เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ  (อ่าน 31644 ครั้ง)

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 22:07 น. »
สิทธิผู้ป่วย
            
คำว่า สิทธิ หมาย ถึง ความชอบธรรมที่บุคคลใช้ยันกับผู้อื่นเพื่อคุ้มครอง หรือรักษาผลประโยชน์อันเป็นส่วนถึงมีพึงได้ของบุคคลนั้น สิทธิผู้ป่วย จึงหมายถึงความชอบธรรมที่ผู้ป่วยซึ่งรวมถึงผู้ที่ไปรับบริการด้านสุขภาพสาขา ต่างๆจะพึงได้รับ เพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของตนเอง  โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นแม้ว่าที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและ ผู้ใช้บริการด้านสุขภาพสาขาต่างๆตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเกื้อกูล น้ำใจ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน แต่ความสลับซับซ้อนทางสังคม และกระแสของวัฒนธรรม ทางธุรกิจได้เพิ่มขยายความขัดแย้งทางจริยธรรมมากขึ้น  ทำให้ต้องมีบทบัญญัติทั้งในกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งฯ   กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และข้อบังคับทางจริยธรรมแห่งวิชาชีพสาขาต่าง เพื่อจัดระเบียบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และบริการด้านสุขภาพต่างๆ ให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
 
            ในหลายประเทศได้มีการประกาศสิทธิผู้ป่วยหรือกฎบัตรผู้ป่วยขึ้น เพื่อรับรองให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ สำหรับประเทศไทยองค์กรสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะรวบรวมสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยตลอดจนธรรมเนียม ปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีไทย จัดทำเป็นประกาศเพื่อให้รู้ทั่วกันทั้ง ประชาชน ผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพสาขาต่างๆ ทั้ง แพทย์  พยาบาล  ทันตแพทย์ เภสัชกร และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ โดยมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดความเข้า ใจอันดี ลดความขัดแย้ง  และนำไปสู่ความไว้วางใจซึ่งเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่ผลการรักษาพยาบาลที่ดี

1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ   ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ           

คำอธิบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีมาตรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพคนไทยโดยตรงอยู่สองมาตรา            หมวด 3   ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของบุคคล            ? มาตรา 52 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ ?            การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะ ต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะ กระทำได้            การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า และทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ            หมวด 5          แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ            ? มาตรา 82 รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ?            จะเห็นได้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดให้รัฐบัญญัติกฏหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนทุกคนในด้านการป้องกันและขจัด โรคติดต่ออันตราย และจัดให้มีสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐให้การบริการโดยไม่ คิดมูลค่าแก่ผู้ยากไร้เท่านั้น  สำหรับผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ก็จะต้องมี ส่วนร่วมในการรับผิดชอบในภาระค่าใช้จ่ายในด้านการดูแลสุขภาพของตนเอง  โดยอาจเลือกใช้บริการได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ตามแต่ความสามารถทางการเงินและความต้องการของตนเอง           ข้อควรตระหนัก            1. ให้การดูแลผู้ใช้บริการทุกรายเป็นอย่างดี อย่างสมเหตุผล และตัดสินใจให้การดูแลเป็นราย ๆ  ตามความเหมาะสมกับอาการหรือโรคที่เป็น ด้วยวิจารณญาณและความรู้ในวิชาชีพ            2. รู้สิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้ใช้บริการ เช่น ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ เด็กอายุ 0-12 ปี หรือผู้มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการของรัฐโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย
 
2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ  เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิ การเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บ ป่วย         
   คำอธิบาย
       หลักการข้อนี้เป็นหลักการที่แพทย์ทั่วโลกยอมรับและถือปฏิบัติ แพทยสมาคมโลก ได้ประชุมและรวมไว้ในปฏิญญาแห่งกรุงเจนีวา (Declaration of Geneva) ไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.2948 ซึ่งข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวด 1 ข้อ 3 ระบุว่า            ? ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมประกอบวิชาชีพด้วยเจตนาดี โดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม และลัทธิการเมือง ?            และในหมวด 3 ข้อ 1 ระบุว่า            ? ข้อ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด ?            ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ในมาตรา 30 ว่า             ? มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฏหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ?            การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำไม่ ได้            ดังนั้นผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิที่จะได้บริการสุขภาพในมาตรฐานที่ดีที่สุดตาม ฐานานุรูปโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้มิได้หมายความรวมถึงสิทธิอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาล การพักในห้องพิเศษต่าง ๆ และบริการพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น            ข้อควรตระหนัก            1. ปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้ใช้บริการทุกรายอย่างเท่าเทียมกันด้วยความเอื้อ อาทร มีน้ำใจ เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เห็นอกเห็นใจ ให้ความเป็นกันเองบนพื้น ฐานของความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา             2. ปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการทุกรายด้วยความสุภาพ    อ่อนโยน   ปราศจากการบังคับขู่เข็ญ   ล่วงเกิน ดูหมิ่น            3. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ การใช้อำนาจหน้าที่และข้อได้เปรียบเพื่อประโยชน์ส่วนตัว            4. เคารพในความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา หรือพิธีกรรมของผู้ใช้บริการ
 
3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและ ชัดเจน  จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการ ยินยอม หรือไม่ยินยอมให้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วย เหลือรีบด่วนหรือจำเป็น       
     คำอธิบาย       สิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจในการทำการบำบัดรักษาโรคภัยที่เกิดขึ้นนับเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ป่วย ผู้ ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีหน้าที่ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการ การ ดำเนินโรค วิธีการรักษา ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (Informed Consent) ยกเว้นการช่วยเหลือในกรณีรีบด่วนฉุกเฉิน ซึ่งจำเป็นต้องกระทำเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยตามข้อ 4           ข้อควรตระหนัก           1.ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการและญาติเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะใช้บริการ หรือไม่เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือกรณีรีบด่วนหรือจำเป็น           2. ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัย   การพยากรณ์โรค วิธีการบำบัดรักษา   การเสี่ยงต่ออันตรายจากการรักษาพยาบาลหรือไม่รับการรักษา ด้วยภาวะที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใจได้และอยู่ในสภาพพร้อมที่จะรับฟัง  โดยคำนึงถึงประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับการบอกความจริง (Truth telling)            3. รับ ฟังความคิดเห็น ปัญหา และความต้องการของผู้ใช้บริการด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม รวมถึงการปฏิเสธการรักษาพยาบาลที่ผู้ใช้ บริการไม่ปรารถนา           4. อธิบาย ให้ผู้ใช้บริการทราบทุกครั้งก่อนปฏิบัติการพยาบาลว่าจะทำอะไร ผลเป็นอย่าง ไร   บอกวิธีสังเกตความผิดปกติหรือความไม่สุขสบายที่อาจเกิดขึ้น           5. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบและกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน / โรงพยาบาลที่ผู้ใช้บริการพึงปฏิบัติในขณะที่มาใช้บริการด้านสุขภาพ           6. ก่อน ให้ข้อมูลควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้ใช้บริการได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการ เจ็บป่วยเรื่องใดไปบ้าง    และมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด โดยข้อมูลที่ให้ต้องใช้ภาษาที่ให้ต้องใช้ ภาษาที่เข้าใจง่าย           7. ชี้ แจงและอธิบายให้ผู้ใช้บริการทราบถึงความจำเป็นที่ต้องย้าย หรือส่งต่อผู้ใช้บริการไปยังสถานบริการอื่น ๆ   เพื่อการตัดสินใจยินยอมหรือไม่ยินยอม
 
 
4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับความ ช่วยเหือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่ กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่   
        คำอธิบาย      การ ช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตถือเป็นจริยธรรมแห่ง วิชาชีพขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะต้องรีบดำเนินการโดยทันที เมื่อตนอยู่ในฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือได้ การช่วยเหลือในลักษณะเช่นนี้นับเป็นความจำเป็นในการช่วยชีวิต แม้ว่าจะไม่ได้รับการร้องขอจากผู้ป่วย ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่อยู่ในสภาพมีสติพอที่จะร้องขอได้ ถือ ว่าเป็นการกระทำโดยความจำเป็นไม่มีความผิด  การปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือนับว่าเป็นการละเมิดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วย การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวด 3 ข้อ 10 และอาจผิดกฎหมายอาญา มาตรา 374 ด้วย            ข้อควรตระหนัก            1. ตัดสิน ใจให้การช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน   เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตทันที บนหลักการ ปรัชญาและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ รวมถึงความเชื่อในความมีคุณค่าของ มนุษย์ ยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี มีความแตกต่าง และต้องการมีชีวิต ที่ดี            2. ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย เมื่อได้รับคำขอร้องและตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้
 
5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุลและประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน     
      คำอธิบาย         ใน สถานพยาบาลต่างๆ จะมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพต่างๆ หลายสาขา ปฏิบัติงานร่วมกันในการช่วยเหลือผู้ป่วยร่วมกับบุคลากรผู้ช่วยต่าง ๆ หลายประเภท ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิด ความไม่แน่ใจและความไม่เข้าใจแก่ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป ดังนั้นการกำหนด ให้ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะสอบถามชื่อ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทของผู้ประกอบ วิชาชีพที่ให้บริการแก่ตน  จึงช่วยผู้ป่วยในฐานะผู้บริโภคกล้าที่จะสอบถามข้อมูลที่จะช่วยให้เกิดความ เข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของตนเอง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ให้บริการซึ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอ            ข้อควรตระหนัก            1. ให้ข้อมูล ชื่อ สกุล ตำแหน่ง คุณวุฒิของผู้ที่จะรับผิดชอบดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ            2. ควรติดป้ายชื่อ หรือสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ถึง ชื่อ สกุล ตำแหน่ง ของบุคลากรทางการพยาบาล
 
6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตนและมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถาน บริการได้
คำอธิบาย       สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย (The right to safety) สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร ( The Right to be Informed) สิทธิที่จะเลือก (The Right to Choose) นับเป็นสิทธิที่สำคัญของผู้บริโภคสินค้า ซึ่งรวมทั้งสินค้า สุขภาพ ในวัฒนธรรมปัจจุบันผู้ป่วยยังมีความเกรงใจและไม่ตระหนักถึงสิทธิ นี้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและความขัดแย้ง  ในขณะเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจำนวนมากก็ยังมีความรู้สึกไม่พอใจ เมื่อผู้ป่วยขอความเห็นจากผู้ให้บริการ สุขภาพผู้อื่น หรือไม่ให้ความร่วมมือในการที่ผู้ป่วยจะเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ            การกำหนดสิทธิผู้ป่วยในประเด็นนี้ให้ชัดแจ้ง จึงมีประโยชน์ที่จะลดความขัด แย้งและเป็นการรับรองสิทธิผู้ป่วยที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง           ข้อควรตระหนัก            1. ให้โอกาส ช่วยเหลือและประสาทงานเมื่อผู้ใช้บริการแจ้งความจำนงขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริหาร            2. ให้ข้อมูลหรือการช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการแก่บุคคลหรือสถานบริการที่รับดูแลรักษาพยาบาลต่อ

7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติ หน้าที่ตามกฎหมาย   
        คำอธิบาย         สิทธิส่วนบุคคลที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยนี้ ถือเป็นสิทธิผู้ป่วยที่ได้รับการรับรองมาตั้งแต่คำสาบานของ Hippocratis และ ประเทศต่างๆ ก็ได้รับรองสิทธินี้ในกฎหมายอาญา ดังเช่นที่ปรากฏในมาตรา 323 แห่งประมวลกฎหมายอาญาของไทย นอกจากนี้ยังระบุใน พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 ข้อบังคับแพทยสภาพว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวด 3 ข้อ 9 ซึ่งถือได้ว่าสังคมได้ให้ความสำคัญกับสิทธิผู้ป่วยในข้อนี้มาก เพราะถือ ว่าเป็นรากฐานที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจต่อแพทย์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลตนเอง            อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้น ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นที่เหนือกว่า เช่น การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการคุ้มครองประโยชน์สาธารณเพื่อความสงบเรียบร้อนและความมั่นคงของ ประชาชน หรือในกรณีที่คุ้มครองอันตรายร้ายแรงของบุคคลอื่น  การเปิดเผยข้อมูลต่อศาล การแจ้งข้อมูลต่อบุคคลที่สาม เพื่อคุ้มครอบอันตราย ร้ายแรงของบุคคลอื่น เป็นต้น            ข้อควรตระหนัก            1. ไม่ เปิดเผยความลับของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ ซึ่งได้ทราบมาจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ หรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย            2. จัดเก็บรายงานไว้เป็นสัดส่วน ไม่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ทีม สุขภาพ      หรือผู้ที่ไม่ได้รับรับการยินยอมจากผู้ป่วยได้เห็นข้อมูลทางสุขภาพของผู้ ป่วย            3. ไม่นำเรื่องของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการมาเป็นหัวข้อในการสนทนา โดยไม่ได้ รับการยินยอมจากผู้ป่วย ยกเว้นต้องปฏิบัติตามหน้าที่
 
8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม  หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
คำอธิบาย         ในปัจจุบันความจำเป็นในการทดลองในมนุษย์เพื่อความก้าวหน้าทางการแพทย์มีมากขึ้น ประเทศ ไทยยังไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายเกี่ยวกับการทดลองในมนุษย์ โดยเฉพาะข้อบังคับ แพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวด 1 ข้อ 6 ระบุว่า            ? ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ทำการทดลองในมนุษย์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ ถูกทดลอง และต้องพร้อมที่จะป้องกันผู้ถูกทดลองจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจาก การทดลองนั้นๆ ?            การรับรองสิทธิผู้ป่วยในด้านนี้เป็นการขยายความข้อบังคับแพทยสภา ฯ ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติว่าความยินยอมจะต้องเป็นความยินยอมภาย หลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ อย่างครบถ้วนแล้ว ( Informed Consent) เช่นเดียวกับความยินยอมในการรับการรักษาพยาบาล และแม้ว่าจะตัดสินใจยินยอมแล้วก็มีสิทธิที่จะเลิกได้ เพื่อคุ้มครองผู้ถูก ทดลองให้ได้รับความปลอดภัย            ข้อควรตระหนัก            1. กำหนด ระเบียบการหรือขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าร่วมการวิจัยหรือ ทดลองไว้อย่างชัดเจน  และมีความรู้ ความเข้าใจในระเบียบการหรือขั้นตอนดังกล่าว            2. ให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนแก่ผู้ใช้บริการ    และให้เซ็นชื่อยินยอมเมื่อต้องการเป็นผู้ถูกทดลองในการวิจัยของผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพ            3. วิเคราะห์ว่าการวิจัย การทดสอบ การบันทึกภาพ เสียง หรืออื่น ๆ     จะเสื่อมเสียต่อผู้ใช้บริการหรือไม่ หากเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียต้องปกป้อง ผู้ใช้บริการจากเหตุการณ์นั้น ๆ
 
 
9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิด สิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น     
      คำอธิบาย   การที่แพทย์บันทึกประวัติการเจ็บป่วยและรักษาต่าง ๆ ของผู้ป่วย ในเวชระเบียนอย่างละเอียด นับ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและมี คุณภาพ นับเป็นมาตรฐานของการประกอบเวชกรรมสากล อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ปรากฏ ในเวชระเบียนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของประวัติมีสิทธิที่จะได้รับ ทราบข้อมูลนั้นได้ ซึ่งสิทธินี้ได้รับการรับรองตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าว สาร พ.ศ. 2540 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลในเวชระเบียนอาจมีบางส่วนซึ่งเป็นการแสดงความเห็นของแพทย์ใน การรักษาพยาบาล และอาจกระทบต่อบุคคลอื่น ๆ ได้ ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ป่วยทราบจะต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคล อื่น ทั้งนี้รวมถึงกรณีผู้ป่วยยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของตนต่อบุคคลที่สาม เช่น ในกรณีที่มีการประกันชีวิต หรือสุขภาพ            ข้อควรตระหนัก            1. กำหนดระเบียบการ หรือขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอดูเวชระเบียนไว้อย่างชัดเจน            2. รู้และเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอดูเวชระเบียนของผู้ป่วยภาย ในหน่วยงานของตน    เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยได้ถูกต้องและสามารถปฏิบัติได้ตามขึ้นตอน10. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้ บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้            คำอธิบายการกำหนดให้บิดา มารดา ใช้ สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 18 ปี นั้น เนื่องจากใบอนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิเด็กได้กำหนดไว้ว่า เด็ก หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฏหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น ดังนั้นจึงได้กำหนดไว้ให้บิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ ป่วยที่เด็กที่อายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์            สำหรับผู้บกพร่องทางกายหรือทางจิตนั้น ต้องถึงขนาดไม่สามารถเข้าใจหรือ ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง เช่น ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพืช (Persistent vegetative state) วิกลจริต หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ผู้แทนโดยชอบธรรมที่เป็น ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือมีอำนาจปกครองผู้ป่วย เช่น บิดา มารดา กรณีผู้ป่วยไม่มีบิดา มารดา ผู้ดูแล หรือผู้ปกครองอาจเป็นญาติ พี่ น้อง ย่อมสามารถใช้สิทธิต่างๆ แทนผู้ป่วยได้            ข้อควรตระหนัก                    วิเคราะห์ และตัดสินใจได้ถูกต้องว่า ใครเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ป่วยที่ตนให้การดูแลนั้น   ทั้งในกรณีที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์หรือผู้บกพร่องทางกาย และจิต เพื่อที่จะปฏิบัติการพยาบาลโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้ป่วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 22:16 น. โดย popja »
สู้สู้

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 22:11 น. »
คุณออย ลองเอาคำประกาศสิทธิไปใช้หน่อยนะ

ออฟไลน์ nat

  • Meeting2
  • Jr. Member
  • *
  • กระทู้: 11
  • Dilantin 300mg ก่อนนอน
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 09 กันยายน 2011 เวลา 18:46 น. »

ในตอนการป่วยนั้น ผมเข้าเกณฑ์ สิทธิผู้ป่วย ข้อ4ครับ เพราะผมเรียกร้องให้แพทย์ส่งตัวไปรักษาจาก รพ.พานทอง จ.ชลบุรี(อาการไม่ดีขึ้น)ไปรักษาต่อที่ รพ.จุฬา(โครงการโรคลมชัก)โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (อาการจึงดีขึ้น)

ออฟไลน์ แกมแม่เนย

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 371
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: วันพุธที่ 25 มกราคม 2012 เวลา 10:10 น. »
อ้างถึง
คุณแม่น้องแกมคะ

รบกวนแชร์ให้หน่อยได้มั๊ยคะ ว่าตอนไปติดต่อที่วชิระพยาบาลนี่ ไปติดต่อยังไงคะ ไปหาคุณหมอท่านไหนที่ยอมทำเรื่องโอนให้ พอดีของวินก็ต้องทำค่ะ จะโอนมาที่รามาเพราะว่ารักษาที่รามาต่อเนื่องมา 1 ปีแล้วค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ
นก
081-611-1583

คุณนกคะ ต้องขอใบสรุปการรักษาจากคุณหมอที่รามาฯ เอาไปให้หมอนิวโรที่วชิระดูค่ะ ในใบสรุปขอให้คุณหมอระบุว่า จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง (จริงๆ คุณหมอน่าจะต้องเขียนอยู่แล้วค่ะ เพราะเค้าจะรู้กันว่า ถ้ารักษากับใครแล้วต้องรักษาต่อกับหมอคนเดิมแน่นอน) เอาไปเป็นหลักฐานแค่นั้นเองว่าลูกเรารักษาอยู่ที่รามาฯ มา 1 ปีแล้ว คุณหมอที่วชิระทำเรื่องส่งตัวให้แน่นอนค่ะ  ;)
<ปัจจุบันรักษาโดยการผ่าตัด ทุเลาแต่ยังไม่หายขาด>

โอม ศรี คเณศายะ นะมะ ฮา
ขอบารมีองค์พ่อพิฆเนศ โปรดคุ้มครองเด็กๆ ทุกคนในเว็บลมชักคลับ ให้มีอาการดีขึ้นตามลำดับด้วยเถิด

ออฟไลน์ NongWynn

  • Meeting2
  • Full Member
  • *
  • กระทู้: 61
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2012 เวลา 18:27 น. »
ขอบคุณค่ะ คุณแม่น้องแกมจำชื่อคุณหมอได้มั๊ยคะ ว่าเป็นคุณหมอท่านไหนค่ะ ว่าจะไปทำภายในอาทิตย์หน้าเลยค่ะ ขอบคุณมากเลยนะคะ แล้วเราต้องพาน้องไปด้วยมั๊ยคะ หรือว่าเราไปเองก็พอคะ พอดีน้องนอนโรงพยาบาลอยู่น่ะค่ะ

ออฟไลน์ แกมแม่เนย

  • Meeting
  • จอมพลัง
  • *
  • กระทู้: 371
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2012 เวลา 23:31 น. »
อ้างถึง
ขอบคุณค่ะ คุณแม่น้องแกมจำชื่อคุณหมอได้มั๊ยคะ ว่าเป็นคุณหมอท่านไหนค่ะ ว่าจะไปทำภายในอาทิตย์หน้าเลยค่ะ ขอบคุณมากเลยนะคะ แล้วเราต้องพาน้องไปด้วยมั๊ยคะ หรือว่าเราไปเองก็พอคะ พอดีน้องนอนโรงพยาบาลอยู่น่ะค่ะ

จำคุณหมอไม่ได้ค่ะ แต่เป็นผู้หญิง ถ้าน้องยังนอน รพ. อยู่ ลองเอาเอกสารไปให้ทางวชิระเค้าดูก่อนก็ได้ค่ะ ถ้าจำไม่ผิดน้องเนยตอนนั้นก็ยัง admit อยู่พระมงกุฎนะคะ เพียงแต่เราเตรียมเอกสารทั้งหมดให้พร้อม ผลสแกนทุกอย่าง ใบรับรองแพทย์จากรามาฯ สรุปผลการรักษาจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ
<ปัจจุบันรักษาโดยการผ่าตัด ทุเลาแต่ยังไม่หายขาด>

โอม ศรี คเณศายะ นะมะ ฮา
ขอบารมีองค์พ่อพิฆเนศ โปรดคุ้มครองเด็กๆ ทุกคนในเว็บลมชักคลับ ให้มีอาการดีขึ้นตามลำดับด้วยเถิด

ออฟไลน์ NongWynn

  • Meeting2
  • Full Member
  • *
  • กระทู้: 61
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: วันพุธที่ 01 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 22:03 น. »
ขอบคุณมากนะคะ :)

ออฟไลน์ maymaezz

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2012 เวลา 15:45 น. »
ใช้สิทธิได้นะคะ (เพราะเมย์ก็ใช้อยู่เหมือนกันค่ะ) แต่เราต้องมีใบส่งตัวผู้ป่วยไปรับการตรวจหรือรักษาต่อ จากโรงพยาบาลที่มีสิทธิ30บาท (ลักษณะคือจะมีแผ่นสีชมพูที่ด้านหน้า สีเหลืองด้านหลังค่ะ) --

**ถ้าเป็นใบส่งตัวสำหรับบัตร30บาท จะใช้ยื่นได้เรื่อยๆ ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนค่ะ...ส่วนบัตรประกันสังคม ใบส่งตัวจะเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่จะใช้ได้1ใบต่อ1วันเท่านั้นค่ะ!!

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2012 เวลา 21:32 น. »
ขอถามแทนพี่โอ๊ดนิดนึงครับ
พอดีพี่โอ๊ด ได้ใช้สิทธิ 30 บาท
แต่ทางรพ.ให้ยามาเต็มที่รวมราคาแล้ว 1,400 บาทครับ
รพ.แจ้งว่า สิทธิ 30 บาท ต่อเดือนเบิกได้แค่ 1,400 บาท
ไม่ทราบว่าคุณออยหรือท่านอื่นๆที่ใช้สิทธิ 30 บาทอยู่เป็นแบบนี้เหมือนกันไหมครับ

ขอบคุณมากครับ
สู้สู้

ออฟไลน์ NONG

  • Shoutbox
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 1,451
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2012 เวลา 22:18 น. »
พี่ก้ใช้ 30 บาทนะคุณป๊อบ แต่เบิกยารวมตรวจเลือดทีนึงเป็นหมื่น ไม่เคยจ่ายเพิ่ม มีแต่คลีนิคปฐมภูมิโทรมาบ่นว่าใช้ยาเยอะจัง

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2012 เวลา 22:30 น. »
พี่ก้ใช้ 30 บาทนะคุณป๊อบ แต่เบิกยารวมตรวจเลือดทีนึงเป็นหมื่น ไม่เคยจ่ายเพิ่ม มีแต่คลีนิคปฐมภูมิโทรมาบ่นว่าใช้ยาเยอะจัง
ขอบคุณครับพี่น้อง เดี๋ยวพรุ่งนี้จะโทรไปบอกพี่โอ๊ด
สู้สู้

ออฟไลน์ wisarut

  • Meeting2
  • Sr. Member
  • *
  • กระทู้: 107
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: วันพุธที่ 15 สิงหาคม 2012 เวลา 01:48 น. »
ขอบคุณ คุณป๊อบ คุณน้อง คุณสาธิตา มากครับที่ช่วยเหลือและแนะนำแนวทางให้

ออฟไลน์ แม่น้องเมย์

  • Meeting2
  • Jr. Member
  • *
  • กระทู้: 32
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2012 เวลา 09:18 น. »
เบิกได้ค่ะของน้องเมย์ก็ใช้อยู่รักษาที่ ร.พ.พระมงกุฎโดยใช้ใบส่งตัวจาก ร.พ.ค่ายจิระประวิตินครสวรรค์ ตอนนี้ก็ยังรักษาอยู่เพราะน้องเมย์เพิ่งผ่าตัดไปเมื่อ7/8/55นี้ก็เสียส่วนต่างค่าผ่าตัดกับค่ายาบางส่วนเท่านั้น

ออฟไลน์ pongsakn

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 7
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 08 ตุลาคม 2012 เวลา 22:46 น. »

รายการยาของ รพ.ศิริราช
http://www.lomchakclub.com/v9/index.php?action=dlattach;topic=262.0;attach=951
จากลิงค์ด้านบนที่ท่าน popja ช่วยหาข้อมูลมาให้ ต้องขอบคุณมากเลยครับน่าจะเป็นประโยชน์กับผมอย่างยิ่ง

แฟนผมใช้ยา(ชื่อสามัญ Levetiracetam) Keppra ดูแล้ว 30บาท เบิกได้

แต่มีอีกตัวหนึ่งคือ (ชื่อสามัญ Oxcarbazepine) trileptal 30บาทเบิกไมได้ทุกกรณี สิทธิ์การเบิกทั่วไปเบิกได้เมื่อมีหนังสืบรับรอง อันนี้มันหมายถึงอะไรหรือครับ คำว่าสิทธิการเบิก ทั่วไป

ออฟไลน์ ืnid1kt

  • Jr. Member
  • *
  • กระทู้: 54
Re: บัตร 30บาทเบิกค่ารักษาโรคลมชักได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2012 เวลา 15:07 น. »
ของนานาก็ใช้ 30 บาทค่ะ เบิกยาไม่รวมค่าตรวจค่ารักษาอื่นๆ นะคะ เฉพาะยาที่เบิกต่อเนื่องได้ประมาณ 1400/วันค่ะ ก็แล้วแต่ว่าหมอจะให้เบิกรอบละกี่วันค่ะ อย่างของนานาก็เบิก 10 วันครั้งค่ะ

 


Powered by EzPortal