เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า

เชิญร่วมงาน รวมพลังสายใย...เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยลมชัก วันจันทร์ที่ 21 พ.ย.62 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 รพ.พระมงกุฎเกล้า 

 

ผู้เขียน หัวข้อ: ม.เกษตร คิดค้น "ตารางเก้าช่อง" ฝึกทักษะสมอง  (อ่าน 2562 ครั้ง)

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
ม.เกษตร คิดค้น "ตารางเก้าช่อง" ฝึกทักษะสมอง
« เมื่อ: วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2014 เวลา 10:50 น. »
ลักษณะของเด็ก/ผู้ใหญ่/คนชราที่ป่วยเรื้อรัง/พัฒนาการช้า/พิเศษ การเคลื่อนไหวจะงุ่มง่าม/แข็งกระตุก/ไม่คล่องตัว/ตัดสินใจช้า/ทรงตัวไม่ดี
การเคลื่อนไหวมีผลกับพัฒนาการด้านอื่นๆด้วย

http://www.ku.ac.th/kunews/box9.html

รศ.เจริญ กระบวนรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำแนวคิดข้างต้นไปคิดค้น "ตารางเก้าช่อง"  อุปกรณ์ที่ช่วยในการพัฒนาสมองของนักกีฬาและเด็ก การฝึกปฏิกิริยารับรู้และตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว เป็นหนึ่งในหลักการพัฒนาความเร็ว ที่สำคัญสำหรับนักกีฬา ในการแข่งขันที่ต้องใช้ความรวดเร็วแม่นยำในการเคลื่อนไหว และทักษะการกีฬา ตลอดจนการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา เฉพาะหน้า รูปแบบของการฝึกนั้น จะเน้นการกระตุ้นการทำงานของสมองหรือระบบประสาทที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ข้อมูล ( Sensory Neuron ) เพื่อส่งไปยังสมองส่วนกลาง ( Central Nervous System ) ซึ่งทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล ก่อนที่ส่งไปยังเซลล์ประสาท ที่ทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมการเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามข้อมูลที่ส่งมา ( Motor Neuron ) ช่วงการทำงานของระบบประสาทดังกล่าวนี้ จะโดยเน้นความถูกต้องแม่นยำและความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวเป็นสำคัญ ดังนั้นตารางเก้าช่องจึงผุดขึ้นมาในความคิดและถูกนำมาใช้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาปฏิกิริยาความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวของมือและเท้าให้กับนักกีฬา รวมทั้งพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ ตลอดจนการทรงตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อใช้พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของนักกีฬา ปัจจุบันได้มีการปรับใช้กับการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาสมองของเด็กเพื่อฝึกการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้น ตารางเก้าช่องเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่ถูกนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรพิเศษ เมื่อปี 2544 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว ( Psychomotor Learning ) ให้กับ คุณพุ่ม เจนเซ่น โอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี โดยได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาดูแลโรคออทิซึ่ม และคณะอนุกรรมการดำเนินการฝ่ายพัฒนาด้านการศึกษาและสังคม ซึ่ง รศ.ดร. จงรักษ์ ไกรนาม และ ศ.พญ.เพ็ญแข ลิ่มศิลา ร่วมเป็นคณะกรรมการได้ให้เกียรติเชิญเข้าร่วมอยู่ในทีมงานฝ่ายพัฒนาด้านการศึกษาและระดับสังคม มีหน้าที่ในการวางแผนดำเนินการจัดทำกิจกรรมบำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพการเรียนรู้ให้แก่คุณพุ่ม เจนเซ่น ซึ่งเป็นงานที่ยากและท้าทายความสามารถเป็นอย่างยิ่ง โดยทำหน้าที่สอนและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวให้กับคุณพุ่ม เจนเซ่น ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 13.00 ? 15.00 น. จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ? รศ.เจริญ กล่าว

http://www.thaihealth.or.th/Content/20719-%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%209%20%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD.html

?โรงพยาบาลชื่อดังหลายแห่งได้เอาตาราง 9 ช่องนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย เพื่อฝึกการพัฒนาสมองและการทรงตัว รวมถึงใน ผู้สูงอายุ ที่มักมีปัญหาเรื่องเสียการทรงตัว ก็สามารถเอาไปใช้ได้ เพราะเมื่อเล่นบ่อยๆ ขึ้น สมองก็ได้รับการพัฒนา ทำให้การทรงตัวของผู้สูงอายุดีขึ้น การควบคุมสมดุลของการเคลื่อนไหวก็จะดีขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังถือเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยในเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมองและเท้าอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ เช่น วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพียงเปลี่ยนจากตัวเลขเป็นภาษาที่เราต้องการแทน?อาจารย์เจริญ กล่าว
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

ออฟไลน์ Thanks-Epi

  • Meeting2
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 902
Re: ม.เกษตร คิดค้น "ตารางเก้าช่อง" ฝึกทักษะสมอง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2014 เวลา 11:09 น. »
เท่าที่ทราบ สถานที่ฝึกหลายที่ใช้ตาราง 9 ช่องมาฝึกให้เด็กด้วย ซึ่งทำเองที่บ้านได้
จากคลิป(ช่วงแรก)  จะใช้มือเพื่อฝึก ซึ่งน่าจะปลอดภัยสำหรับเด็กที่ยังคุมชักไม่ได้ แต่สามารถฝึกสมองไประหว่างป่วยได้


ถ้าในช่วงท้าย จะเป็นแผ่นตาราง 9 ช่อง ซึ่งทำออกมา ความเห็นต่าย
-ยังไม่ปลอดภัยพอสำหรับผป.ลมชัก เพราะแผ่นกระดานเคลื่อนได้ ควรใช้ หมึกเขียนลงในกระเบื้องที่บ้าน(กรณีบ้านปูกระเบื้อง)  หรือ ใช้เทปขาวแปะเป็นรูปตารางให้ครบ 9ช่อง
(สำหรับต่ายใช้วิธีแรก เขียนด้วยหมึกเลยค่ะ)

แนะนำเพิ่มสำหรับเด็กเรา
ควรมีการประเมินคะแนน เพื่อสังเกตุอาการชัก
คะแนน 1.ทำไม่ได้เลย
         2.ต้องจับแขน-ขาเพื่อให้เด็กทำ
         3.กระตุ้นด้วยเสียง
         4.ทำด้วยตัวเองได้

หากคะแนนรวมลดลง ควรสังเกตุอาการชักเล็กร่วมด้วย (ถ้าอาการปกติเด็กจะทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ)

สำหรับลูกต่าย
-แรกๆ ต่ายฝึกด้วยตาราง 9 ช่อง ยังไม่หายจากการเคลื่อนไหวแบบกระตุก ครูแจ้งว่า เด็กนิ่งขึ้น
-ต่อด้วย กระโดดแทรมโพลีน
-ต่อด้วยสกูตเตอร์ จักรยาน 2 ล้อ ปิงปอง
-การเล่นแบบกับเพื่อนดีขึ้นมาก (เล่นกับเพื่อนแบบมีคุณภาพ) การมีเพื่อนเยอะแต่ไม่มีคุณภาพก็ถือว่า ขาดทักษะสังคม  ;D อาการนึงในกลุ่ม pdd ...มีเพื่อนแยะ แต่มีแบบไม่มีคุณภาพ คือ เล่นไม่เป็น ทำตามกติกาไม่ได้ เล่นกับเด็กวัยเล็กกว่า ฯลฯ... ;D

ปัจจุบันการเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติเหมือนเด็กปกติ ทรงตัวได้ดี /เคลื่อนไหวได้ดี /ไม่กลัวความสูงมากๆ เช่น พวกหอคอย/ ของเล่นหวาดเสียว ซึ่งส่งผลต่อระบบหลายๆอย่างที่ทำให้เขาดีขึ้น
It?s what you do in the dark, that puts you in the light
สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณอยู่ในความมืดมิด ก็ทำให้คุณดูสว่างจากสิ่งนี้เช่นกัน

Tegretol CR(200mg)2*2
Keppra(250mg)1*2
Phenobarb(60mg)1*1
Folic(5mg)1*1
Frisium(5mg)1*2
  @@@ over dose  Tegretol CR 1000 mg @@@

 


Powered by EzPortal