เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: ระวังการให้ลูกน้อยทานอาหารขยะ  (อ่าน 1876 ครั้ง)

ออฟไลน์ Champ

  • Meeting2
  • Jr. Member
  • *
  • กระทู้: 25
ระวังการให้ลูกน้อยทานอาหารขยะ
« เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 01:37 น. »
เด็กที่กินอาหารขยะอาจมีระดับไอคิวต่ำกว่าเด็กที่กินอาหารที่อุดมด้วยผัก ผลไม้ และเด็กที่กินอาหารปรุงเองตามบ้านถึง 5 จุด ที่สำคัญคือแม้มีการปรับปรุงด้านโภชนาการ แต่อาจสายเกินแก้ไขผลลัพธ์ที่ยืนยาวตลอดชีวิต นี่เป็นการศึกษาชิ้นแรกที่บ่งชี้ความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างโภชนาการของเด็ก เล็กกับพลังสมองเมื่อโตขึ้น
            โครงการของมหาวิทยาลัยบริสตอลในอังกฤษพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ระดับชั้นทางสังคม การกินนมแม่ระดับการศึกษาและอายุของมารดา รวมถึงสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เช่น การที่เด็กมีของเล่นให้เล่นและมีหนังสือให้อ่าน
            คณะนักวิจัยระบุว่า โภชนาการที่ดีในช่วง 3 ขวบปีแรกมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองเติบโตเร็วที่สุดขณะที่โภชนาการในช่วงอายุ 4 หรือ 7 ปี ไม่มีผลต่อระดับไอคิวของเด็กมากขนาดนั้น
            เด็กเล็กที่กินอาหารที่อุดมด้วยไขมัน น้ำตาลและอาหารแปรรูป จะได้รับวิตามินและสารอาหารน้อยเกินไป ทำให้สมองไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่
            การค้นพบล่าสุดนี้ เป็นข้อสรุปจากการติดตามกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ที่มีชื่อว่า เอวอนลองจิตูดินัล สตัดดี ออฟ พาเรนท์ส แอนด์ ชิลเดรน โครงการนี้ศึกษาและเฝ้าติดตามสุขภาพและสุขภาวะของเด็กๆ 14,000 คน ที่เกิดในภาคตะวันตกของอังกฤษในช่วงต้นทศวรรษ 1990
            พ่อแม่เด็กเหล่านี้จะทำแบบสอบถามเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่ลูกกิน ในช่วงอายุ 3, 4, 7 และ 8 ขวบซึ่งทำให้สามารถจำแนกอาหารที่เด็กเหล่านี้กินได้เป็น3กลุ่ม ได้แก่ อาหารแปรรูปที่มีไขมันและน้ำตาลสูง อาหารปกติที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์และผัก และอาหารเพื่อสุขภาพเช่น สลัด ผักผลไม้ ข้าวและพาสตา
ดร.พอลลีน เอมเม็ตต์ และดร.เคต นอร์ธสโตน เผย ว่า อาหารคุณค่าทางโภชนาการต่ำสามารถส่งผลต่อพัฒนาการของสมองโดยเป็นผลซึ่งอาจ ยืนยาวตลอดชั่วชีวิต แม้มีการปรับเปลี่ยนมากินอาหารที่เป็นประโยชน์มากขึ้นในภายหลังก็ตาม
            ในการศึกษาชิ้นนี้ที่เผยแพร่ในเจอร์นัล ออฟ เอพิเดมิโอโลจี้แอนด์ คอมมิวนิตี้ เฮลธ์ มีการวัดระดับไอคิวเมื่อเด็กอายุ 8 ขวบ ปรากฏว่า เด็ก 20% ที่กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำสุดเมื่ออายุ 3 ขวบ มีไอคิวเฉลี่ยต่ำกว่าเด็กที่กินอาหารที่มีประโยชน์มากที่สุด 5 จุด (101 ต่อ 106)
            ดร.เอมเม็ตต์ชี้ ว่า แม้ระดับความแตกต่างไม่มากมายนัก แต่ก็มากพอที่จะทำให้เด็กที่มีไอคิวต่ำกว่าสามารถเรียนรู้และจัดการกับสิ่ง ต่างๆ ในชีวิตได้น้อยกว่า
            การศึกษานี้สามารถคำนวณได้ว่า ในบรรดาเด็ก 4,000 คนที่ให้ข้อมูลครบถ้วนนั้น ทุก 1จุดที่เพิ่มขึ้นของอาหารแปรรูปที่เด็กกินเมื่ออายุ 3ขวบ จะส่งผลให้ไอคิวลดลง 1.67 จุด ขณะที่เด็กซึ่งกินอาหารแบบอื่นๆ ทุก 1 จุดที่เพิ่มขึ้นของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการจะทำให้ระดับไอคิวเพิ่มขึ้น 1.2 จุด

อ้างอิงจาก
http://www.vcharkarn.com/varticle/42321

 


Powered by EzPortal