ก็ไม่ทำให้เด็กแขนขาอ่อนแรง เพราะเด็กแรกเกิดขยับแขนขาได้โดยใช้กลไกระดับแต่ก้านสมองและไขสันหลังครับ เด็กจะดูเป็นปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย อาจตรวจพบแต่กระหม่อมที่ศีรษะตึง ๆ เท่านั้น นี่คือข้อแตดต่างครับ
ดังนั้นปัญหาทางระบบประสาทในเด็กต้องแยกออกมาในแต่ละช่วงอายุครับ
เด็กทารกคลอดก่อนกำหนด (Premature) ส่วนใหญ่ต้องอยู่ในห้องอภิบาลผู้ป่วยหนักครับ ภายหลังคลอดใหม่ ๆ ปัญหาทางสมองที่เกิดมักจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่พร้อมจะมีชีวิตได้ เช่น เลือดออกในสมอง สมองขาดออกซิเจน จากปอดไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะมีผลให้เด็กมีอาการชักรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิต และ ความพิการสูงมาก
เด็กทารกแรกเกิด (Full term)


ปัญหาทางสมองมักเกิดจากผลแทรกซ้อนจากการคลอด หรือภาวะที่สมองมีการเจริญแบบผิดปกติ ผิดรูปตั้งแต่เกิดอยู่ในครรภ์แม่ หรือความพิการแต่กำเนิด สาเหตุอาจเกิดได้จากปัญหาการติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ของแม่หรือ จากพันธุกรรมที่พ่อและแม่เป็นพาหะของโรค เด็กอาจมีภาวะชัก กระโหลกศีรษะเบี้ยว เล็ก ผิดรูป หรือมีพันฒนาการล่าช้า


เด็กระยะขวบปีแรก
ขวบปีแรกจะเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ถ้าเด็กมีปัญหาทางระบบประสาท พ่อแม่จะสังเกตุได้ว่าพัฒนาการของลูกจะผิดปกติ อาจล่าช้า ไม่ทันเพื่อน หรือลูกของคนอื่น ปัญหาทางระบบประสาทที่เกิดเช่น อาการชักในเด็กจากไข้สูง โรคลมชักพัฒนาการล่าช้า หรือไม่มีพัฒนาการเลย กล้ามเนื้ออ่อนแรง จากโรคเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ สาเหตุอาจเกิดจากสิ่งที่ได้รับภายหลังคลอด เช่น ติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรืออาจจะเป็นมาตั้งแต่แรกเกิดแต่เริ่มปรากฎอาการภายหลัง เช่น โรคที่เกิดจากความผิดปกติของการย่อยสลายสารอาหาร และซึ่งสารเคมีของร่างกาย ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรม หรือความพิการของสมองแต่กำเนิด เด็กระยะเด็กตอนต้นและตอนปลาย
เด็กระยะนี้น่ารักมากครับ กำลังอยู่ในวัยอนุบาลหรือเริ่มต้นเรียนหนังสือ ปัญหาของเด็กกลุ่มนี้มักไม่ใช่สาเหตุจากระยะแรกคลอด หรือจากการตั้งครรภ์ .อาการแล้วมักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาใหม่หรือมีอาการเล็กน้อยแต่เริ่มปรากฏในเด็กเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น เช่น พัฒนาการล่าช้าเล็กน้อย ครูบอกว่าลูกเรียนไม่ทันเพื่อน ช้า เดินล้มบ่อย อาจเริ่มบ่นปวดหัว อาเจียน อาจพบโรคลมชักได้ ไม่ยอมพูด พูดช้า ออทิสติก


เด็กวัยเรียนและวัยรุ่น
ปัญหาที่เกิดขึ้นในเด็กวัยนี้จะเริ่มมีปัญหาเช่น เดียวกับผู้ใหญ่ครับ เนื่องจากเด็กวัยนี้สามารถจะสื่อสารด้วยคำพูดได้ดี ซึ่งสามารถแสดงอาการ และอาการแสดงแบบผู้ใหญ่ได้ เช่น บ่นปวดศรีษะไมเกรน วูบ เวียนศรีษะ อาการชัก แขนขาอ่อนแรง แต่ก็มีปัญหาที่พบในวัยเด็กในวัยเรียนเท่านั้นคือ ปัญหาเรื่องการใช้ความสามารถของสมองเพื่อใช้ในการเรียน ปัญหาที่พบจะได้แก่ ปัญหาเรื่องสมาธิสั้น อ่านหนังสือไม่ออก คิดเลขไม่ได้ พูดไม่เก่งไม่คล่องแคล่ว ปัญหาอารมณ์ซึมเศร้า พฤติกรรมก้าวร้าว กล้ามเนื้อร่างกายกระตุก บิดเกร็ง
 

อ้างอิงจาก
http://www.neuroctr.com/knowledge-child-neurology-th.php
ศูนย์สมองระบบประสาท โรงพยาบาลปิยะเวท
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: โรคลมชักคืออะไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 04 กรกฎาคม 2010 เวลา 22:33 น. »
web ถาม-ตอบ โรคลมชักที่เจอมาครับ
ถาม-ตอบ โรคลมชัก สถาบันประสาทวิทยา
http://pni.go.th/webboard/index.php?board=2.0

ชมรมผู้ปกครองสมาธิสั้นแห่งประเทศไทย
http://www.adhdthai.com/forum/index.php?board=1.0
สู้สู้

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: โรคลมชักคืออะไร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2010 เวลา 23:15 น. »
สังเกตเมื่อลูกชัก

           มีคุณแม่ หลายท่านสงสัยเกี่ยวกับอาการชักของลูก และส่งคำถามมาในคอลัมน์นี้ ว่าอยากรู้ถึงวิธีสังเกตและการช่วยเหลือเมื่อลูกมีอาการชัก เพื่อไขข้อสงสัย เราจึงเดินทางมาสอบถามพูดคุยกับ นายแพทย์มนตรี แสงภัทราชัย กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบประสาท แผนกกุมารเวช ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งคุณหมอได้ให้ข้อมูลกับเราว่า
?โรคลมชักเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัยครับ อย่างในเด็กทารกก็มีอาการชักได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด หรืออาจจะไม่มีอาการเลย จนกระทั่งเขาเข้าสู่วัยเรียนหรือวัยรุ่นก็ได้ครับ ซึ่งโดยทั่วไปการชักในเด็ก กับในผู้ใหญ่จะมีความแตกต่างกัน โดยในผู้ใหญ่มักจะมีสาเหตุจากความผิดปกติในสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบขอด จากการที่เลือดออกในสมอง เป็นต้น
...แต่เมื่อพูดถึงเรื่องเด็กมีอาการชัก ก็ต้องแยกแยะก่อนว่า เด็กมีอาการชักหรือเป็นลมชัก เพราะโดยทั่วไปพ่อแม่พอเห็นเด็กมีอาการเกร็งตัว หรือมีอาการกระตุกของร่างกาย ก็คิดว่าเด็กเป็นลมชัก ก็พยายามช่วยเหลือ แต่อาการชักในความหมายของแพทย์ อาจจะเป็นหรือไม่เป็นอาการชักก็ได้ครับ ซึ่งอาการชักในทางการแพทย์จะหมายถึง อาการใดๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าจากเซลล์สมองอย่างเฉียบ พลัน แล้วทำให้เกิดอาการชัก เช่น อาจจะมีอาการชา เห็นภาพผิดปกติ นั่ง เหม่อก็ได้ครับ ดังนั้นถ้าเห็นว่าเด็กมีอาการเกร็ง มีการกระตุกของกล้ามเนื้อ แต่ไม่ได้เกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง อย่างนี้ก็ถือได้ว่าไม่ได้เป็นอาการชักครับ ขระที่โรคลมชัก สังเกตคือ เด็กจะมีอาการชักซ้ำๆ กัน แต่ไม่มีสาเหตุจากภายนอกสมองเป็นปัจจัยกระตุ้น
...อย่างไรก็ดี สาเหตุที่เด็กชักนี่ก็มีได้หลายอย่างครับ อาจจะชักจากการเป็นไข้ เป็นลมบ้าหมู ซึ่งอาการชักก็มีได้หลายอย่าง สังเกตคือ อาการชักไม่ใช่แค่แค่เกร็งกระตุกทั้งตัว ซึ่งอาการชักชนิดเกร็งกระตุกทั้งตัวและหมดสติ สมัยก่อนจะเรียกกันว่า ลมบ้าหมู ส่วนอาการชักที่ผู้ป่วยไม่มีอาการเกร็งหรือกระตุกทั้งตัว ก็เช่น อาการชักเฉพาะส่วน อย่างกระตุกแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาการคลื่นไส้ปวดท้องเป็นๆ หายๆ อาการกลัว หรือความรู้สึกแปลกๆ อาการเห็นภาพหลอนหรือหูแว่ว ซึ่งขณะมีอาการ สังเกตว่าผู้ป่วยจะรู้สึกตัวดีครับ
...ส่วนอาการชักแบบซับซ้อน จุดสังเกตคือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการเตือนก่อนชักครับ เช่น อาการกลัวหรือปวดท้อง คลื่นไส้ จากนั้นสังเกตว่าผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกตัว บางรายก็อาจมีพฤติกรรมแปลกๆ และซ้ำๆ เช่น ทำปากขมุบขมิบ เคี้ยวปาก ขยับมือไปมา หรือใช้มือขยำเสื้อผ้าอย่างไม่รู้ตัว หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเกร็ง กระตุกทั้งตัวตามมาก็ได้ครับ
?อาการชักอีกแบบหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็ก ก็คือ อาการชักแบบเหม่อนิ่ง สังเกตคือ ผู้ปกครองจะพบว่าเด็กจะหยุดพูดหรือหยุดเล่นทันทีครับ มักไม่ค่อยตอบสนองต่อการเรียก บางครั้งเด็กจะจ้องไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมายคล้ายๆ กับอาการเหม่อ อาจจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ถึงนาที หรืออาจจะมีการกระพริบตาถี่ๆ ร่วมด้วย หลังจากนั้นเด็กก็สามารถกลับมาคุยหรือเล่นต่อได้ตามปกติครับ
...ขณะเดียวกัน อาการชักที่พบได้ในเด็กอีกแบบ ก็คือ อาการชักกระตุกแขนขาเป็นชุดๆ ซึ่งมักพบบ่อยในเด็กช่วงอายุ 3 เดือนถึง 1 ปี จุดสังเกตคือ เด็กจะมีอาการกระตุกแขนขาทั้งสองข้าง อาจเอาแขนโอบเข้าหาตัว และกระตุกศีรษะ ก้มเป็นจังหวะเหมือนพยักหน้า บ้างก็เหยีอดแขนหรือขา หรือทั้งแขนและขาสองข้างออกไปข้างหลัง พร้อมกับกระตุกศีรษะเงยขึ้นเป็นจังหวะ หรือทั้งสองแบบรวมกัน โดยอาการดังกล่าวมักเกิดเป็นชุดๆ ติดต่อกัน หรือบางครั้งมีอาการได้มากถึงร้อยครั้งต่อวัน ก็ต้องสังเกตให้ดี
?อีกแบบก็คือ อาการชักแบบตัวอ่อน ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการเกร็งกระตุกให้เห็น แต่จะชักแบบตัวอ่อน ไม่มีแรงและหมดสติล้มลงทันที อาการคล้ายคนเป็นลมครับ แต่ลักษณะชักเช่นนี้มักจะเกิดอย่างรวดเร็วไม่มีอาการเตือนมาก่อน จึงยากต่อการสังเกต
...ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองสังเกตว่าเด็กมีอาการชักแบบใดแบบหนึ่ง และสงสัย หรือกังวล ก็สามารถมาพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจได้ครับ แพทย์ก็จะทำซักประวัติอย่างละเอียดตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อวินิจฉัยว่าอาการที่เกิดขึ้นใช่อาการชักจริงหรือไม่ และถ้าใช่ เป็นอาการชักชนิดไหนเพื่อการรักษา ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง หรือในเด็กบางราย แพทย์ก็อาจจะให้ตรวจเอ๊กซเรย์สมองเพิ่มเติม
...สำหรับการดูแลเด็กที่มีอาการชักแบบใดแบบหนึ่งนั้น แนะนำว่าอย่างแรกเลยคือการตั้งสติให้ดีครับ อย่าตกใจหรือเอามือเอาช้อนสอดใส่ในปากเด็ก เพราะกลัวว่าเด็กจะกัดลิ้นตนเอง ก่อนอื่นควรจะรีบให้เด็กนอนตะแคง วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเอาลิ้นตกไปอุดหลอดลม และยังช่วยกันการสำลัก จากนั้นก็คลายเสื้อผ้าของเขาออกมาให้หลวมๆ ถ้าเขามีไข้ก็ให้รีบเช็ดตัวเพื่อลดให้ความร้อนลดลง และรีบพาเขาส่งโรงพยาบาลครับ?
นพ.มนตรี แสงภัทราชัย
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบประสาท

ขอขอบคุณ โรงพยาบาลกรุงเทพ
โทร.1719

http://motherandchild.in.th/content/view/525/32/
MC แม่และเด็ก
สู้สู้

ออฟไลน์ jelly

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 487
Re: โรคลมชักคืออะไร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 08 ตุลาคม 2010 เวลา 08:28 น. »
ขอเสริมคุณป๊อบนะครับ

สังเกตอาการลมชักก่อนจะสาย

ข่าวที่บุตรชายของจอห์น ทราโวต้าเสียชีวิตในห้องน้ำด้วยภาวะลมชัก วิกตอเรีย แบคแฮม ตวาดใส่ช่างภาพด้วยความตกใจที่มารุมถ่ายภาพลูกชายคนกลางของเธอว่า แสงแฟรชจะกระตุ้นอาการลมชัก หรือภาพที่นักร้อง Prince ออกมายอมรับว่า เขาเกิดมาเป็นโรคลมชัก ล้วนสร้างความรู้สึกตระหนกแกมตระหนักว่า โรคลมชักอาจใกล้ตัวกว่าที่คิด

โรคลมชักพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย และในประเทศไทย ประมาณกันว่ามีผู้ป่วยโรคลมชักราว 6-7 แสนคน ทั้งนี้เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าภายในสมอง ซึ่งมีการนำของกระแสไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อให้เกิดอาการชักตามมา และอาจมีสาเหตุได้ตั้งแต่จากโรคทางกรรมพันธุ์ ภาวะติดเชื้อในสมอง สมองขาดออกซิเจน มีไข้สูงแล้วชัก มีอุบัติเหตุทำให้เกิดแผลเป็นในสมอง เซลล์ในสมองอยู่ผิดที่ ไปจนถึงเนื้องอกในสมอง และอีกหลายสาเหตุ

ภาวะชักที่มีอาการเกร็ง อาการกระตุก ทั้งเกร็งและกระตุก คอบิด แขนเหยียดไม่เท่ากัน หรือมีอาการชักทั่วทุกส่วนที่เรียก โรคลมบ้าหมู อาจจะเป็นอาการที่สังเกตง่าย ผู้ป่วยมีโอกาสถูกนำตัวส่งแพทย์และได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ สูง

?โรคลมชักหากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ และถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหายขาดได้ครับ? ดร. นพ.โยธิน ชินวลัญช์ แพทย์ระบบประสาทผู้เชี่ยวชาญด้านโรคลมชัก ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าว คุณหมอศึกษาสาขาโรคระบบประสาทวิทยา และโรคลมชักในระดับปริญญาเอก จาก Melbourne University ?แต่ถ้าปล่อยให้คนไข้ชักอยู่เรื่อย สภาวะที่กระแสไฟฟ้าในสมองถูกระตุ้นมากเกินไป จะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารทำลายเซลล์สมอง เซลล์สมองจะตาย เน็ตเวิร์คภายในเซลล์สมองจะเสีย คนไข้ที่มีอาการชักนานๆ พอเอ็กซเลย์สมอง 2 ปีถัมา สมองเหี่ยวไปเยอะเลย สมองส่วนความจำก็เหี่ยวด้วย แล้วยังกระทบต่อสมองส่วนอื่น ภาวะเหล่านี้ถ้าเรารักษาช้าจะไม่เหมือนเดิมเลย?

แต่โรคลมชักมีความหลากหลายทางอาการมาก อยู่ที่ว่าภาวะผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมองไปผิดปกติในสมองส่วนใด และรุนแรงแค่ไหน บางอาการจึงสังเกตยากมาก ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคลมชัก ก็ไม่ได้รับการรักษา เช่น ภาวะเหม่อลอย ภาวะวูบไป ภาวะเบลอจำอะไรไม่ได้ชั่วขณะวูบ ฯลฯ ยิ่งถ้าอาการเหล่านี้ เป็นเพียงไม่กี่วินาทีแล้วหาย ก็ยิ่งไม่ทันสังเกต ซึ่งคุณหมอแนะว่า ถ้ามีอาการเหล่านี้ซ้ำๆ ยิ่งมีอาการวูบตามมา แม้จะไม่มีอาการเกร็ง ชัก กระตุก ก็ควรมาพบแพทย์ การซักอาการ ประวัติ รวมทั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) จะช่วยบอกได้ว่าเป็นภาวะของโรคลมชักหรือไม่



?แค่อาการวูบ ที่เหมือนนิ่งไป หรือเหมือนความจำหายไปชั่วขณะ ก็มีหลายระดับ ส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวเลย คือวูบ 100 เปอร์เซ็นต์ จำอะไรไม่ได้ บางคนวูบในลักษณะจำเหตุการณ์ได้ แต่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บางคนรู้สึกเหมือนการสั่งงานไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เช่น ปกติ หรือการสั่งงานช้าลง ผู้ป่วยที่มีอาการวูบร่วมด้วย จะค่อนข้างชัดเจน แต่บางคนที่ยังไม่มีอาการนี้ เขาก็ไม่คิดว่าตัวเองเป็นโรคลมชัก สุดท้ายพอทิ้งไว้และเกิดชักกระตุก คราวนี้ก็อันตายเกินไป?

ผู้ป่วยลมชักหลายคนมาด้วยอาการแปลกๆ เช่นเห็นภาพหมุน เห็นภาพเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ เห็นแสงจ้าสีสันหลากหลาย (ต่างจากผู้ป่วยโรคไมเกรนซึ่งจะเห็นแสงจ้าขาวดำ) เห็นภาพในอดีตวิ่งผ่านสมองเหมือนฉากในภาพยนตร์ หรือบางคนเห็นภาพหลอน หูแว่ว กลัว และหลายคนมาด้วยอาการทางจิตประสาท ต่อเมื่อได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง จึงทราบว่ามีอาการของโรคลมชัก

?ถ้าความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในสมองไปปรากฎที่สมองส่วนควบคุมจิตใจ ก็อาจมีอาการทางจิตใจที่ผิดปกติไป เช่น Deja Vu ความรู้สึกที่เหมือนคุ้นเคยทั้งที่ไม่เคยรู้จัก หรือเข้าไปที่ไหน ก็เหมือนเคยเจอใครมาก่อน ทั้งที่ไม่ใช่ หรือในทางตรงกันข้าม สิ่งที่เคยคุ้นหรืออยู่บ้านตัวเอง ก็เกิดรู้สึกแปลกไป เจอแฟนตัวเอง ก็รู้สึกเหมือนคนแปลกหน้า?

?อีกเคส เด็กคนหนึ่งมาหาเรา มีอาการนิ่ง และเหม่อลอย แต่ก่อนที่เขาจะชัก เขาจะเห็นภาพผู้หญิงผมยาวยืนหันหลังให้ บางคนฟังแล้วผวา เป็นภาพผู้หญิงที่ไม่มีตัวตน เหล่านี้อาจเป็นอาการเตือนของโรคลมชักได้ครับ?

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) จะช่วยเช็คคลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชักได้ ซึ่งทางโรงพยาบาลกรุงเทพ มีให้บริการทั้งชนิด Routine EEG ใช้เวลาตรวจ 30 นาที (โอกาสค้นพบคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคลมชักราว 60 เปอร์เซ็นต์) และชนิด VDO-EEG monitoring เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 24 ชม พร้อมวีดีโอบันทึกกิจกรรมของผู้ป่วยเปรียบเทียบกับคลื่นไฟฟ้าในสมองในแต่ละขณะ ซึ่งแพทย์อาจสั่งตรวจเพียง 24 ชม หรือตรวจติดต่อกันหลายวันแล้วแต่ความเหมาะสม

เนื่องจากคนไข้โรคลมชักกลุ่มหนึ่งมีภาวะดื้อยา และอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง ทางโรงพยาบาลกรุงเทพ ยังมีบริการตรวจทางกัมมันตรังสี (Ictal SPECT) และการตรวจ PET Scan รวมทั้งการตรวจตำแหน่งความจำในสมอง ซึ่งการตรวจเหล่านี้จำเป็นต้องตรวจควบคู่กันเพื่อการกำหนดตำแหน่งสมองบริเวณที่มีคลื่นไฟฟ้าผิดปกติให้ชัดเจนก่อนทำการผ่าตัดสมอง และคุณหมอโยธินก็เป็นหนึ่งในแพทย์ผู้บุกเบิกการใช้ Ictal SPECT และ PET Scan ในการกำหนดตำแหน่งคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติเพื่อการผ่าตัดสมอง ผลงานวิจัยของคุณหมอในเรื่องนี้ได้รับรางวัลจากสมาคมโรคลมชักแห่งออสเตรเลีย

?เมืองไทยมีการผ่าตัดสมองเพื่อรักษาโรคลมชักปีหนึ่งประมาณร้อยกว่าราย ซึ่งถือว่าไม่เยอะถ้าเทียบกับผู้ป่วยที่มีอาการดื้อยาในขณะนี้หลายหมื่นคน โรงพยาบาลที่พร้อมทุกด้านในการรักษาโรคลมชักด้วยการผ่าตัดสมองยังมีไม่กี่แห่งครับ? คุณหมอทิ้งท้ายด้วยความเสียดาย
โรคลมชัก Infantile sapsms
Diagnosed IS 10 June 2009
รักษาด้วย Sabril+Dapakine
Seizure free since 11 June 2009
Meds free since 1 Sept 2011
Dr.มนตรี แสงภัทราชัย
รพ.กรุงเทพ

ออฟไลน์ jelly

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 487
Re: โรคลมชักคืออะไร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 08 ตุลาคม 2010 เวลา 08:34 น. »
"แพทย์จุฬาฯ โชว์ฟอร์มเจ๋ง"


เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 เม.ย. ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พร้อมด้วย ผศ.นพ.สุรชัย เคารพธรรม

หัวหน้าภาควิชาประสาทศัลยศาสตร์ แถลงข่าวความสำเร็จของการผ่าตัดก้อนเนื้อในโพรงน้ำสมองด้วยวิธีการส่องกล้อง ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีความยากลำบากมากกว่าการผ่าตัดสมองแบบปกติ

สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยทีมประสาทศัลยแพทย์ของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เป็นผู้ทำการผ่าตัด ประกอบด้วย ผศ.นพ. กฤษณพันธ์ บุณยะรัตเวช ผศ.นพ.รุ่งศักดิ์ ศิวานุวัฒน์ ผศ.นพ.สุรชัย เคารพธรรม และ รศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ เป็นวิสัญญีแพทย์

ผศ.นพ.กฤษณพันธ์ บุณยะรัตเวช  ประสาทศัลยแพทย์ ผู้ทำการผ่าตัด เปิดเผยว่า การผ่าตัดครั้งนี้เป็นการผ่าตัดผู้ป่วยหญิงอายุ 18 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ป่วยเป็นโรคลมชักมาตั้งแต่อายุ 11 ขวบ ลักษณะอาการคือ มีอาการชัก ร่วมกับการหัวเราะและร้องไห้ บางครั้งมีอาการเหม่อลอยร่วมด้วย ครั้งละ 1-2 นาที ขณะที่เกิดอาการ ผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งภายนอกได้ แม้ว่าจะรู้ตัวอยู่ตลอด ผู้ป่วยรายนี้ได้เข้ามารักษาในโครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
โดยได้รับการตรวจจาก รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกุล

และคณะแพทย์ของโครงการ ผลการตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อในโพรงน้ำสมอง ที่เรียกว่า ก้อนฮามาร์โตมา บริเวณไฮโปธาลามัส แพทย์ได้ทำการปรับยากันชักให้ผู้ป่วยหลายชนิด แต่ผู้ป่วยยังมีอาการชักกว่าร้อยครั้ง ทุกๆ 2 เดือน จึงได้มีการปรึกษาทีมประสาทศัลยแพทย์เพื่อพิจารณาทำการผ่าตัด

ผศ.นพ.กฤษณพันธ์กล่าวว่า

การผ่าตัดครั้งนี้ มีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากก้อนเนื้อเยื่อที่เรียกว่า ฮามาร์โตมา ซึ่งเกิดขึ้นอย่างผิดปกติของผู้ป่วย อยู่ในตำแหน่งของสมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปธาลามัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่สำคัญมาก รวมทั้งอยู่ในจุดที่ใกล้กับสมองส่วนควบคุมความจำ ที่เป็นจุดเชื่อมสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาเข้าด้วยกัน หากได้รับความกระทบกระเทือน อาจมีความพิการที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ ตำแหน่งของก้อนเนื้อฮามาร์โตมาของผู้ป่วยรายนี้ยังอยู่ในตำแหน่งที่ลึก หากจะใช้การผ่าตัดแบบเปิด จะต้องผ่านสมองปกติเป็นระยะทางไกล และการผ่าตัดแบบเปิดอาจมีการดึงรั้งสมองส่วนที่เกี่ยวกับความจำ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำแบบชั่วคราว หรือแบบถาวรได้ และที่สำคัญที่สุด ผู้ป่วยรายนี้มีโพรงสมองที่แคบมาก หากจะผ่าตัดโดยวิธีเปิด จะต้องมีการดึงรั้งสมองมากกว่าปกติ ซึ่งอันตรายมาก

ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว
คณะแพทย์ จึงตัดสินใจทำการผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง โดยมีระบบคอมพิวเตอร์นำทาง ที่เรียกว่าเนวิเกเตอร์ ซิสเต็ม (Navigator system) เข้าไปยังจุดของก้อนเนื้อ และสามารถนำก้อนเนื้อออกได้ โดยไม่ต้องผ่านเนื้อสมองที่สำคัญ ไม่ต้องดึงรั้งสมอง ทำให้การผ่าตัดครั้งนี้มีความแม่นยำสูง เสียเลือดน้อยกว่า และใช้เวลาในการผ่าตัดเพียง 1 ชั่วโมง เท่านั้น ผศ.นพ.กฤษณพันธ์กล่าวและว่า หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการดี ไม่มีอาการชักอีก และไม่พบอาการแทรกซ้อน

นับเป็นความสำเร็จครั้งแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสถิติที่เคยมีการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ทั่วโลกมีประมาณ 60 ราย ในประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้
โรคลมชัก Infantile sapsms
Diagnosed IS 10 June 2009
รักษาด้วย Sabril+Dapakine
Seizure free since 11 June 2009
Meds free since 1 Sept 2011
Dr.มนตรี แสงภัทราชัย
รพ.กรุงเทพ

 


Powered by EzPortal