เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะที่ประทับใจของหลวงพ่อฤาษี  (อ่าน 2551 ครั้ง)

ออฟไลน์ popja

  • Administrator
  • จอมพลัง
  • *****
  • กระทู้: 871
  • น้องวินลูกพ่อป๊อปแม่โบว์
    • แบ่งปันความรู้โรคลมชัก
ธรรมะที่ประทับใจของหลวงพ่อฤาษี
« เมื่อ: วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 00:41 น. »
โดย webmaster วัดโพธิ์

ด้วยความรักและเคารพในพ่อจึงทำอยากอะไรเพื่อพ่อบ้าง คำว่าลูกหรือศิษย์,หลาน ความหมายที่ต้องปฎิบัติตามที่ทุกคนรู้ด้วยปัญญาอยู่แล้ว พระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พ่อได้นำมาอธิบายความหมายมีทั้งขยายทั้งย่อ ตามอุปนิสัยของเราทั้งหลายให้ได้รู้ซึ้งถึงคำว่า พระรัตนตรัย ทั้งคำสั่งและคำสอนที่พ่ออธิบาย พ่อเหนื่อย ทนต่อการเจ็บป่วยต่อร่างกายของพ่อ เพื่อให้ลูกทุกคนได้้เข้าใจและเร่งปฎิบัติตามพระธรรมนั้นๆที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เหมือนกันทุกๆพระองค์ มีพระอริยสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีแล้วได้ปฎิบัติตามพระธรรมนั้นและได้นำธรรม นั้นมาสอน ซึ่งเรามีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นพระผู้นำทาง....เราทำอะไร?...อย่างไร?...เพื่อพ่อบ้าง?...เพราะเราทั้งหลายเห็นแล้วว่า...พ่อทำเพื่อใคร?...ถ้าไม่ใช่เราเราทุกคน

การบันทึกนี้เป็นการจดจำที่มีต่อพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่หลวงพ่อนำมาสอน ที่เราเรามีความเคารพและรักเหมือนพ่อผู้ให้กำเนิด เพราะพ่อเป็นผู้ให้เราได้เกิดในบวรแห่งพระพุทธศาสนาเข้าถึงและรู้ซึ้งคำว่าพระรัตนตรัยและพระนิพพาน ฯลฯ.สุดที่จะกล่าวได้หมด

พ่อปรารถไว้เสมอว่า...ถ้อยคำใดใดที่เป็นคำสอน ให้ถือว่าเป็นคำสอนที่มาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



***คำสอนสั้นๆที่ประทับใจ ***



คำกล่าวเมื่อสมาทานพระกรรฐาน

"อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ"

ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอมอบกาย ถวายชีวิต แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

...อันนี้สำคัญมากเพราะเป็นการถวายสัจจะต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระรัตนตรัย ...

พรที่หลวงพ่อกล่าวให้ไว้

ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้ ขอลูกรักของพ่อทุกคน จงทรงธรรมนั้นไว้ จนกว่าจะเข้านิพพานในชาตินี้

หลวงพ่อสั่งไว้...

จงจำไว้ว่า

"ขณะใดที่ใจของลูกยังรักษาอภิญาสมาบัติไว้ รักษาปฎิปทาสาธารณประโยชน์ ขณะนั้นลูกจงภูมิใจว่า พ่ออยู่กับลูกตลอดเวลา ถึงแม้ว่า ร่างกายกายาของพ่อจะสลายไป แต่ใจของพ่อยังอยู่กับใจของลูก ลูกจะไปไหน ก็ชื่อว่าพ่อไปด้วย ช่วยลุกทุกประการ"

ผมว่าพ่อสั่งไว้ให้ผู้ที่ถวายตนต่อพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย มีหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง เป็นที่สุด ให้รู้รักสามัคคีกันร่วมกันสร้างและบำเพ็ญตนเพื่อพระรัตนตรัยสืบสานต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ครบตามพุทธพยากรณ์ ดำรงไว้ซึ่ง...ชาติ...ศาสนา...พระมหากษัตริย์

มีคำพูดหนึ่งที่พ่อให้ไว้เพื่อตัดอารมณ์ที่กังวล และนิวรณ์หรือสิ่งที่มากระทบใจ

"ช่างมัน...ช่างมัน...ช่างมัน"

ท่องไว้...ระลึกไว้..ให้ขึ้นเป็นคติประจำใจกันนะครับ

หลวงพ่อสอน

ให้เราต้องตัดกังวลทุกอย่าง ก่อนเริ่มภาวนาต้องไม่สนใจกับอารมณ์ทั้งภายนอกและภายในของเราทั้งหมด เรื่องของชาวบ้านช่างมัน ใครจะเป็นอะไรช่างมัน เราเองจะตายก็ช่างมัน เราต้องการอย่างเดียวคือความสุขบริสุทธิ์ของจิต และความตั้งมั่นของจิต

*** ศีล ***

พ่อให้เราสำรวจตนเอง เพราะเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นในการปฎิบัติพระกรรมฐาน

๑. เราจะไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง

๒. เราจะไม่ยุยงให้ชาวบ้านทำลายศีล

๓. เราจะไม่ยินดีเมื่อคนอื่นทำลายศีลแล้ว

ถ้าเราละเมิดครบทั้งสามข้อหรือที่เรียกว่าครบองค์สาม เรียกว่าศีลเราขาด แต่ถ้าบกพร่องข้อใดข้อหนึ่งถือว่าผ้าขาวมีรอยด่าง มีรอยด่างมากๆก็ทะลุ ทะลุมากๆเดียวก็ขาด ถ้าเราจะหนีนรกกันจริงๆปฏิบัติให้ครบทุกข้อดีที่สุดครับ จิตก็แจ่มใสและเป็นการปฏิบัติบูชาต่อพระรัตนตรัยและองค์หลวงพ่อด้วย

*** บารมี ***

หลวงพ่อกล่าวไว้ว่า บารมี หมายถึง กำลังใจ ถ้าเรามีกำลังใจครบถ้วนก็ได้ชื่อว่า"บารมีเต็ม" คำว่า"บารมีอ่อน" ไม่เป็นความจริง เพราะสร้างกันใหม่ได้ ถ้าเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ถ้ายังบอกว่าอ่อนอีกก็แสดงว่าขี้เกียจมากเกินไป ไม่รู้จักควบคุมกำลังใจ

หลวงพ่ออธิบายไว้ว่า

การรักษาศีล เพียงแค่นี้ยังมีผลแค่สะเก็ดความดีเท่านั้น ถ้าขยับขึ้นอีกหน่อย คือ

1. ตัดปลิโพธทั้งหมด (ความกังวล)

2. ทรงศีลบริสุทธิ์

3. ระงับนิวรณ์ห้าประการได้เด็ดขาดในขณะที่ทรงสมาธิ

4. ทรงพรหมวิหารสี่ได้

ถ้าทรงได้อย่างนี้องค์สมเด็จพระศาสดา ทรงตรัสว่าท่านทรงความดีแค่เปลือกของพระศาสนา

หลวงพ่อให้เรานำมาวัดใจกันให้ดีว่า เวลานี้เราทรงความดีเข้าถึงเปลือกของพระศาสนาแล้วหรือยัง ต้องทรงตลอดเวลา พูดง่ายๆว่าต้องทรงอยู่ตลอดชีวิต ขอยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้เลย ถ้าเราจะเอาความดีกัน

*** ส่วนสุดสองอย่าง ***

1.อัตตกิลมถานุโยค

การปฏิบัติตนด้วยความลำบาก มีการเคร่งเครียด มีการทรมานกาย ชอบนั่งกันนานๆทรมานเป็นชั่วโมงๆ เป็นสิ่งที่ผิด การทรมานกายเช่นนี้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมพระศาสดาถือว่าผิด ไม่ใช่ทางบรรลุผลมันเครียดเกิดไป

2.กามสุขัลลิกานุโยค

เวลาที่เรานั่งภาวนาไปก็นึกอยากจะถึงนั่น อยากจะถึงนี่ อยากจะเป็นอย่างนั้น อยากจะเป็นอย่างนี้ ***ตัวอยากนี่มันเป็นตัณหา คือกิเลส

หลวงพ่ออธิบายไว้ว่า...อาการสองอย่างนี้ องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสนาทรงให้ละเสียอย่าเข้าไปแตะต้อง

*** มัชฌิมาปฎิปทา ***

หลวงพ่อได้อธิบายไว้ว่า...

คำนี้เป็นถ้อยคำที่พระพุทธสาวกจำกันจนขึ้นใจ เป็นพระพุทธพจน์ที่ยืนยันถึงผลของการปฎิบัติ ซึ่งให้ผู้ปฎิบัติ ทำพอสบายๆ ไม่เกียจคร้านเกินไป ไม่ขยันเกินไป นั่งนานเมื่อยก็นอน นอนไม่สบายก็ยืน ยืนไม่ถนัดก็เดิน ตามแต่จะเห็นว่าสบาย กำหนดจิตภาวนา หรือพิจารณาไปด้วย.

หลวงพ่อสอนไว้ว่า

การเจริญพระกรรมฐานอันดับต้นก่อนที่จะภาวนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาก่อน เอาง่ายๆให้คิดถึงความตายก่อน ให้เรานึกอยู่เสมอว่าเราต้องตายแน่ ชีวิตนี้ไม่ใช่ของเรา ร่างกายไม่ใช่ของเรา ทั้งนี้เพราะการ เกิด แก่ เจ็บ แล้วก็ตายเหมือนกัน

***อัตตนา โจทยัตตานัง***

...จงกล่าวโทษโจทย์ความผิดของตัวเองไว้เสมอ...

***นัตถิ โลเก อนินทิโต***

...คนที่ไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก...

คติธรรมนี้หลวงพ่อให้นำมาพิจารณาตนเองไว้เสมอ

หลวงพ่อสอนว่า

ขันธ์ ๕ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันมีเจ้าของ เจ้าของขันธ์ ๕ คือใคร ก็ได้แก่

กิเลส.....ความชั่วของจิต

ตัณหา.....ความทะยานอยากของจิต

อุปาทาน.....ความยึดมั่นถือมั่นของจิต

อกุศลกรรม.....อารมณ์ชั่ว ก็ได้แก่ที่เรามีความคิดมีความรู้สึกว่าร่างกายมันเป็นของเรานั่นเอง เป็นความรู้สึกที่ไม่ตรงกับความจริง

(ถ้าเรายังยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ก็ยังต้องเกิดมีขันธ์๕ แบบนี้ต่อไป ละกันบ้างกันนะครับ เริ่มซักหน่อยก็ยังดีกว่าไม่เริ่มเลย)

หลวงพ่อสอนไว้ว่า

การบวชถือว่า

นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ

เอตัง กาสาวัง คเหตวา

ข้าพเจ้าขอรับผ้ากาสาวพัสตร์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

เราบวชใจ ก็ถือเป็นคติไว้ประจำใจ

ชาติปิ ทุกขา.....ความเกิดเป็นทุกข์

ชราปิ ทุกขา.....ความแก่เป็นทุกข์

มรณัมปิ ทุกขัง.....ความตายเป็นทุกข์

โสกปริเทวทุกข โทมนัสสุปายาส.....ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์

หลวงพ่อสอนให้รู้ว่า

มันทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะใจเรายึด แต่ว่าถ้าใจเราไม่ยึด ยอมรับนับถือตามความจริง ความรู้สึกที่มันเป็นทุกข์ก็เพราะว่ายึดถือมัน เราก็วางมันเสียเลยขันธ์๕ เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะตายก็ช่างมัน

(ชีวิตที่มีอยู่ก็ปฏิบัติธรรมกันให้ถึงที่สุด ใช้ชีวิตตามบทบาทหน้าที่ที่ต้องทำต้องรับผิดชอบนะครับ)

หลวงพ่อสอนนักปฏิบัติไว้ว่า

การปฏิบัตินี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"ธรรมะของเรา ไม่ใช่ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า"

"ตุลิตะ ตุลิตัง สีฆะ สีฆัง"

"ธรรมะของเราต้องปฏิบัติเร็วๆ ไวๆ"

ไม่ใช่ว่าจะมารับฟังกันแล้วก็ยังมีความโลภ ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ทำให้อารมณ์ชั่วยังสิงอยู่ในใจ นั่นไม่ใช่เป็นวิสัยของศากยบุตรพุทธชิโนรส

หลวงพ่อสอนไว้ว่า

ไม่มีความลำบากสำหรับคนที่มีอารมณ์ใจเข้มแข็งและเป็นคนมีความฉลาด ฉลาดในที่นี้ต้องหลีกจากกิเลส จงอย่าเอากิเลสมาฉลาด จำพุทธสุภาษิต อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง กล่าวโทษโจษความผิดอย่างโยกความผิด อย่าโยกโทษให้ไปอยู่กับใคร ถ้าความเร่าร้อนในใจเกิดขึ้นกับเรา เราต้องแสวงหาความผิดของตนเอง กล่าวโทษโจษตนเองไว้เสมอ ถ้าเราไม่เลวไม่มีความเร่าร้อน

หลวงพ่อสอนให้จำไว้ว่า

ความดีหรือไม่ดี มันอยู่ที่จิตของเราทราบไว้แต่เพียรเท่านี้ ความพลั้งพลาดมาแล้ว จงถือว่าเป็นครู ความพลั้งพลาดในที่นี้เพราะเราใช้เวลามาก แต่ทว่าผลจากการปฏิบัติมีผลน้อยที่เป็นเช่นนี้เพราะขาดความเข้มแข็งของจิต ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านเขาถือว่าไม่เอาจริงเอาจัง สักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าศึกษา มีความเมาในตน มีความเมาในจิต เมาในราคะ เมาในโลภะ เมาในความโลภ เมาในความโกรธ เมาในความหลง ก็เพราะว่าเมาจึงไม่สามารถจะทำให้จิตบางเบาจากกิเลสได้ เหตุที่จะมาอย่างเดียวก็คือขาดความเอาจริงเอาจัง จรณะ๑๕ ฟังแล้วไม่ปฏิบัติ บารมี๑๐ ฟังแล้วไม่สนใจ อิธิบาท๔ ฟังแล้วก็วางไว้ พรหมวิหาร๔ ฟังแล้วก็ทิ้งไป ที่เราไม่สามารถจะก้าวไปสู่ระดับของความดีได้เพราะขาดคุณธรรมประเภทนี้ ฉนั้นถ้าหากขาดคุณธรรมประเภทนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าพวกเราเป็นอาภัพพบุคคล เป็นบุคคลที่เอาดีไม่ได้ พระพุทธเจ้าสอนไม่ได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่สายเกินไป คำว่าอาภัพพบุคคล นั้นหมายถึงบุคคลที่ไม่เอาจริงเอาจัง เราก็กลับเสียใหม่ได้ กลับเป็นคนจริงคนจังเสีย การเจริญพระกรรมฐานให้ถึงขั้นอรหัตผ


คัดลองมาจาก
http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=buddhapoemcom&thispage=2&No=44633


สู้สู้

 


Powered by EzPortal